หนวดปลาดุกสรรพคุณทางยา


ชื่อ
จีนเรียก     ซังซิวแง่คัง  ชั่งปิงน้อ  จั่วจำเช่า  ไฮ่ยี่เช่า  Lindernia cordifolia (Colsm) Merr.

ลักษณะ
ชอบขึ้นในที่ลุ่มมีน้ำหรือที่ชื้นแฉะ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ลำต้นกลมแตกกิ่งก้านมากมาย โคนต้นสั้นติดกับดิน ตามปล้องมีรากขึ้นทั่วไป ต้นยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ใบคู่ติดกับลำต้นเกือบจะไม่มีก้าน ใบรูปกลมรี ขอบใบเป็นหยักๆ ออกดอกได้ตลอดปี ดอกสีขาวออกเป็นคู่ในช่อเดียวกัน ใบดอกบาน

รส
รสจืดหวานนิดๆ เป็นพืชธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้ร้อนในปอด ขับปัสสาวะ แก้พิษร้อนในเลือด ใช้ภายนอกสามารถลดบวมดับร้อน ฤทธิ์เข้าถึงตับและปอด

รักษา
ขับปัสสาวะเนื่องจากอากาศร้อน แก้ไอเนื่องจากปอดร้อน ลำไส้ร้อน เด็กบวมน้ำ ใช้ทาแก้ผิวหนังแดงบวม พอกแก้ตะมอยที่เล็บ เจ็บคอ โรคบวม

ตำราชาวบ้าน
1. ปัสสาวะขัดในฤดูร้อน – หนวดปลาดุก 2 ตำลึง ตำแหลกใช้น้ำชงน้ำผึ้ง
2. ไอเนื่องด้วยปอดร้อน – หนวดปลาดุก 1 ตำลึง ต้มกับตังกวยแชะ
3. ไทฟอยด์-หนวดปลาดุก 1 ตำลึง ต้มน้ำหรือใส่หมากดิบน้ำค้าง ด้วยก็ได้
4. ผิวหนังบวมแดงเนื่องจากร้อนใน – หนวดปลาดุก ตำกับน้ำตาลทรายแดงพอก
5. ตะมอยที่เล็บ – ใช้หนวดปลาดุกตำกับเหล้า พอกที่นิ้ว รักษาการบวมด้วย
6. เจ็บคอ – หนวดปลาดุก ตำแหลกผสมน้ำผึ้งใช้อม

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 1 ถึง 2 ตำลึง แห้งใช้ไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้กับโรคภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช