การจัดกิจกรรมการเกษตร

กิจกรรมการเกษตรที่จะส่งเสริมอาชีพการเกษตรและสนับสนุนการศึกษาอบรมในสาขาเกษตร มีมากมายหลายชนิดเช่น

ก. การจัดกระดานแสดง (Display Board) หรือป้ายประกาศ (Bulletin Board) โดยการหาภาพโป๊สเตอร์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ ตัวอย่างของจริง หุ่นจำลอง ฯลฯ มาติดตั้งไว้บนกระดานแสดง หรือป้ายประกาศ พร้อมด้วยคำอธิบาย และรายละเอียดย่อ ๆ ประกอบภาพและสิ่งของเหล่านั้น กระดานแสดงหนึ่งแผ่นควรมีหนึ่งเรื่อง เพื่อให้คนเข้าใจง่ายขึ้น แล้วติดตั้งกระดานแสดงนี้ไว้ในที่ชุมชน ห้องสมุด ระเบียงห้อง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ในหมู่บ้าน ฯลฯ

ข. การจัดงานนิทรรศการ (Exhibition)

นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงวัตถุ สิ่งของ เอกสาร แผ่นภาพ แบบจำลองของจริง หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้การศึกษา ให้ความรู้ เร่งเร้าความสนใจของประชาชน เพื่อเสริมสร้างการประชาสัมพันธ์ โฆษณาวิธีการ โฆษณาสิ่งของสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมเอาหลายอย่างมาผสมกัน และในการนี้อาจจัดให้มีการบรรยาย ปาฐกถา ฉายสไลด์ หรือภาพยนต์ประกอบ ด้วยก็ได้ งานนิทรรศการอาจจะจัดในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ และงานนี้แบ่งเป็น 3 ปร์ะเภทคือ

1. นิทรรศการถาวร คือการจัดแสดงเรื่องราวที่แน่นอน มักจะทำไว้ในอาคารเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้ตลอดไป เช่นนิทรรศการเรื่องประวัติการปลูกยางของไทย เป็นต้น

2. นิทรรศการชั่วคราว คือการจัดแสดงเป็นครั้งคราว เพื่อให้ความรู้ เสนอแนวคิคใหม่ ๆ เพื่อโฆษณาสิ่งของ ฯลฯ เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ เช่น นิทรรศการการเลี้ยงปลาไน นิทรรศการการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี เป็นต้น

3. นิทรรศการหมุนเวียน คือการจัดแสดงวัสดุสิ่งของ หรือวิชาการในเรื่องเดียวกันในหลาย ๆ แห่ง โดยอาจจะโยกย้ายจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง เช่น เรื่องการวางแผนครอบครัว การทำยางแผ่นชั้นดี ฯลฯ การเตรียมงานนี้ต้องทำเป็นพิเศษ โดยออกแบบวัสดุสิ่งของให้คงทนถาวร รื้อถอน เคลื่อนย้าย ติดตั้งได้รวดเร็ว โดยไม่เสียหาย

หลักการจัดนิทรรศการ

1. มีโครงการหรือวางแผนไว้อย่างแน่นอน

-มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน (จะจัดอะไร และจัดทำไม)

-ควรรู้จักผู้ชมอย่างดี (จัดเพื่อใคร)

-จะจัดที่ไหน (ในกรุง ชนบท กลางแจ้ง ในอาคาร)

-จะจัดเมื่อไร (จัดวันไหน ยาวนานกี่วัน)

-จะจัดอย่างไร (จัดแบบไหน ใช้ของจริงหรือภาพถ่าย)

2. เลือกวัสดุที่จะนำมาแสดง ออกแบบตรวจดูสิ่งที่จะจัดตั้ง เลือกสื่อนิทรรศการ (กระดานดำ ป้ายประกาศ แผ่นไม้อัด ฯลฯ) รวบรวมวัสดุ สร้างที่แสดงเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้หมาะสม การออกแบบนิทรรศการต้องออกแบบให้เด่น ไม่ซ้ำซาก มีความสมดุลย์และต่อเนื่อง

3. มีวิธีการติดตั้งง และจัดวางวัตถุในห้อง บนชั้นบนหิ้ง หรือในตู้อย่างถูกต้อง

4. ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง เช่น โดยการแจกใบปลิว ติดป้ายโฆษณา กระจายข่าวทางสื่อสารมวลชน ฯลฯ เพื่อให้คนมาชมมาก ๆ

5. ควรมีวิธีการสรุปและประเมินผลนิทรรศการด้วย เพื่อหาลู่ทางปรับปรุง และประเมินผลดูว่าการจัดนิทรรศการแบบนี้คุ้มหรือไม่

ค. งานตลาดนัดเกษตรกร (Farmer Market) โดยการนัดแนะให้เกษตรกรนำผลิตผลมาจำหน่ายในตลาดนัดท้องถิ่นในวันเดียวกัน เช่น ตลาดนัดบ้านควนหิน จ.สงขลา จะมีวันนัดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง (อังคาร ศุกร์) ซึ่งชาวบ้านและเกษตรกรจะนำผลผลิตมาขายกันมากมาย

ง. งานสัปดาห์เกษตรกร ( Farmer Week ) โดยที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือหลายหน่วยร่วมมือกันจัดสัปดาห์เกษตรกร (5-7 วัน) เพื่อให้เกษตรกรได้มาชมงานนิทรรศการเกี่ยวกับวิทยาการแผนใหม่ หาซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ทางการเกษตร และนำผลิตผลมาวางขาย เช่น งานเกษตรแฟร์ของบางเขน (2- 5กุมภาพันธ์ ทุกปี) งานสัปดาห์เกษตกรของวิทยาลัยเกษตรกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ

จ. งานวันสถานีเกษตร (station Field Day) โดยที่สถานีทดลองเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดแสดงผลงานทุก ๆ ด้านของสถานีทดลองเกษตรต่างๆ เช่น สถานีทดลองข้าว สถานีการยาง สถานีกสิกรรมต่างๆ ร่วมมือกันจัดวันสถานีเกษตรขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ไปชมงานและหาความรู้ทางเกษตรสาขาต่าง ๆ

ฉ. การสาธิต (Demonstration) การสาธิตมี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การสาธิตวิธีและการสาธิตผล การสาธิตวิธีคือ การที่เจ้าหน้าที่แสดงและลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ และเทคนิคใหม่ ๆ ให้ประชาชนดู เช่น การสาธิตวิธีฉีดยาปราบหญ้าคา วิธีการปราบหนูนา ฯลฯ ส่วนการสาธิตผล คือ การที่เจ้าหน้าที่ (และชาวนา) ได้ทำงานเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว จึงเชิญให้ประชาชนมาดูผลงาน เช่น การพาคนไปดูผลงานของการปลูกข้าว พันธุ์ กข. 7 หรือผลของการฉีดยาชนิดใหม่ปราบหญ้าคา เป็นต้น

ช. การประกวดพืชและสัตว์ (crop and Animal Contest) คือการที่หน่วยงาน ได้จัดให้มีการประกวดพืชและสัตว์ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรได้ปรับปรุงการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ของตนให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่นการประกวดคุณภาพยางแผ่น การประกวดสุกรพันธุ์ดีเหล่านี้  เป็นต้น

ซ. งานกลุมเกษตรกร (Farmer Group) เกษตรกรในหมู่บ้านหรือตำบลหนึ่งๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ที่มีอาชีพและความสนใจเหมือนกัน อาจจะรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มเกษตรกร แล้วยื่นขอจดทะเบียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อทำธุรกิจทางการเกษตรในสาข่าต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของเขาเอง

ฌ. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (Farmer Housewives,) แม่บ้านของเกษตรกรอาจจะรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยมีเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร (จากสำนักงานเกษตรอำเภอ) ไปเป็นพี่เลี้ยงอบรมแนะนำแม่บ้านในเรื่องอาหารการกิน หลักโภชนาการ ศิลปประดิษฐ์ การถนอมอาหาร การจัดบ้านเรือน การตัดเย็บเสื้อผ้า การเลี้ยงดูเด็ก ฯลฯ

ญ. องค์การเกษตรกรในอนาคต (F.F.T. -Future Farmers of Thailand) องค์การเกษตรกรในอนาคตเป็นความคิคริเริ่มของโรงเรียน และวิทยาลัยเกษตรกรรม(กรมอาชีวศึกษา) และต่อมาได้ขยายกิจการไปในโรงเรียนมัธยมของกรมสามัญศึกษาด้วยองค์การนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกอบรมนักเรียนนักศึกษาเพื่อให้เป็นเกษตรกรที่ดีในอนาคต

ฎ. กลุมยุวเกษตรกร (Young Farmer Group) กลุ่มยุวเกษ่ตรกร หมายถึง กลุ่มเยาวชนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 10-25 ปี จำนวนตั้งแต่ 15-30 คน มีความสนใจเกี่ยวกับการเกษตร และเคหกิจเกษตรรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกร โดยมีบุคคลในท้องถิ่นอาสาสมัครเป็นที่ปรึกษายุวเกษตรกรประจำท้องถิ่น ในอัตราที่ปรึกษา 1 คน ต่อสมาชิกยุวเกษตรกร 10 คน

ในปัจจุบัน กลุ่มยุวเกษตรกรแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. กลุ่มยุวเกษตรกรนอกโรงเรียน

2. กลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน

3. กลุ่มยุวเกษตรกรผสม (มีเด็กในและนอกโรงเรียน)

องค์ประกอบของกลุ่มยุวเกษตรกร จะประกอบด้วยสมาชิก คณะกรรมการสภายุวเกษตรกร และที่ปรึกษายุวเกษตรกรประจำท้องถิ่น สำหรับคณะกรรมการสภายุวเกษตรกรนั้น จะประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และปฏิคม

งานกลุ่มยุวเกษตรกร ขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการเกษตรโดยที่ทางราชการพิจารณาเห็นว่า เยาวชนอายุระหว่าง 11-24 ปี มีอยู่ประมาณร้อยละ 32 และในจำนวนนี้ส่วนมาก (80%) เป็นเยาวชนอยู่นอกระบบโรงเรียน ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดงานกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ย่อ ๆ ดังนี้

1. เพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการเกษตรและเคหกิจเกษตร ที่ถูกต้อง

2. เพื่อฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักปฏิบัติกิจกรรมในไร่นา และในบ้านอย่างถูกหลักวิชาการ มีสมรรถภาพ รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม คุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาตนเองและท้องถิ่น กับได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3. เพื่อเปลี่ยนทัศนคฅิของเยาวชนให้รู้สึกภูมิใจในคุณค่าของการเกษตร และยอมรับอาชีพเกษตร เพื่อการดำรงชีวิฅ และเพื่อเศรษฐกิจของชาติต่อไป

ลัญญลักษณ์ของกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แบบมาจากของต่างประเทศคือ 4-H Club แต่ในเมืองไทยใช้สัญญลักษณ์ลักษร ก แทน ดังนี้

ก ตัวแรก     หมายถึง เกศ (Head) คือการฝึกสมอง

ก ตัวที่สอง หมายถึง กมล (Heart) คือการฝึกใจ

ก ตัวที่สาม หมายถึง กร (Hand) คือการฝึกใช้มือ

ก ตัวที่สี่      หมายถึง กาย (Health) คือการฝึกพลานามัย

คำปฏิญาณของสมาชิกยุวเกษตรกรมีว่าดังนี้

1. ข้าพเจ้าจะใช้สมอง เพื่อดำเนินกิจการให้ก้าวหน้า

2. ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

3. ข้าพเจ้าจะใช้มือ เพื่อทำงานให้เป็นประโยชน์

4. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีพลานามัยสมบูรณ์ เพื่อครอบครัว เพื่อท้องถิ่นและเพื่อชาติ

นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคำปฏิญานแล้ว สมาชิกยุวเกษตรกรทุกคนยังยึดมั่นในมติประจำใจ อีก 2 ข้อคือ

1. เรียนโดยการกระทำจริง (Learning by Doing) คือการนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการสอนและอบรมไปทดลองปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นการเพิ่มความชำนาญด้วยการปฏิบัติจริง

2. จะทำให้ดียิ่งกว่าดีที่สุด (Doing the Best the Better) คือ การปรับปรุงงานของตนให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ โดยพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่ให้ดีที่สุดในปัจจุบัน

งานหลักของกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรมีดังนี้

1. เปิดโอกาสให้สมาชิกทำการเกษตรอย่างจริงจัง เช่น ทำสวนผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกพืชไร่ ปลูกข้าว ปลูกไม้ผล เพาะเห็ดต่างๆและงานอื่นๆ

2. เปิดโอกาสให้สมาชิกปฏิบัติงานเคหกิจเกษตร เช่นการตัดเย็บเสื้อผ้าเรียนเรื่องอาหารและโภชนาการการถนอมอาหาร ปรับปรุงบ้านเรือน ทำศิลปประดิษฐ์ ฯลฯ

3. การจัดชุมนุมยุวเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย

-ฟังการบรรยายภาควิชาการ

-จัดนิทรรศการ

-จัดการแข่งขันและประกวดต่างๆ เช่น แข่งขันการตัดสินผัก ตัดสินสัตว์ การตอบปัญหา แข่งขันการสาธิต การพูดในที่ชุมชน ฯลฯ

-ร่วมทัศนศึกษา

– ร่วมสันทนาการ (กีฬาและเกมส์ต่าง ๆ)

-ร่วมงานสาธารณะประโยชน์

-จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร

-เลือกตั้งที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร

การจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร อาจเริ่มโดยสมาชิกเอง หรือโดยการริเริ่มของประชาชนในท้องถิ่นหรือโดยการแนะนำของเจ้าหน้าที่ เมื่อทางกลุ่มมีสมาชิกมีที่ปรึกษาและความสนับสนุนจาก ผู้ปกครองแล้ว ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อไปร่วมประชุมปรึกษาหารือ โดยทางกลุ่มและเจ้าหน้าที่จะต้องทำรายงานจัดการตั้งกลุ่มตามแบบของทางราชการ รวม 3 ชุด เพื่อส่งสำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดต่อไป