Tag: เห็ดฟางกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นการวิวัฒนาการมาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง โดยทำการปรับสภาพแวดล้อม และความต้องการให้สอดคล้องกับธรรมชาติและอุปนิสัยของเห็ดฟาง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนในการผลิต มีวิธีการที่ง่ายเข้า ตลอดจนใช้วัสดุในการเพาะ สถานที่ ระยะเวลาที่ไม่มากนัก รวมทั้งให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น

หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้คนพบวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อ พ.ศ. 2508 และได้เผยแพร่ให้แก่เกษตรกร ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างดี ทำให้กิจการเกี่ยวกับเห็ดฟาง ทั้งทางด้านการเพาะและการผลิตเชื้อเห็ดขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะ แบบกองสูง เช่น

1. ใช้วัสดุได้มากชนิดกว่า เช่น ตอซัง, ปลายฟาง, ผักตบชวา, ต้นกล้วย ขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น, ชานอ้อย, ขี้เลื่อย, หญ้าขจรจบ, หญ้าคา เป็นต้น

2. วิธีการไม่ยุ่งยากมากนัก ประหยัดแรงงานคน ๆ … Read More

เห็ดฟาง:การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

อดีตของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอนเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือเพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไป การระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

การเตรียมดินให้พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวประมาณ 1 ชั่วโมง ปลายฟางแข็งๆควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาให้กองได้เลย… Read More