Tag: พืชน้ำ

บาเหลือง

บาเหลือง

วงศ์เมนยันทีเอซีอี(MENYANTHEACEAE)

พืชวงศ์นี้มีจำนวนน้อย ประมาณ 5 สกุล 40 ชนิด เป็นพืชน้ำ หรือพืชล้มลุกที่ขึ้นในที่ชื้น มีลำต้นใต้ดิน หรือทอดไปตามผิวดิน ใบเรียงแบบสลับ โคนก้านใบแผ่เป็นกาบ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมกัน สีเหลือง สีขาว หรือสีชมพู และมักมีขนปกคลุม เกสรตัวผู้ 5 อันเชื่อมติดที่โคนของ หลอดดอก เรียงสลับกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือ ชั้นต่างๆ ของดอก ผลแห้งแล้วแตก … Read More

พืชน้ำ:ใช้ดูดโลหะหนักจากแหล่งน้ำเสีย

แหล่งน้ำที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากประสบปัญหากับเรื่องน้ำกันเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม หรือน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมาลงสู่แม่น้ำลำคลอง พอนำไปรดต้นไม้ก็ทำให้พืชหรือดินมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แก้ไขกันไม่รู้จักจบสิ้น

ลองหันไปสำรวจรอบๆ คลองหรือแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้านว่ามีพืชน้ำเช่น ผักตบชวา หรือผักกะเฉดอยู่บ้างหรือเปล่า ถ้ามีให้นำมาทิ้งไว้ในบริเวณแหล่งน้ำเสียใกล้สวนของท่านดู เพราะมีรายงานวิจัยไว้ว่า “ได้มีการนำผักตบชวา ผักบุ้ง และผักกะเฉดจากบึงมักกะสัน มาศึกษาแหล่งรับน้ำเสียจากโรงงานซ่อมรถจักรของการรถไฟแห่งประเทศไทยและแหล่งชุมชนต่างๆ ผลปรากฎว่าผักตบชวามีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียมและสารตะกั่วได้สูง ส่วนผักกะเฉดก็สามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียม ตะกั่ว และปรอทได้สูงกว่า แต่ผักบุ้งจะดูดโลหะหนักเหล่านี้ได้น้อยมากหรือไม่ดูดเลย สามารถนำผักบุ้งนี้มารับประทานได้อย่างปลอดภัย”

ในงานวิจัยจึงสรุปว่าผักตบชวาและผักกะเฉดสามารถใช้กำจัดน้ำเสียได้ เนื่องจากสามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียม สารตะกั่ว และปรอทได้นั่นเอง นับว่าเป็นการใช้ธรรมชาติพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลายได้อีกทางหนึ่ง (แต่อย่าปล่อยให้ผักตบชวาขึ้นเต็มแหล่งน้ำจนกลายเป็นวัชพืชที่ต้องคอยกำจัดออกไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา : กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เอกสารวิชาการด้านปฐพีวิทยา การประชุมวิชาการประจำปี 2531 เล่มที่ 1 เรื่องการดูดโลหะหนักของพืชน้ำในบึงมักกะสัน โดยกลุ่มงานวิจัยเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน 113

Read More