ลักษณะของสมุนไพรกำจัดหน่วย


งูเห่า
ชื่อ
จีนเรียก     ซังมิ่งฉี่  ออยตอยฉี่  เอียคังงู๊  ซัวโหว่เจีย  เชาออยฉี่   Zanthozylum nitidum(Lam.) DC.

ลักษณะ
พืชประเภทไม้เลื้อย ชอบขึ้นตามป่า ในทุ่ง เป็นพืชล้มลุกขึ้นอยู่หลายปี สูง 2-3 ฟุต มีหนามขึ้นรอบต้น ลำต้นสีดำ ใบขึ้นคู่ กิ่งหนึ่งจะมีใบสามถึงเจ็ดใบ ใบปลายจะมีก้านยาวหน่อย ใบเรียบเป็นมันรูปใบค่อนข้างกลมแต่ปลายแหลม ขอบใบเป็นหยักไม่เรียบ หน้าใบเอ็นใบขึ้นชัด เอ็นกลางใบมักมีหนามงอ คล้ายขอ ออกดอกหน้าหนาวเข้าหน้าร้อน ออกลูกกลมเป็นพันธุ์

รส
รสขมเผ็ด ธาตุค่อนข้างร้อน มีพิษนิดหน่อย

สรรพคุณ
สามารถไล่ลม แก้พิษ แก้ปวด ใช้ภายนอกแก้บวมระงับปวด ฤทธิ์เข้าถึงปอด และม้าม

รักษา
ปวดท้องลงท้องเพราะหวัดแดด ปวดท้องกินผิดสำแดง ปวดเมื่อยที่เอวและเท้า ปวดฟัน งูกัด เหยียบถูกของแข็งชํ้าเจ็บอุ้งเท้า

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดท้องลงท้องเพราะหวัดแดดกินผิดสำแดง – รากกำจัดหน่วย 1 เฉียน ชงนํ้าร้อน
2. ปวดเมื่อยเอวและเท้าเพราะลมพิษ-ราก เถาใบหอย  เจาแบทอ  อย่างละ 1 ตำลึง ดองเหล้ากินเช้าค่ำครั้งละ 1 ตะไล
3. ปวดฟัน – รากกำจัดหน่วย ครึ่งตำลึง ต้มใส่กวยแชะ หรือต้มนํ้าใช้อม หรือดองเหล้าอม
4. งูเขียวหางไหม้กัด – รากกำจัดหน่วย 2 ตำลึง ตำกับเหล้าคั้นนํ้าหรือต้มกินกับเหล้า
5. ฝีตะมอยนิ้วมือ – รากกำจัดหน่วยตากแห้ง 2 เฉียนดองเหล้าแล้วเอานิ้วแช่ในเหล้า
6. ช้ำเจ็บอุ้งเท้าเพราะถูกของตำ – รากกำจัดหน่วยตากแห้งบดผงผสมเหล้าพอกหรือเอาใบตำกับเหล้าและข้าวสวยเย็น พอก

ปริมาณใช้
รากแห้งใช้ไม่เกินครึ่งตำลึง (รากแห้งยิ่งนานยิ่งดี) ใบและรากใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
นอกจากใช้เป็นยาแก้งูพิษกัดแล้ว ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ หญิงมีครรภห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช