Tag: รั้วหญ้าแฝก

การสร้างแนวรั้วหญ้าแฝก

ต่อไปนี้จะให้คำแนะนำในการสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกทีละขั้น รวมทั้งคำแนะนำปลีกย่อยต่าง ๆ ในการจัดการกับต้นกล้า เวลาที่เหมาะในการปลูก และสิ่งที่ควรทำหลังจากปลูกหญ้าแฝกไปแล้ว

ขั้นแรกคือ การหาต้นกล้าหญ้าแฝกมา โดยมักจะหาได้จากสถานีเพาะชำหญ้าแฝก หากว่าหญ้าแฝกไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ของท่าน ให้ลองสอบถามไปยังสวนพฤกษศาสตร์ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อขอพันธุ์หญ้าแฝก (Vetiveria zizanioides) ถ้ามีการเก็บรวบรวมไว้ในเอกสารประมวลพันธุ์พืช เราสามารถจะดูลักษณะแหล่งที่มา และชื่อพื้นเมืองของหญ้าแฝกได้จากเอกสารดังกล่าว โดยทั่วไปจะพบหญ้าแฝกในแถบเขตร้อน หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตนี้ ไปจนถึงละติจูดที่ 42 องศาเหนือ การตั้งเรือนเพาะชำหญ้าแฝกทำได้ไม่ยากเลย สถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเพาะชำ คือ ทางนํ้าไหลลงสู่เขื่อนขนาดเล็กหรืออ่างเก็บน้ำ เพราะทางน้ำไหลนั้น จะเป็นแหล่งทดนํ้าให้แก่หญ้าแฝกพร้อมกันนั้น หญ้าแฝกจะช่วยกรองโคลนตมออกจากนํ้าให้ด้วย แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ที่ใช้หญ้าแฝกปกป้องก็เป็นแหล่งเพาะชำ อนุโลมที่ดีได้เช่นกัน เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรปลูกกล้าหญ้าแฝกเป็น 2 หรือ 3 แถว เพื่อเป็นแนวรั้วหญ้าที่ขนานกันกั้นขวางร่องน้ำไว้ แถวของแนวรั้วหญ้า … Read More

การปลูกรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ

รูปที่ 10 แนวตัดขวางของรั้วหญ้าแฝก

รูปที่ 10 แสดงให้เห็นภาพตัดขวางการทำงานของรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ ใบและลำต้นของหญ้าแฝกจะชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่าที่พัดพาเอา ตะกอนมาด้วยที่ A และทำให้เกิดการสะสมของตะกอนบริเวณด้านหลังของหญ้าแฝกที่ B นํ้ายังคงไหลต่อลงไปตามทางลาดเอียงที่ C ด้วย อัตราความเร็วที่ลดลงมาก ระบบรากที่อุ้มนํ้าไว้ได้ของหญ้าแฝกตามรูป D จะยึดดินที่อยู่ใต้ต้นหญ้าไว้ ลึกถึง 3 เมตร รากต้นหญ้าแฝกที่รวมตัวเป็นกระจุกหนาแน่นใต้ดินตามแนวระดับของพื้นที่ จะป้องกันการเกิดร่องนํ้าและโพรงใต้ดิน รากของหญ้าแฝกมีนํ้ามันกลิ่นฉุนซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนจากสัตว์ จำพวกหนู และสัตว์อื่น ๆ ได้ ชาวนาอินเดียจำนวนมากรายงานว่า กลิ่นของน้ำมันนี้ยังทำให้หนูไม่มาอาศัยในบริเวณที่ปลูกหญ้าแฝกด้วย ระบบรากที่หนาแน่นนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้หญ้าชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าคอสตอลเบอร์มิวด้า (Cynodon dactylon) ซึ่งเป็นพวกวัชพืชขึ้นในบริเวณที่เป็นไร่นา อีกทั้งเกษตรกรที่อยู่ใกล้ ๆ … Read More