Tag: โรคพืช

การเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอย

ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืช โดยการเจาะผ่านด้วยหลอดดูดอาหารทำให้เกิดแผลอันเป็นวิธีกลที่ทำความเสียหายให้เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ความเสียหายจะเกิดจากน้ำลาย (saliva) ที่ไส้เดือนฝอยปล่อยเข้าสู่พืชขณะดูดกิน น้ำลายนี้สร้างโดยต่อมต่างๆ แล้วไหลสู่ลำคอ ซึ่งเป็นอวัยวะที่เชื่อมกับลำไส้ของ

ภาพการแทงผ่านผิวรากขนอ่อน (Nicotiana tabacum) ของไส้เดือนฝอย (Trichodorus similis) แสดงการย่อยหลังจากหลอดดูดอาหารเข้าสู่ nucleus และ cytoplasm ของเซล (ที่มา:Endo, 1975)
ระบบการย่อย แล้วน้ำลายจะลงสู่พืชโดยผ่านทางหลอดดูดอาหาร ไส้เดือนฝอยบางชนิดเจาะผนังเซลพืช ปล่อยน้ำลายลงสู่เซล แล้วดูดส่วนต่างๆ ภายในเซลพืชเข้าสู่ไส้เดือนฝอยโดยใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 2-3 วินาที เท่านั้น แต่บางชนิดใช้เวลานานมาก เพียงการเจาะผ่านผนังเซลอย่างเดียวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน สำหรับไส้เดือนฝอยเพศเมียที่เป็นปรสิตอยู่ในหรือบนรากอย่างถาวร จะปล่อยน้ำลายลงสู่พืชเป็นครั้งคราว ขณะดูดกินพืชตลอดการเป็นปรสิตพืช
น้ำลายของไส้เดือนฝอยจะช่วยในการเจาะผ่านผนังเซล ไปละลายสารต่างๆ ในเซล … Read More

ทุเรียน:การฟื้นฟูต้นทุเรียนภายหลังการเข้าทำลายของเชื้อไฟทอปธอร่า

วันทนีย์  ชุ่มจิตต์  และคณะ..ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไฟทอปธอร่า(โรคโคนเน่า) เข้าทำลายจะทรุดโทรมเนื่องจากระบบรากและระบบลำเลียงเสียหาย นอกจากนี้เชื้อที่อยู่ในลำต้นยังสามารถทำลายต้นทุเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ต้นตายได้ การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคโคนเน่านี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ควรใช้หลายวิธีเช่นกัน ซึ่งแนวทางการแก้ไขมีดังนี้

1.  เพิ่มความสมบูรณ์ของต้นเพื่อให้ต้นสามารถต้านทานต่อโรคได้

2.  ทำลายเชื้อที่ยังอยู่ในต้นเพื่อหยุดยั้งการทำลาย

3.  หยุดยั้งการเจริญของเชื้อที่ยังอยู่ในดิน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายครั้งต่อไป

4.  ปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทดลองใช้เชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีกับต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งการเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนโดยการให้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากทุเรียนที่เป็นโรค ระบบรากของทุเรียนมักจะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ตามปกติ การให้ปุ๋ยทางใบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูสภาพต้นไม้ได้เร็วขึ้น

จากการทดลองพ่นปุ๋ยทางใบ (น้ำตาลมอลตานิค อัตรา 20 ซีซี+ปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 อัตรา 60 กรัม+ฮิวมิค แอซิด อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) … Read More