กระเบาน้ำมีประโยชน์อย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydnocarpus anthelminthicus Pierre
ชื่ออื่นๆ กระเบา กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาเข้าแข็ง กระเบาเข้าเหนียว กาหลง (ไทย) ดงกะเบา (ลำปาง) กระเบาดึก กระเบาดึก (เขมร) กระเบาใหญ่ (ลาว) กะตงคง (ลาวเชียงใหม่) ตั้วโฮ่งจี๊ (จีน)
ชื่ออังกฤษ Chaulmoogra
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร ชอบขึ้นตามริมนํ้าหรือที่ลุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ กิ่งใบดกหนาทึบ ใบรูปร่างค่อนข้างยาวขอบขนานกว้างประมาณ 3-4 ซ.ม. ยาว 8-14 ซ.ม. ดอกเป็นกระจุก 2-3 ดอก สีชมพู แยกต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียดอกตัวผู้มีกลิ่นหอม จึงเรียก “แก้วกาหลง” ผลโตมากขนาดผลมะขวิด เกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-10 ซ.ม. ผลมีขนสั้นๆ สีนํ้าตาลปกคลุม เปลือกผลแข็ง เนื้อในมีสีขาวอมเหลืองภายในมีเมล็ดรูปร่างค่อนข้างกลมขนาดประมาณ 1 ซ.ม. ฝังอยู่ในเนื้อหลายสิบเมล็ด เนื้อผลที่แก่จัดใช้รับประทานกับนํ้ากะทิ เนื้อไม้สวยสีนํ้าตาลอมเทา
ส่วนที่ใช้ เนื้อในของผล เมล็ดของผลที่แก่ เนื้อไม้
สารสำคัญ เมล็ดแก่บีบให้น้ำมัน เรียก Chaulmoogra oil ในนํ้ามันมีสารพวก glycerides ได้แก่ hydnocarpic acid, chaulmoogric acid, oleic acid, palmatic acid.
ประโยชน์ทางยา นํ้ามันกระเบาสมัยก่อนใช้ฉีดรักษาโรคเรื้อน ในรูปของ Sodium หรือ Ethyl chaulmoograte แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
ยาไทย ใช้เมล็ดตำและผสมนํ้ามันพืช ทาแก้โรคผิวหนัง
อื่นๆ เนื้อในผลใช้เป็นอาหาร เนื้อไม้ทำวัสดุก่อสร้าง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ