Tag: โคนม

โคนม:สมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม

นางสาวสุพัตรา  ธนเสนีย์วัฒน์  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรได้เร่งแก้ปัญหาน้ำนมโคของสหกรณ์ที่ไม่มีแหล่งจำหน่ายเนื่องจากอุทกภัยปี 2554  โดยรับซื้อนมจากสหกรณ์  เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและสนับสนุนให้สหกรณ์ติดตั้งเครื่องบรรจุนม UHT แปรรูปนำไปจำหน่าย พร้อมขอความอนุเคราะห์จากจิตอาสาและรัฐบาลในการรับซื้อนม UHT  เพื่อนำไปใส่ในถุงยังชีพ  ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ว  ยังเป็นการช่วยเหลือค่าน้ำนมให้แก่เกษตรกรเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องกล่องบรรจุด้วย

ทางด้านนายสมชาย  ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  เปิดเผยว่า ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการช่วยแก้ไขปัญหาให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมที่ไม่สามารถส่งน้ำนมดิบไปยังโรงงานรับซื้อได้  จนส่งผลให้มีน้ำนมดิบล้นตลาดอยู่กว่า 200 ตันต่อวัน  โดยได้ประสานไปยังสหกรณ์นอกเขตพื้นที่น้ำท่วม เช่น สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด และสหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูถัมภ์) ให้ช่วยเข้ามารับซื้อน้ำนมดิบเหล่านั้นไปแปรรูปนม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะให้ยืมเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์แบบปลอดดอกเบี้ย  สำหรับการรับซื้อน้ำนมดิบของสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

พร้อมกันนี้ยังได้เร่งสำรวจ  รวบรวมข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้การช่วยเหลือตามมาตรการที่มีอยู่  โดยเฉพาะมาตรการพักชำระหนี้ให้สมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยเป็นเวลา 3 ปี … Read More

การเลี้ยงโคนมมีวิธีการอย่างไรบ้าง

การเลี้ยงโคนมควรจะรู้เรื่องของโคนมซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่

๑.  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ ซาฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตว่าโคนมพวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนอากาศร้อนได้ดีแต่ให้นมไม่มากนัก

๒.  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวหรือเรียกว่า โคนมยุโรปมีอยู่หลายพันธุ์ สังเกตได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่พันธุ์ขาวดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเซียน

โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียนนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์ ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากที่สุดเพราะให้นมมาก มีสีดำตัดขาว รูปร่างใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ตัวผู้หนัก ๘๐๐-๑,๐๐๐ กก. ตัวเมียหนัก ๖๐๐-๗๐๐ กก. โคพันธุ์นี้ชอบอากาศหนาว อุณหภูมิไม่ควรเกินกว่า 22°ซ.

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแถบร้อน การเลี้ยงโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่เป็นพันธุ์แท้มักจะมีปัญหามากถ้าหากการจัดการไม่ดี ดังนั้นเกษตรกรควรเลี้ยงลูกผสมระหว่างโคพันธุ์โฮลสไตน์กับโคพันธุ์พื้นเมือง หรือโคที่มีกำเนิดในแถบร้อนพันธุ์อื่น ๆ โดยมีสายเลือดโคนมพันธุ์โฮลสไตน์อยู่ระหว่าง ๕๐-๗๕ ℅ ซึ่งลูกผสมระดับสายเลือดนี้จะให้ผลผลิตการให้นมเฉลี่ยปีละประมาณ … Read More