Tag: ไรแดงมะม่วง

ไร:ไรศัตรูสำคัญของไม้ผล

เทวินทร์  กุลปิยะวัฒน์, มานิตา  คงชื่นสิน, ฉัตรชัย  ศฤงฆไพบูลย์, วัฒนา  จารณศรี (กองกีฏและสัตววิทยา)

ไรพริกขาว

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ไรขาวชนิดนี้อวัยวะส่วนปากไม่แข็งแรง  จึงไม่สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืชที่มีลักษณะหนาแข็งได้ มักจะดูดกินยอดและใบอ่อนของพืชที่เพิ่งแตกใหม่  ขณะนี้พบว่าไรขาวพริกลงทำลายส้มโอในหลายแหล่งปลูก  โดยที่ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนและผลอ่อนเท่านั้น ส่วนมากมันจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ด้านใต้ใบ  หากการทำลายรุนแรงทำให้ขอบใบส้มโอม้วนลง ใบเรียวเล็ก ใบมีสีเหลืองเข้ม ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนการทำลายที่ผลนั้นเริ่มตั้งแต่ส้มโอติดผลเรียบร้อยแล้วจนกระทั่งผลมีอายุประมาณ 2 เดือน มันจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผล หากการทำลายรุนแรงทำให้ผลได้รับความเสียหายทั้งผล โดยอาการที่เกิดขึ้นหลังการดูดกินนั้น  ผิวเปลือกเป็นแผลสีเทา เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายขนาด 10 เท่าจะพบเป็นร่างแหเต็มไปหมดทั้งผล  ทำให้ต้องปลิดทิ้ง เพราะว่าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ส่วนผลที่ถูกดูดกินเป็นบางส่วนสามารถเจริญเติบโตได้  แต่ผลส้มโอจะมีน้ำหนักเบา เปลือกหนา เนื้อน้อยมากต้องปลิดทิ้ง

ชีวประวัติและอุปนิสัย

ไรขาวพริกมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า … Read More

ไรแดง:เทคนิคป้องกันกำจัดไรแดงมะม่วง

1.  วางแผนการปลูกให้เหมาะสม  โดยกำหนดระบบปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวให้ห่างกันพอสมควร  เพื่อไม่ให้มะม่วงมีทรงพุ่มที่ชิดเกินไป และเป็นการป้องกันการเคลื่อนย้ายของไรแดง โดยการเดินไปตามใบ

2.  เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากไรแดงชนิดนี้อาศัยอยู่  ถ้าไม่แน่ใจควรนำกิ่งพันธุ์นั้นมาพ่นสารกำจัดไร กำจัดไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยให้หมดนำไปปลูก

3.  ไม่ควรปลูกพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยของไรแดงมะม่วง  ถ้าไรแดงระบาดบนมะม่วงจะต้องพ่นสารเคมีให้กับพืชอาศัยที่ปลูกเป็นพืชแซมด้วย

4.  ระยะใบเพสลาดเป็นระยะที่ไรดูดกินน้ำเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีต้องระมัดระวังใบมะม่วงช่วงนี้

5.  ควรพิจารณาพันธุ์ที่ปลูก เพราะมะม่วงบางพันธุ์มีสารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไรแดง ดังเช่น พันธุ์สามฤดู

6.  เกษตรกรไม่ควรใช้สารกำจัดไรในช่วงฝนชุก ยกเว้นฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานเท่านั้น

7.  ควรใช้สารกำจัดไร เมื่อมีไรเกิดการระบาดขึ้น โดยใช้สารที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องรู้อุปนิสัยของไรแดง  ซึ่งมักมาอาศัยอยู่บริเวณด้านหน้าใบ ดังนั้นการพ่นสารกำจัดไรควรจะพ่นข้ามร่อง เพื่อให้ละอองสารตกลงบนหน้าใบโดยตรงถูกตัวไร และควรพ่นสารกำจัดไรเฉพาะบริเวณที่มีไรระบาดจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน

8.  … Read More