ชา

ชาถูกค้นพบมาเชื่อว่ากว่า ๕,๐๐๐ ปี โดยจักรพรรดิ์จีนพระองค์หนึ่งซึ่งมีนามว่า เชนนูน พระองค์นี้มีพระปรีชาที่จะชักชวนชาวจีนให้ต้มน้ำดื่ม แต่จะต้มน้ำเปล่าๆ ก็ไม่น่าดื่ม จึงได้ทดลองเอาใบไม้ใส่เข้าไปด้วยก็พบว่าใบชาให้กลิ่นหอมชวนดื่มมาก ในระยะแรกๆ เชื่อว่าชาเป็นยามากกว่าเป็นเครื่องดื่ม ชาในระยะนั้นคงถูกจัดเข้าในลักษณะสมุนไพรเช่นกัน และเชื่อว่าชาเข้าสู่ประเทศไทยสมัยสุโขทัยซึ่งมีการนำสังคโลก กษัตริย์ไทยได้นำชาวจีนมาปั้นถ้วยชาม จึงเชื่อว่านำชามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยเมื่อแปดถึงเก้าร้อยปีมาแล้ว และชาเผยแพร่เข้าในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษเมื่อประมาณ ๒๕๐ ปีมานี้เอง

ต้นชา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แคมมิลเลีย ไซเนนซิส(camelia sinensis). (Linn.) O. Kuntze หรือ Thea sinensis, Linn.) อยู่ในตระกูล เธียซี่ ( Theaceae ) มีแหล่งกำเนิดแถบจีนใต้ อัสสัม อินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และอินโดจีน เป็นพืชในเขตอบอุ่น ไม่ใช่พืชเมืองหนาวดังที่เราเข้าใจเป็นส่วนมาก ต้องการน้ำมากและดินเป็นกรด เหตุที่ชาขึ้นดีในที่สูงเพราะในที่สูงความชื้นในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำทำให้ชาได้น้ำจากน้ำค้างเหล่านี้ ชา สามารถปลูกได้ทั้งบนภูเขาและในนาในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต้นชาเป็นไม้เนื้อแข็งกว่าจะเก็บผลได้ต้องกินเวลา ๔-๕ ปีขึ้นไป ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวยหรือเอาใจใส่ไม่เพียงพอ อาจต้องกินเวลา ๖- ๗ ปี แต่ต้นชาเป็นไม้ที่มีอายุยืนถ้าปลูกขึ้นแล้วสามารถให้ผลิตผลถึง ๕๐-๖๐ ปี โรคชาอาจมีบ้างแต่ไม่มากมายจนเกินไป ข้อสำคัญในการที่จะให้ต้นชาให้ผลผลิตที่ดีคือให้ใบชาที่มีคุณภาพดี ต้องรู้จักตัดแต่งต้นชาให้ถูกลักษณะวิธีซึ่งผิดกับการทำเมี่ยง การทำชาต้องตัดตอนให้ต้นเตี้ยเพื่อให้ต้นชาแตกยอดและเก็บง่าย ส่วนต้นเมี่ยงปล่อยให้ต้นสูง ขนาดต้องปีนป่ายขึ้นเก็บใบ

จากกรรมวิธีการทำชา ได้ใบชาออกมา ๒ ชนิด คือ

-ชาฝรั่ง

-ชาจีน

ชาจีน เรียกว่า Green tea โดยใบชาที่เก็บจากต้นแล้วจะต้องทำให้แห้งโดยเร็ว คือนำมาคั่วที่ความร้อนไม่สูงเพื่อทำลายน้ำย่อยในใบชาไม่ให้เกิดการบูดได้ ชามีหลายเกรด ถ้าชาชั้นดีใช้ใบยอดคู่เดียวคั่วแล้วขยี้ดวยฝ่ามือ ถ้าเป็นชนิดรองอาจใช้คั่วหรืออบโดยเครื่องจักรกล ชาที่มีคุณภาพดีนํ้าชาที่ชงแล้วจะมีสีเหลืองปนเขียว ชาจีนมี ๒ ชนิด คือ ชากลิ่น และชาคอ ชากลิ่นเวลาดื่มจะมีกลิ่นหอมชวนดื่มมากกว่าชาคอ ส่วนชาคอเวลาดื่มจะทำให้รู้สึกชุ่มคอ ปัจจุบันผู้ผลิตพยายามดัดแปลงโดยการเพิ่มกลิ่นใบชาโดยอบ ด้วยดอกมะลิ หรือดอกประยงค์

ชาฝรั่ง เรียกว่า Black tea มีวิธีเตรียมแตกต่างไปจากชาจีนโดยที่ใบสดที่เก็บมาได้กองสุมไว้เพื่อทำให้บูดช่วยขยี้ให้เซลแตก เพื่อจะได้เกิดการบูดเร็วขึ้นหลังจากนั้นจึงนำไปทำให้แห้ง โดยใช้ความร้อน

คนทางภาคเหนือนิยมเคี้ยวและอมใบเมี่ยงแทนหมากช่วยดับกลิ่นปากป้องกันเชื้อโรค ใบชาอ่อนๆ นำมายำคล้ายยำยอดมะขามอร่อยดี

ดอกชามีสีขาวและกลิ่นหอมคล้ายดอกสารภี ใช้เป็นไม้ประดับในเขตที่มีอากาศอบอุ่นได้ ภายในผลมี ๑- ๓ เมล็ดกลมและขนาดใหญ่ น้ำมันที่ได้จากเมล็ดชาใช้ทำเนยเทียม (margarine ) กากเมล็ดชาใช้ชะล้างสิ่งสกปรกได้ หญิงชาวจีนใช้สระผมเนื่องจากภายในกากมีสารซาโปนิน ( saponin ) มีคุณสมบัติชะล้างสิ่งสกปรกและน้ำมันที่ยังคงเหลืออยู่บ้างช่วยทำ ให้ผมชุ่มชื่นเป็นมันอีกด้วย

ในสมัยก่อน เรามีความเชื่อว่า ชาที่ใช้ชงดื่มเป็นยามากกว่า เป็นเครื่องดื่มอย่างในปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ มีการโฆษณาและจัดพิมพ์ถึงคุณสมบัติของชาไว้ดังนี้ คือ

ชาเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมแก่สุขภาพ สามารถบำรุงรักษาผู้ดื่มให้แข็งแรง โดยมีข้อดีดังนี้

๑. ทำให้ร่างกายขยันขันแข็งและสุขสบาย

๒. ทำให้หายปวดศีรษะ มึนงง และปราศจากความเศร้า

๓. ทำให้ม้ามทำงานได้ดี

๔.    ละลายหินหรือก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

๕.    ทำให้หายใจคล่อง

๖.    ทำให้สายตาดีขึ้น

๗.    ลดความเมื่อยล้าและทำให้กระปรี้กระเปร่า

๘.    ช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะผู้ชอบรับประทานเนื้อสัตว์

มาก ๆ

๙.    ทำให้ไม่ฝัน ความจำดีขึ้น และช่วยพักผ่อนสมอง

๑๐.  ช่วยทำให้ไม่ง่วงนอน

๑๑.  ช่วยรักษาและป้องกันโรคม้ามโต ช่วยทำให้อาเจียน

และเหงื่อออก

๑๒.  ช่วยการขับถ่ายไม่ให้ปวดมวน

๑๓.  ช่วยขับถ่ายพิษและเชื้ออักเสบโดยขับออกทางปัสสาวะ

๑๔.  ช่วยน้ำดี

นั่นเป็นความเชื่อซึ่งมีผู้สนับสนุนไม่น้อย เช่น หมอช้วต และได้จัดพิมพ์เป็นข้อความไว้ ต่อมาอีก ๖ ปี ได้มีผู้ไม่เห็นด้วย แต่ขณะนั้นการค้าชาแพร่เข้าไปในอังกฤษมากแล้ว ฝ่ายค้านจึงไม่ได้ผล

เกี่ยวกับผลของการดื่มชาในแง่ของยาได้มีการประกาศเป็นครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ โดยหมอ John Ceakley Lettson ซึ่งเป็นผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญในวงการแพทย์ขณะนั้น โดสังเกตผลของการดื่มน้ำชาจากคนไข้ของเขา และในที่สุดหมอ Lettson ก็สรุปผลว่า โดยเหตุที่การดื่มชาได้ขยายตัวเป็นระดับนานาชาติ ผู้ดื่มชาเองก็สามารถตัดสินผลจากการดื่มได้โดยตรงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ดื่มเอง หมอเลทท์ซันสรุปว่า ถ้าผู้ดื่มไม่ดื่มชาที่ร้อนจัดเกินไป และไม่ดื่มจนมากไปแล้ว ชาย่อมดีกว่าน้ำดื่มผักผลไม้อื่นๆ เพราะรสและกลิ่นชวนดื่มมากกว่ากัน

ในปัจจุบันเราทราบว่าในน้ำชามีคาเฟอีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า และกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกัน แต่ในจำนวนเท่ากันกาแฟมีคาเฟอีนมากกว่าใบชา ๓ เท่า เป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนดื่มกาแฟไม่ได้แต่ดื่มชาได้

นอกจากนี้มีแทนนิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ให้รสฝาด เครื่องดื่มหลายชนิดมีแทนนิน เช่นในโกโก้ ๑ ถ้วย มีแทนนินมากกว่าชา ๑ ถ้วย อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์อเมริกันหลายท่านได้ทำการค้นคว้าและประชุมที่นิวยอร์คในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พบว่าเมื่อคาเฟอีนของชามารวมกันในน้ำชาให้ผลที่ประหลาดคือ ให้ผลดีกว่าที่สารทั้งสองต่างคนต่างอยู่โดยลดการกดประสาท และสรุปได้ว่าชาเป็นเครื่องดื่มที่ลดความเมื่อยล้าที่ยังไม่พบในเครื่องดื่มอื่นๆ และเชื่อว่าการดื่มนํ้าชาขณะรับประทานอาหารจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี

แต่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ลบล้างความเชื่อถือของคนโบราณสมัยหลายพันปีมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ชาถึงแม้ไม่ใช่ยาแต่ก็เป็นเครื่องดื่มที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นเครื่องดื่มที่สามรถช่วยคุณได้ทางด้านจิตใจ ดังสุภาษิตที่มีผู้กล่าวไว้ว่า

“ เมื่อเวลาที่ท่านหนาว      น้ำชาจะช่วยให้อบอุ่นขึ้น

เมื่อเวลาที่ท่านร้อน  นํ้าชาจะช่วยให้ท่านเย็นลง

เมื่อเวลาที่ท่านอ่อนเพลีย นํ้าชาจะช่วยให้ท่านสดชื่นขึ้น

เมื่อเวลาที่ท่านตื่นเต้น      น้ำชาจะช่วยให้ท่านสงบเยือกเย็น”

จากความเชื่อต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถอธิบายตามหลักวิชาการก็พอสรุปได้ว่าชามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นทำให้หายเหนื่อยและไม่ง่วงนอน ช่วยฝาดสมานแก้ท้องร่วงไม่เป็นโรคกระเพาะง่าย ภายในกากชาที่เหลือจากการชงน้ำดื่มแล้วยังช่วยพอกแผลไฟไหม้นํ้าร้อนลวก เนื่องจากยังมีของฝาดไปตกตะกอนโปรตีนของเนื้อเยื่อที่เป็นแผลให้หายเร็วไม่ติดเชื้อด้วย แต่ของอะไรที่มีคุณ ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดโทษได้ดังเช่น ประมาณบ ๒๕๒๐ ได้มีรายงานออกมาว่า สารพวกแทนนินและคาเฟอีนในปริมาณมากๆ เป็นสารที่ช่วยเสริมทำให้เกิดมะเร็งในไต เนื่องจากพบในคนที่ดื่มกาแฟตั้งแต่ ๗ ถ้วยขึ้นไปต่อวัน เป็น ประจำนานๆ เป็นมะเร็งที่ไต ซึ่งใบชาก็มีสารพวกคาเฟอีนและแทนนินเช่นเดียวกัน

ชามีคุณค่าทางอาหารน้อยมาก น้ำชา ๑ ถ้วย มีโปรตีนเพียง ๑/๑๐๐ ของโปรตีนที่ร่างกายเราควรได้รับต่อวัน

ส่วนในแง่ของพลังงาน ชา ๑ ถ้วย ได้พลังงานเพียงหนึ่งในเจ็ดร้อย (๑/๗๐๐) ของพลังงานที่ร่างกายเราต้องการ กาแฟ ๑ ถ้วย ได้พลังงานมากกว่าชาคือ ได้หนึ่งในสองร้อยเจ็ดสิบ ( ๑/๒๗๐ ) ของพลังงานที่ร่างกายเราต้องการ ส่วนใหญ่การดื่มน้ำชาหรือกาแฟจะได้พลังงานจากนํ้าตาลและนมมากกว่า นอกจากนี้ชายังมีวิตามินบีและซี โดยที่เราดื่มชา ประมาณ ๓ ถ้วยต่อวัน ก็สามารถได้วิตามินบีและซีประมาณ ๕% ของที่เราควรได้จากอาหารอื่น แต่ล้ารับประทานมากเกินไปอาจมีผลร้าย ฉะนั้นท่านควรรับประทานแต่พอประมาณ เพราะวิตามินเราได้จากอาหารอื่นโดยตรงแล้ว

ส่วนประกอบในใบชา ในใบชาสดที่เด็ด ๑ ยอด กับอีก ๒- ๓ ใบ มีน้ำประมาณ ๗๗% และสารอื่นๆ ๓๓% ประกอบด้วยสารที่ละลายน้ำและไม่ละลายนํ้าเท่าๆ กัน ซึ่งแยกออกให้เห็นง่ายๆ ดังนี้ คือ

ส่วนประกอบในใบชาสดและแห้ง

สารที่ไม่ละลานน้ำ ชาสด% ชาแห้ง%
เซลลูโลสและไฟเบอร์(กากชา) ๓๔ ๓๔
โปรตีน ๑๗ ๑๖
สีต่างๆ ภายในใบชา ๑.๕
แป้ง ๐.๕ ๐.๒๕
  ๕๓% ๕๑.๒๕%

สารที่ละลายน้ำ ชาสด% ชาแห้ง%
แทนนิน ๒๒ ๑๓
แทนนินที่ออกซิไดส์
คาเฟอีน
กรดอะมีโน
สารเมือกและน้ำตาล
เกลือแร่
เถ้า ๕.๕ ๕.๕
น้ำมันที่จำเป็น มี
  ๔๖.๕% ๔๔%

แทนนินที่กล่าวนี้เป็นสารที่มีรสฝาดพบตามเปลือกไม้หลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติใช้แก้ท้องเสียได้ อย่างไรก็ตามมีความเข้าใจผิดกันในผู้ดื่มชาที่มักเข้าใจว่าการดื่มชาที่มีแทนนิน หรือ Aciolum tannicum สารตัวนี้จากชาได้มีการทดลองที่สถานีโตไกล ซึ่งเป็นสถาบันค้นคว้าเกี่ยวกับชาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้สกัดแทนนินจากชาแล้วให้คนบริโภคในปริมาณ ๔๕ เกรน ต่อวัน เป็นเวลา ๓ วัน ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้ผู้บริโภคเหล่านั้นท้องผูกหรือไม่ย่อยอาหาร

แทนนิน ๔๕ เกรน = ชาแก่ ๑๘ ถ้วย

การดื่มชาเราก็ได้คุณค่าทางอาหารจากชาที่เราดื่มบ้างเหมือนกัน ดังตารางที่ท่านเห็นข้างต้นแล้ว และยังให้คุณค่าทางยาคือแก้ท้องเสียได้ แต่ไม่ทำให้ท้องผูก และยังช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย

การดื่มชาในบ้านเราที่อยากจะแนะนำให้ระมัดระวังคือชาใส่สี หลายๆ ท่านที่ท่านเคยชงชาเย็นหรือชาดำเย็น จะเห็นว่าชานั้นมีสีแดงหรือแสดอย่างน่ากลัว ชาชนิดนี้คือกากชา หรือชาที่มีคุณภาพต่ำ พ่อค้านำไปผสมสีและปรุงแต่งนํ้าหอม อันตรายอยู่ที่ท่านจะต้องบริโภคสีที่ใส่ในชานี้ ถ้าเป็นสีที่บริโภคได้ท่านก็โชคดี แต่ถ้าเป็นสีย้อมผ้าหรือสีที่ไม่ควรบริโภคซึ่งมีราคาถูกกว่า ท่านอาจได้รับอันตรายได้ โดยเฉพาะชาเป็นเครื่องดื่มที่มักดื่มกันทุกวัน สีอาจสะสมในตัวท่านเป็นจำนวนมากได้ จึงใคร่ขอเตือนพี่น้องทั้งหลายให้ระวังการดื่มชาที่ใช้สีดังกล่าว ชาที่ดีจะมีสีในตัวเองไม่จำเป็นต้องเพิ่มสี วิธีสังเกตชาที่ใส่สีคือนำชามาชงในน้ำเย็น ถ้ามีสีละลายน้ำออกมาแสดงว่าเป็นชาใส่สี ชาดีต้องเป็นชาละลายในน้ำร้อน สีย้อมผ้าที่ผสมในอาหารต่างๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นมะเร็งที่ตับได้

เนื่องจากเท่าที่ทราบมาว่า เป็นที่น่าเสียดายที่ในขณะนี้พี่น้องชาวไทยได้บริโภคชาไทยเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ก็ไม่ทราบว่าน้ำชาที่ท่านกำลังดื่มเป็นชาไทย ทั้งนี้เพราะพ่อค้าที่ซื้อชาไทยไปประทับตราหีบห่อเป็นชาต่างประเทศทั้งๆ ที่เนื้อชาก็เป็นชาไทยทั้งสิ้นหรืออาจผสมชาต่างประเทศบ้าง เพราะผลผลิตของชาเข้าตลาดในขณะนี้มีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ เราสามารถผลิตใบชาได้จากปีละสองถึงสามพันตัน มาเป็นปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตัน ท่านจะเห็นถึงการเพิ่มเป็นไปอย่าารวดเร็วเมื่อคำนึงถึงว่าชาเป็นผลิตผลทางการเกษตร สาเหตุที่พออนุมานถึงการตื่นตัวเกี่ยวกับใบชาไทย ได้ดังนี้

๑. ระยะหลังนี้ราคาชาต่างประเทศสูงขึ้นทุกที ทำให้ราคาชาไทยถูกกว่าชาต่างประเทศ และราคาของกาแฟแพงขึ้น ประชาชนจึงหันมาดื่มชาแทน

๒. คุณภาพใบชาไทยได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่ยอมรับของพวกพ่อค้าชา จึงได้ซื้อและใช้ชาไทยไปห่อหรือผสมมากขึ้น แต่ก็ยังประทับตราต่างประเทศอยู่นั่นเอง

๓. อีกสาเหตุที่ผลักดันให้ชาวสวนตื่นตัวหันมาทำชากันมากเพราะเมี่ยงราคาตก ผู้ทำเมี่ยงประสบการขาดทุน จึงหันมาทำชาเพื่อการอยู่รอด

สาเหตุสามข้อที่กล่าวเชื่อว่าเป็นเหตุให้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมใบชาไทย และเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เราสามารถผลิตชาพอ

สภาพภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยเหมาะสมที่จะปลูกชาให้ได้ผลดีทีเดียว เนื้อที่ยังทิ้งไว้ว่างเปล่าอีกมาก เราควรจะมาสร้างป่าชาเพื่อช่วยแก้ดุลย์การค้าให้กับประเทศทางหนึ่ง ส่วนภายในประเทศ ประชาชนก็คงไม่ต้องดื่มน้ำใส่สี เนื่องจากปริมาณชาที่ผลิตภายในประเทศมากพอไม่ขาดแคลน เราก็คงได้ชาคุณภาพดีดื่มไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ดื่ม และอาจเป็นพืชทดแทนกันได้เป็นอย่างดี

สรุปสรรพคุณ

ใบชา มีสารคาเฟอีนช่วยกระตุ้นให้หายเหนื่อยและไม่ง่วงนอน สสารฝาดแก้ท้องร่วงและป้องกันการเป็นโรคกระเพาะ มีสารอาหารบ้างเล็กน้อย เช่น โปรตีน แป้ง กรดอะมิโน น้ำตาล น้ำมัน สารเมือก และเกลือแร่

ใบชาอ่อน นำมายำคล้ายยำยอดมะขาม เป็นอาหารได้อีกชนิดหนึ่ง

ใบชาแก่ นำมาอมแทนหมากได้ ช่วยดับกลิ่นปากป้องกันเชื้อโรค

ดอกชา มีกลิ่นหอมคล้ายดอกสารภี ทำเป็นเครื่องหอมได้ เมล็ดชา ให้น้ำมันทำเนยเทียม และกากที่เหลือใช้ชะล้างสิ่งสกปรกจากผม และทำให้ผมชุ่มชื้น

ข้อควรระวัง ผู้ที่ดื่มชามากจนเกินไปอาจไปช่วยเสริมทำให้เกิดมะเร็งในไต