Tag: ผักกาด:การปลูกผักกาดหัวแบบครบวงจร

ผักกาด:การปลูกผักกาดหัวแบบครบวงจร

พรศักดิ์  เจียมวิจิตร และคณะ

สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม  กรมวิชาการเกษตร

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่ง มีชื่อเสียงในด้านการปลูกผักกาดหัวเพื่อนำไปแปรรูปเป็นหัวไชโป้ชนิดเค็มและหวาน มีพื้นที่ปลูกปี พ.ศ.๒๕๓๑ ทั้งหมด ๑๓๐ ไร่ แหล่งปลูกผักกาดหัวมากที่สุดของจังหวัดอยู่ที่ตำบลนาบัวอำเภอเมือง

สภาพพื้นที่ตำบลนาบัว เป็นที่ราบลุ่มและที่ดอนในการปลูกพืชไร่ เกษตรกรปลูกข้าวโพดเป็นพืชแรกและปลูกผักกาดหัวเป็นพืชที่สอง ส่วนพืชที่สามอาจจะปลูกถั่วลิสงหรือข้าวโพดตามอีกพืชหนึ่ง เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอ

พื้นที่ปลูกผักกาดหัวของจังหวัดสุรินทร์มีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น เนื่องจากจะขึ้นอยู่กับโรงงานที่รับซื้อผลผลิตในรูปผักกาดหัวหมักแห้งว่าในแต่ละปีจะต้องการมากน้อยเพียงไร การที่เกษตรกรจะขายผักกาดหัวสดนั้น ความต้องการของตลาดยังมีน้อย ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ฤดูปลูกและการเตรียมดิน

เกษตรกรจะปลูกผักกาดหัวประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำเหมาะต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของผักกาดหัวได้เป็นอย่างดี โดยเลือกดินร่วนปนทรายเป็นพื้นที่ปลูก

ผักกาดหัวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนซุยและเก็บความชื้นได้ดี เกษตรกรทำการไถดะ ตากดินให้แห้งเพื่อทำลายวัชพืชและโรคแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดินแล้วไถแปรอีก ๓-๔ ครั้ง คราดอีก ๒ ครั้งเพื่อให้ดินร่วนซุย

พันธุ์และวิธีการปลูก

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ที่มีลักษณะหัวเรียวแหลมที่เป็นพันธุ์เบามีอายุประมาณ ๔๕-๔๗ … Read More