คำฝอยมีสรรพคุณดังนี้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius Linn.
ชื่ออื่นๆ คำ (ทั่วไป) ดอกคำ คำฝอย (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ชื่ออังกฤษ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle, Dyer’s Saffron, American Saffron.
ลักษณะ ไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี ออกดอกออกผลแล้วต้นจะโทรม ลำต้นสูงประมาณ 60-140 ซ.ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ หรือมีแต่สั้นมาก รูปใบขอบขนาน ริมใบเป็นหนามแข็ง ใบออกสลับกัน ใบกว้าง 2.5-4 ซ.ม. ยาว 4-10 ซ.ม. ดอกเป็นช่อแบบ head กลีบดอกสีเหลือง เมื่อบานหลายวันจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ดอกสวยมาก ใบประดับยาวและใหญ่ ขอบและปลาย ใบประดับเป็นหนามแข็งคม ผลเป็นผลแห้งไม่แตก เมล็ดมีสีขาวถึงสีงาช้าง รูปไข่กลับแต่เบี้ยว มี 4 สัน
ส่วนที่ใช้ ดอกย่อย เมล็ด
สารสำคัญ ดอกมีสารที่มีสีแดง เช่น carthamin หรือ carthamic acid อยู่ 0.3-0.6% มีสารสีเหลืองชื่อ safflower – yellow อยู่ 24-30% มี ß – sistoslerol, fatty acids, น้ำตาล ฯลฯ
เมล็ด มีโปรตีน นํ้าตาล กรดไขมัน มี linoleic acid 79%, ß – sistosterol, ß – carotene, วิตามินอี amino acids และอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา ดอกใช้ทำยาชง ให้คนที่เป็นหัดดื่ม ช่วยขับเหงื่อ และระบายอ่อนๆ ยาไทยใช้ เข้าในยาบำรุงโลหิต
เมล็ด ยาไทยใช้เป็นยาถ่ายและขับเสมหะ
เมล็ดบีบให้นํ้ามันที่ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด เนื่องจากมีสาร linoleic acid เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว และยังเชื่อกันว่านํ้ามันดอกคำฝอยนี้ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้และช่วยป้องกันบำบัดอาการของโรคหลอดโลหิตแข็งตัว (atherosclerosis) ได้ด้วย
อื่นๆ นํ้ามันจากเมล็ด ใช้ในการเตรียมเครื่องสำอาง เช่น โลชั่น หรือครีม เป็นนํ้ามันที่มีคุณภาพดีมาก กากเมล็ดที่บีบนํ้ามันแล้วใช้เลี้ยงสัตว์
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ