ขิง

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ขิงเผือก ขิงแกลง ขิงแดง สะเอ

ชื่ออังกฤษ Ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rose.

วงศ์ Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขิงเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน แตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองอ่อนอมเขียว มีเส้นใยเห็นชัดเจน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนเหนือดินตั้งตรง สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียวยาว ออกสลับกัน ดอกออกเป็นช่อ กลีบประดับสีเขียว กลีบ

ดอกย่อยสีเหลืองแกมเขียว ดอกจะบานจากโคนไปหาส่วนปลาย ผลกลม แข็ง โต

การปลูก

ขิงนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือนทั่วไป เพื่อใช้เป็นอาหาร ขิงชอบดินเหนียวปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ค่อนข้างชุ่มชื้น แต่มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบนํ้าขังแฉะ ชอบแสงแดดพอควร เวลาปลูกควรพรวนดินและยกร่อง ใช้แง่งที่ชำงอกแล้ว วางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น กลบดินและใช้ฟางคลุม ถ้าต้องการให้ขิงแตกหน่อดีและ แง่งแข็งแรง ต้องกลบโคนในช่วงที่ขิงมีอายุ 2 เดือน และ 3 เดือน ในช่วงที่ฝนตกมากๆ ต้องระวังโรคเน่าจากเชื้อรา และระวังศัตรูพืชด้วย

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา

เก็บในช่วงอายุประมาณ 1 ปี

สารสำคัญ ในเหง้าขิงมี

-นํ้ามันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1-3% ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงเวลาเก็บ ในนํ้ามันประกอบด้วยสารเคมีที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (zingiberene), ซิงจิเบอรอล (zingiberol), ใบชาโบลีน (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) เป็นต้น

-นํ้ามันชัน (oleo-rcsin) ในปริมาณสูงเป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญในนํ้ามันชันได้แก่ เช่น จินเจอรอล (gingerol) โชกาออล (shogaol) และซิงเจอโรน (zingerone) เป็นต้น

ประโยชน์ในการรักษา

1. ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยสาร สำคัญในนํ้ามันหอมระเหยจะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหาร และสำไสั

วิธีใช้ ใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบพอแตก ชงนํ้าดื่ม หรือใช้ผงขิงแห้ง 0.6 กรัม ชงน้ำดื่มหลังอาหาร

2. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

วิธีใช้ ใช้เช่นเดียวกับการใช้เพื่อขับลม

3. แก้ไอ ขับเสมหะ

วิธีใช้ ใช้เหง้าฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำผสมนํ้าเล็กน้อย คั้นเอานํ้า เติมเกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีรายงานจากการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าขิง สามารถลดความดันได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง การใช้นํ้าสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ จะให้ผลตรงข้ามคือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้จนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ดังนั้นการดื่มน้ำที่สกัดจากขิงไม่ควรใช้นํ้าสกัดที่เข้มข้นมากเกินไป เพราะจะไม่ให้ผลในการรักษาตามต้องการ