Tag: เห็ด

อีกด้านหนึ่งของเห็ดหลินจือ

ปัจจุบันคำร่ำลือเกี่ยวกับสรรพคุณด้านยารักษาโรคของเห็ดหลินจือเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างแพร่หลายในประเทศไทย  ทำให้มีการตื่นตัวทั้งในผู้บริโภคเองหรือผู้เพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือเป็นการค้า  ตลอดจนผู้ทำงานวิจัยค้นคว้า ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้เห็นหลินจือขึ้นทะเบียนเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ส่วนการใช้ในรูปยารักษาโรคยังอยู่ในการพิจารณา เพราะยังคงมีการศึกษาวิจัยอยู่แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นการใช้เห็ดหลินจือเป็นยารักษาโรคในปัจจุบันจึงคงยังอยู่ในลักษณะที่ผู้ใช้จะเป็นผุ้ประเมินผลด้วยตัวเอง ในสมัยโบราณชาวจีนดูเหมือนว่าจะเป็นชาติแรกที่นำเอาเห็ดหลินจือมาใช้เป็นยารักษาโรค ต่อมาได้กระจายไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง และไต้หวัน จนกระทั่งทุกวันนี้ได้มีการศึกษาทดสอบอย่างกว้างขวางทั้งในแถบเอเชีย อเมริกา ประเทศในแถบยุโรปรวมทั้งในประเทศไทยเอง

เห็ดหลินจือถูกจัดอยู่ในสกุล Ganoderma มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่าง ๆ กันหลายชื่อ เช่น เห็ดหิ้ง เห็ดหัวงู เห็ดจวักงู เห็ดแม่เบี้ย เห็ดนางกวัก เห็ดกระด้าง เห็ดไม้ เห็ดหมื่นปี เป็นต้น การเจริญเติบโตในช่วงแรกจะอยู่ในรูปของเส้นใย เมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสร้างดอกเห็ดสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ ขอบของดอกเห็ดมีสีขาว ดอกเห็ดขยายกว้างออกมีลักษณะคล้ายพัด ผิวด้านบนเป็นมันเหมือนเคลือบด้วยแลคเกอร์ ผิวด้านล่างมีสีขาวขุ่นเต็มไปด้วยรูเล็ก … Read More

เห็ดฟาง:การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

อดีตของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอนเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือเพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไป การระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

การเตรียมดินให้พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวประมาณ 1 ชั่วโมง ปลายฟางแข็งๆควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาให้กองได้เลย… Read More