คาร์เนชั่น(Carnation)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชที่ต้องการอากาศเย็น โดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก การเจริญเติบโตมีลักษณะแตกเป็นกอ พันธุ์ที่ปลูกสำหรับตัดดอกมี 2 ประเภท คือ ประเภทดอกเดี่ยว (Standard Type) และประเภทดอกช่อ(Spray Type) ต้นหนึ่งสามารถมีช่อดอกรุ่นหนึ่งๆ หลายช่อดอก และมีช่อดอกทดแทนช่อดอกที่ถูกตัดไปแล้วได้เรื่อยๆ สามารถที่จะปลูกเลี้ยงเพื่อผลิตดอกได้จนต้นอายุถึง 1-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระยะปลูก การควบคุมโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่ง ตลอดจนสภาพภูมิอากาศ การปลูกในโรงเรือนที่กันฝนและแมลงได้ ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน จะให้ดอกคุณภาพดีกว่าปลูกกลางแจ้ง ปัจจุบันโครงการหลวงเป็นผู้ขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปปลูกผลิตดอก ควรหาพื้นที่ปลูกในที่ที่มีการขนส่งดี เพราะจะช่วยลดการสูญเสียในการขนส่งลงได้
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Standard: White Sim, Red Sim, Scania, gayety, Blaze, Loliata, Lena, S. Arthur Sim., Chameur, Lemon drop.  Spray: Jolivette, Red Baron, Sam’s Pride, searlet Elegance, White Lilli Ann.
ฤดูปลูก ตลอดปี
ความสูง 1000-1500 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6-6.5 ในดินร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    20×20 ซม.
จำนวนต้น 25 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของร่อง 1-1.2 เมตร ให้แปลงห่างจากกัน 60 ซม.
อายุพืช 190-240 วัน
ผลผลิต 150-200 ดอก/ตร.ม./8 เดือน
ชนิดดอกเดี่ยว
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ที่ได้ผลผลิตน้อยเข้าใจว่า 1) จำนวนต้นตายมาก 2) ดอกเป็นโรคหรือถูกแมลงกัดเสียหายมาก 3) กลีบรองดอกแตกมากและไม่ได้รัดไว้
* ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนพลาสติคที่เป็นโครงเหล็ก รวมทั้งค่าตาข่ายพลาสติคคำนวณจากอายุใช้งาน 10 ปี ในอัตราดอกเบี้ย 6% โดยซื้อตาข่ายพลาสติคใหม่ ทุก 5 ปี และเปลี่ยนหลังคาพลาสติคทุก 2 ปี ต้นทุนอาจต่ำกว่านี้ ถ้าทำเป็นโครงไม้ แต่ไม่สนับสนุนให้ใช้โครงไม้ ถ้าเป็นการตัดทำลายป่า
หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
แนะนำให้ปลูกในโรงเรือนพลาสติคและมีตาข่ายล้อมรอบป้องกันแมลงเป็นวิธีที่ยืดช่วงเวลาการตัดดอกได้นานออกไป และได้ดอกคุณภาพดี การปลูกสภาพกลางแจ้ง มักมีอุปสรรคเรื่องโรคและแมลง โดยเฉพาะฤดูฝน ทำให้ปริมาณและคุณภาพดอกต่ำ ปัจจุบันการส่งเสริมปลูกส่วนใหญ่เป็นชนิดดอกเดี่ยว สำหรับชนิดสเปรย์ส่งเสริมให้ปลูกเพียง 20%
ชนิดดอกเดี่ยว (ข้อมูลสำหรับชนิดสเปรย์ยังไม่มีรายงาน)
ผลผลิต
การปลูกกลางแจ้ง ได้ประมาณ 3000-4000 ดอก ส่วนการปลูกในโรงเรือนได้ราว 4,500-6,500 ดอกขึ้นอยู่กับระดับการจัดการพืช แต่ถ้าเกษตรกรมีความชำนาญในการปลูกแล้ว ถ้าปลูกแบบวิธีเก็บดอกรุ่นเดียว จะทำให้ได้จำนวนดอก ประมาณ 7,000-10,000 ดอก/100 ตร.ม. โดยในฤดูหนาวการผลิตกลางแจ้งหรือในโรงเรือน จะได้ผลผลิต คุณภาพและปริมาณ พอๆ กับการปลูกในเรือนโรง
เกรด
การปลูกกลางแจ้งได้เกรด A ประมาณ 5-10% การปลูกในโรงเรือนได้เกรด A ไม่ต่ำกว่า 20-25%
ราคาขายของเกษตรกร
ราคาเฉลี่ยดอกละ 2.5-3.0 บาท สำหรับดอกเกรด A ราคาประมาณดอกละ 3.5-4.5 บาท ดอกที่ปลูกกลางแจ้งมักได้ราคาต่ำกว่าโดยเฉลี่ยเนื่องจากคุณภาพด้อยกว่า
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างต้นทุนการปลูกในโรงเรือนและการปลูกกลางแจ้ง คือค่ายาเคมี กับค่าติดตั้งโรงเรือน การปลูกในโรงเรือนไม่ต้องการใช้สารเคมีมากนัก เพราะโรงเรือนสามารถป้องกัน ควบคุมโรคและแมลง ส่วนการปลูกกลางแจ้ง ต้องใช้ยากำจัดเชื้อราและยาฆ่าแมลง ในปริมาณสูงกว่ามาก แต่ไม่ต้องมีค่าเสื่อมราคาโรงเรือน ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นค่ากิ่งชำ (ต้นละ 1 บาทป
ผลตอบแทน
การปลูกในโรงเรือนให้ผลตอบแทนสูง และอาจสูงกว่าตัวเลขตามอัตราข้างบน ถ้าผลิตดอกได้มากกว่าอัตราเฉลี่ย
ผลตอบแทนแรงงาน
ต้องการใช้แรงงานสูง(27-30 วันทำงาน)
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เกษตรกรมักไม่ทำตามคำแนะนำการใส่ปุ๋ย ทำให้ดอกไม่ได้คุณภาพตามเกรด ควรดูแลให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเต็มตามปริมาณที่พืชต้องการ และควรติดตามแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในเรื่อง (1) พันเทปกลีบรองดอกที่แตก ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก (2) การฉีดพ่นสีเคมี (3) การบรรจุห่อดอกอย่างระมัดระวัง
การตลาด
มีตลาดรองรับกว้างขวาง ถ้าเกษตรกรสามารถผลิตดอกคุณภาพดี ออกได้สม่ำเสมอ ควรตัดดอก ในระยะที่กลีบดอกชั้นนอกเริ่มคลี่ออก จะได้ราคาดีกว่า (เพราะใช้สารเคมีช่วยทำให้ดอกบานทีหลังได้) การสูญเสียเมื่อไปถึง ตลาดกรุงเทพฯ ประมาณ 30% ในฤดูฝน เพราะคุณภาพดอกไม่ค่อยดีและประมาณ 10-15% ในฤดูร้อน ราคาตลาดค่อนข้างสม่ำเสมอ ประมาณ 3-6 บาท/ดอกชนิดดอกเดี่ยวและ 4-9 บาทต่อดอกสำหรับชนิดช่อ
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
หนอนเจาะดอก ได้แก่หนอนผีเสื้อ Heliothis armigera พบในฤดูร้อนระยะติดดอก จะพบหนอนอยู่ระหว่างกลีบดอกหรือในดอกตูม ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น อโกรน่า (กำจัดศัตรูพืชด้วยชีวินทรีย์) สลับกับ คาราเต (Karate) (สารสังเคราะห์กำจัดศัตรูพืช) ตั้งแต่ระยะติดดอกเป็นต้นไปสัปดาห์ละครั้ง หรือลดปัญหาได้โดยใช้วิธีใช้ตาข่ายคลุม ป้องกันตัวเต็มวัยเข้าไปวางไข่ในดอก
เพลี้ยไฟ พบในฤดูร้อน ระยะติดดอก ทำให้กลีบดอกลาย สังเกตจากกลีบดอกจะม้วน มีรอยด่าง ป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ออร์ธีน สลับกับมาลาเฟซ ฉีดพ่นตอนเย็น ในช่วงออกดอกสัปดาห์ละครั้ง
โรค
โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Rhizotonia sp. พบได้ตลอดปี ใบล่างจะเหลือง และต้นเหี่ยวตายไปในที่สุด ป้องกันได้โดยใช้ เทอร์ราคลอร์ หรือ บราสซิคอบ เมื่อพบอาการ หรือในบริเวณที่เคยมีดรคนี้มาก่อน
โรคต้นเน่า (Stem Rot) เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. พบได้ตลอดปี โดยลำต้นบริเวณโคนจะเริ่มเน่าและกลายเป็นรอยคล้ำหรือสีน้ำตาลดำ ใช้ เเลนเนทสลับกับแคปเทน เมื่อต้องการป้องกันแก้ไข
โรคไหม้ เกิดที่ปลายใบ ป้องกันรักษาโดยพ่นยา เบนเลท และแคปเทน บริเวณโคนต้น 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 วัน
โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย Moloidogyne sp. พบได้ทุกระยะตลอดปี สังเกตจากต้นเหี่ยวและชงักการเจริญเติบโต ใบและกลีบรองดอกจะกลายเป็นสีน้ำตาลและแห้ง บริเวณรากจะปรากฏเส้นใยขึ้นและมีเม็ดปม ป้องกันแก้ไขโดยรองพื้นหลุมปลูกด้วย ฟูราดาน และฉีดพ่น ไวเดท-แอล (Vydate-L) เมื่อพืชเริ่มมีอาการ
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน ชนิดดอกเดี่ยว (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการเตรียมแม่พันธุ์
ทำหน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์และตรงตามสายพันธุ์มาปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ป้องกันโรคและแมลง บำรุงรักษาโดยให้ปุ๋ยและยาอย่างสม่ำเสมอ ใช้มีดตัดหน่อและกิ่งยอดจากท่อนพันธุ์ ให้ยาว 7-10 ซม. เพื่อนำไปปักชำ เตรียมวัสดุปักชำ ใช้ขี้เถ้าเป็นส่วนใหญ่ผสมแกลบ ใยมะพร้าว ปุ๋ยหมักและทราย ใส่กะบะเพาะ ทำในโรงเรือนซึ่งบังแสงให้เหลือ 40% รดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง ควรใช้วิธีพ่นฝอย เป็นเวลา 3 สัปดาห์ กระทั่งรากกิ่งชำงอกยาว 2-4 ซม.
วิธีย้ายปลูกกิ่งชำทำได้ 2 วิธี (1) ปลูกในแปลงปลูกดอกโดยตรง (2) นำกิ่งชำที่ติดรากแล้วใส่กระถางหรือถุงพลาสติค เลี้ยงต่อไปในโรงเรือนที่พรางแสงเหลือ 80% เป็นเวล 2 สัปดาห์ จึงย้ายลงแปลงปลูก วิธีหลังจะช่วยให้ต้นที่ย้ายปลูกแข็งแรงและตั้งตัวดีกว่าวิธีแรก และมักทำกันในฤดูฝน ฉีดพ่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือ คูปราวิท ป้องกันโรคใบจุดและฉีดพ่นอาโซดริน ป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและตัวหนอน
ข้อควรระวัง
1. ต้องระวังให้มากในการป้องกันการเกิดโรคแก่ต้นแม่พันธุ์ โดยปลูกในโรงเรือนที่สะอาด ทำการฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานทุกชิ้น ป้องกันฝนและแมลงให้ดี
2. แปลงเพาะชำต้องมีการระบายน้ำดี ป้องกันต้นเน่าและถ้าปลูกลึกไปต้นก็อาจเน่าได้ ไม่ควรปลูกลึกกว่าระดับใบคู่ล่างสุด
ช่วงการปลูก
ใส่ปูนขาว แล้วทำการขุดเตรียมดิน ตากดินทิ้งไว้ 30 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ให้มีช่องทางเดินกว้าง 60-80 ซม. ผสมปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก (สลายตัวดีแล้ว) คลุกลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ทำหลุมปลูก และรองพื้นด้วย ฟูราดาน ป้องกันการเกิดโรครากปม ย้ายต้นมาปลูกระยะห่างระหว่างต้น 20 ซม. และระหว่างแถว 20 ซม.เช่นกัน ไม่ควรปลูกให้ลึกกว่าระดับใบคู่ล่างสุด
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้จำนวนต้นเกิน 32 ต้น/ตร.ม. เพราะถ้าปลูกถี่ไป คุณภาพดอกจะลดลง ควรอยู่ระหว่าง 16-24 ต้น/ตร.ม.
2. ทำการอบดินฆ่าเชื้อด้วย Basamid G. ถ้าเป็นพื้นที่เก่าหรือเคยปลูกไม้ดอกอื่นๆ ก่อนหน้านี้
ช่วงการดูแลรักษา
ในฤดูร้อน หลังการย้ายปลูกแล้ว คลุมดินรักษาความชื้นด้วยฟางข้าวหรือแกลบ หลังย้ายปลูก 25-30 วัน เริ่มเด็ดยอดเพื่อให้กิ่งใบแตกออกข้าง โดยให้เหลือคู่ใบ 4-5 คู่ใบ และต้นสูง 10-15 ซม. หลังจากนั้นทำค้างพยุงต้นให้ตรง (เหมือนกับการปลูกเบญจมาศ) โดยใช้ลวดหรือเชือกขึงตามยาวและตามขวางระหว่างต้น ดดยผูกติดกับไม้ค้ำ โดยขึงชั้นแรกสูงจากพื้น 15 ซม. และชั้นที่ 2 สูง 35 ซม. และอาจต้องทำถึง 3 ชั้น ถ้าต้นสูงสำหรับชนิดดอกเดี่ยว ทำการปลิดดอกตูมข้างต้นออก เพื่อให้ดอกที่ยอดเจริญได้เต็มที่ สำหรับชนิดสเปรย์ ให้เด็ดดอกยอดทิ้ง เพื่อให้ดอกที่ยอดเจริญได้เต็มที่ สำหรับชนิดสเปรย์ ให้เด็ดดอกยอดทิ้ง เพื่อให้ดอกข้างได้บานพร้อมกัน ถ้าทำการเด็ดออกช้า จะทำให้คุณภาพดอกลดลง หลังการตัดดอกทุกครั้ง ให้เด็ดหน่อที่แตกจากด้านล่างของลำต้นทิ้ง เหลือหน่อที่แข็งแรง 1 หรือ 2 หน่อให้โตเป็นกิ่ง ให้ดอกทดแทนต่อไป
หลังปลูก 10 วัน ใช้ปุ๋ย 27-0-0 ละลายน้ำรด (15 กรัม/น้ำ 10 ลิตร/พื้นที่ 1 ตร.ม. และใส่ซ้ำทุก 2 สัปดาห์ รวม 3 ครั้ง ในอัตราเกียวกัน เมื่อได้ 60 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 โดยทำร่องระหว่างต้น โรยปุ๋ย กลบดิน แล้วรดน้ำ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ย 12-24-12 สลับกับ 15-15-15 เดือนละครั้งตลอดระยะการเจริญเติบโต ฉีดพ่นยาเคมีสม่ำเสมอ แล้วแต่กรณีของโรคและแมลง ควรใช้ตัวยาสลับกันเพื่อป้องกันการดื้อยา และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รดน้ำสม่ำเสมอ (วันละ 2 ครั้ง) เมื่อย้ายปลูก หลังจากนั้นให้น้ำวันละครั้ง
ข้อควรระวัง
1. ในฤดูฝน ควรทำหลังคาและตาข่ายกันฝนและแมลง
2. ในฤดูร้อน หนอนเจาะดอกจะเป็นปัญหามาก ทำลายไข่หรือตัวหนอนเมื่อพบ หรือฉีดพ่นยา คาราเต
3. รักษาแปลงให้สะอาด ปราศจากวัชพืช เพื่อลดปัญหาเพลี้ยไฟ
4. ต้นที่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดี จะให้ดอกตัดได้อีก 4-5 ครั้ง ก่อนที่ต้นจะตาย (หลังจาก 8-9 เดือน)
ช่วงการเก็บเกี่ยว
ตัดดอกที่เริ่มบานได้ 50% ใช้มีดหรือกรรไกรที่สะอาดและคมระหว่างข้อ เหลือใบคู่ 1-4 ใบคู่กับลำต้นเดิม ก้านดอกควรยาวไม่ต่ำกว่า 30 ซม.  ทำการตัดดอกในตอนเช้า คัดเกรด บรรจุ เพื่อขนส่งในตอนบ่ายหรือเย็น หรือทำการตัดดอกในตอนเย็น และแช่ในน้ำเจือน้ำยา (ใช้ ซูโครส 4% ผสมซิลเวอร์ ไนเตรท 0.003% เพื่อให้ดอกบานทน) แล้วบรรจุหีบห่อในเช้าวันต่อมา ดอกเก็บในที่เย็นชื้น เข้ากำในสภาพแห้ง (ไม่ต้องหุ้มสำลีเปียกที่ปลายก้าน) กำละ 10-12 ก้าน ห่อด้วยกระดาษวางเรียงนอนในกล่อง เมื่อขนส่งถึงปลายทาง ทำการแกะห่อ ตัดก้านดอกทิ้ง 1-2 ซม. และนำลงแช่น้ำผสมยาซูโครสและซิลเวอร์ไนเตรททันที
ข้อควรระวัง
ทำการคัดขนาดก่อนทำการบรรจุหีบห่อ เลือกช่อดอกที่มีใบเสียหรือกลีบดอกเสียบางส่วนนั้นทิ้งไป เพราะถ้าบรรจุดอกที่ติดเชื้อนี้รวมกัน จะทำให้เกิด ก๊าซ Ethyene  มีผลทำให้ดอกปกติ ไม่ยอมบานหรือดอกที่บานแล้ว จะหุบไม่ยอมบานอีกต่อไป นอกจากนั้นกล่องบรรจุดอกต้องเก็บไว้ในที่มีอากาศเย็นเสมอ (4°C ได้จะดี)
ข้อมูลอื่นๆ
หลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในพื้นที่เดิม จะทำให้ต้นอ่อนแอและได้ดอกคุณภาพต่ำ
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่