ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และแก้ผื่นคัน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ตายอ สะยอ

ชื่ออังกฤษ Turmeric, Curcuma

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.

วงศ์ Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มอมส้ม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเรียวยาว ปลายแหลม ก้านใบยาวคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกสีขาวอมเหลือง มีใบประดับสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว ใบประดับ 1 ใบ มี 2 ดอก

การปลูก

ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชื้นในช่วงเวลากลางคืน ชอบดินร่วนซุยที่ระบาย,น้ำได้ดี วิธีปลูกทำได้โดยใช้เหง้าแก่ที่มีอายุประมาณ 1 ปี ตัดเป็นท่อนๆ ให้มีตาท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลง ในหลุมลึกประมาณครึ่งคืบ หลังจากปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ ขมิ้นชันจะเริ่มงอก หากฝนไม่ตกควรรดนํ้าทุกวัน หลังจากปลูกได้ 7 เดือน ขมิ้นชันจะเริ่มมีใบสีเหสือง แสดงว่าหัวขมิ้นเริ่มแก่ ปล่อยขมิ้นชันไว้ในแปลงจนมีอายุ 9-10 เดือน จึงขุดเหง้ามาใช้ได้ ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสด และเหง้าแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงอายุ 9-10 เดือน

สารสำคัญ เหง้าขมิ้นประกอบด้วย

-นํ้ามันหอมระเหยประมาณร้อยละ 2-6 เป็นน้ำมันสีเหลือง ซึ่งมีสารหลายชนิด เช่น เทอร์เมอโรน (turmerone), บอร์นีออล (bomeol), การบูร (camphor) และซิงจิเบอรีน (zingiberene) เป็นต้น

-สารสีเหลืองส้ม ชื่อเคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งทำให้ขมิ้นมีสีเหลือง มีอยู่ประมาณร้อยละ 1.8-5.4

ประโยชน์ในการรักษา

1. ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย

วิธีใช้ นำเหง้าขมิ้นชันสดมาล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปลอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดๆ 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับนํ้าผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย เก็บไว้ในขวดที่สะอาด รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนเมื่อรับประทานขมิ้นชันแล้วมีอาการท้องเสีย ให้หยุดยาทันที

2. ใช้แก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ที่ไม่ใช่อหิวาตกโรค

วิธีใช้ ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว ล้างนํ้าให้สะอาด ขูดเปลือกออก นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่นํ้า เจือน้ำสุกเท่าตัว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต้ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยให้รับประทานได่ง่ายขึ้น

3. ใช้แก่โรคกระเพาะ

ขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ จึงช่วยทำให้อาการอักเสบและปวดเนื่องจากโรคกระเพาะและสำไล้บรรเทาลงได้

วิธีใช้ เช่นเดียวกับการรับประทาน เพื่อแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

4. แก้อาการผื่นคันและแพ้เนื่องจากยุงหรือแมลงกัดต่อย

จากการทดลองทางเภสัชวิทยาพบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการ อักเสบ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของเชื้อหนองได้จึงสามารถใช้ทาแก้อาการผื่นคันเนื่องจากความอับชื้น เนื่องจากยุงหรือแมลงกัดต่อย และรักษาแผลพุพองมีหนองได้ โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่นํ้า ทา บริเวณผื่นคัน หรืออาจใช้ผงขมิ้นชันแห้งผสมนํ้าเล็กน้อยทาบริเวณผื่นคัน

ข้อควรระวัง ไม่ควรซื้อผงขมิ้นชันมาใช้ ควรทำเอง เพราะขมิ้นผงที่ขายในท้องตลาด ส่วนมากทำจากขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีในการทำมักใช้ความร้อน ซึ่งจะทำให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคระเหยไป ทำให้คุณค่าในการรักษาลดลงได้