Tag: ปลูกมังคุด

การออกดอกของมังคุด

การเปลี่ยนแปลงของยอดอ่อนกับอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการออกดอกของมังคุด

การศึกษาปรากฎการณ์ในรอบปี (phonological cycle) เป็นสิ่งจำเป็น  เพื่อให้เข้าใจถึงการเจริญเติบโตของใบ การออกดอก และติดผลของมังคุด ทั้งนี้เพื่อนำมาปรับใช้กับการจัดการเพื่อให้ต้นมังคุดมีความอุดมสมบูรณ์ และออกดอกติดผลได้ดี  รวมทั้งการบังคับให้ต้นมังคุดออกดอกเพื่อให้ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล  หรือขยายเวลาการผลิตออกไป  นอกจากนั้นยังต้องศึกษาปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหรือภูมิอากาศที่ชักนำให้ต้นมังคุดที่สมบูรณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงของปลายยอดจากระยะเติบโตทางลำต้นและใบไปเป็นระยะให้ดอกและผล  นอกจากนี้การศึกษาถึงสารเคมีที่ใช้บังคับให้มังคุดเกิดการชักนำให้เกิดตาดอกก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องศึกษาต่อไป

ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลายยอดของมังคุดโดยทดลองกับมังคุดที่มีอายุประมาณ 16-17 ปี ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.  การพัฒนาของมังคุดในรอบปี  พบว่ามังคุดมีการแตกใบอ่อน 2 ชุด ชุดแรกเริ่มเดือนกรกฎาคมจนถึง 100℅ในกลางเดือนสิงหาคมและแตกใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มต้นเดือนกันยายนจนถึง 100℅ในกลางเดือนกันยายน

การชักนำให้เกิดตาดอกของมังคุดเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน  ยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและรูปร่างของปลายยอด จากระยะการเจริญเติบโตของลำต้น และใบไปเป็นระยะออกดอกและผลในกลางเดือนพฤศจิกายน  จากนั้นตาดอกเริ่มโผล่เห็นเป็นดอกตูมสีม่วงแดงในต้นเดือนธันวาคมจนเห็นชัดทั่ว ๆ ไป เมื่อเกิดดอก 70℅ ในช่วงกลางจนถึงปลายเดือนธันวาคมและดอกมังคุดจะเริ่มบานจนถึง 100℅ … Read More

มังคุด:เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพมังคุด

มังคุดเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรูปทรงสวย สีผลสวย สะดุดตา เนื้อภายในสีขาวสะอาด ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ตลาดต้องการมังคุดที่ผลมีน้ำหนักมากกว่า 80 กรัม ผิวผลเรียบ เป็นมันไม่มีร่องรอยของการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่มีหรือมีอาการเนื้อแก้วยางไหลในผลน้อยมาก แต่เกษตรกรไม่สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาของมังคุดที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสถานการณ์การผลิตในปัจจุบันปริมาณการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพที่เกษตรกรผลิตได้มีน้อยกว่าร้อยละ 60 ของผลผลิตรวมทั้งหมด ดังนั้นเทคนิคและวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของมังคุดเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้ได้ราคาดีตามไปด้วย

เทคนิคการจัดการเพื่อควบคุมปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตมังคุด

1.  การปลิดดอก การที่ต้องปลิดดอกที่มีปริมาณมากเกินไป ให้เหลือในปริมาณที่พอเหมาะนั้นก็เพื่อช่วยให้ผลมังคุดที่เหลือมีขนาดใหญ่ และพัฒนาการได้เร็ว เนื่องจากภายในต้นมีปริมาณอาหารสะสมที่จำกัด

ระยะเวลาที่ควรปลิดดอกคือ ในระยะดอกตูม ปริมาณดอกที่ควรไว้คือ 20 ดอกต่อกิ่ง

2.  การป้องกันกำจัดโรคแมลง เพื่อให้ผลมังคุดปราศจากการเข้าทำลายของโรคแมลงจึงต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงในระยะการพัฒนาการของดอกและผลอ่อน ศัตรูสำคัญของมังคุดในระยะนี้ ได้แก่

–    เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของศัตรูชนิดนี้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกอ่อนและผลอ่อนของมังคุดทำให้ดอกและผลร่วงได้ … Read More