ประโยชน์ของพญาปล้องทอง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans Lindau.
ชื่ออื่น ๆ    เสลดพังพอน พญาปล้องดำ (กลาง) ผักมันไก่ ลิ้นมังกร ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องคำ (ลำปาง) พญายอ (ทั่วไป) โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) คงคาเย็น สารพัดพิษ เสลดพังพอนตัวเมีย (ชาวบ้านบางท้องถิ่น)
ลักษณะ ไม้พุ่มแกมเถา จะเลื้อยพาดไปกับต้นไม้อื่น ลำต้นเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว มีข้อเห็นชัด ใบ ออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ รูปใบยาวแคบ ปลายใบยาวแหลม ขนาด กว้าง 2-3 ซ.ม. ยาว 7-9 ซ.ม. ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มีใบประดับสีเขียว กลีบรองกลีบดอกสีเขียว กลีบดอกเป็นหลอดสีแดง ยาว 3-4 ซ.ม. ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนและปากล่าง ผล เป็นผลชนิดแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นและใบ
สารสำคัญ ß-sitosterol, betulin, lupeol.
ประโยชน์ ทางยา
– แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น มด ยุง ใช้ใบสดขยี้หรือตำทาบริเวณที่ถูกกัด
-ใช้รักษางูสวัด ไฟลามทุ่ง รับประทานถอนพิษไข้
-ในอินโดนีเซีย ใช้ทั้งต้นรักษาบิด
-เตรียมเป็นทิงเจอร์ ใช้รักษาเริม โดยใช้ใบสด 500 กรัม ตำให้ละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 500 มิลลิลิตร หมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ กรอง ทำให้เข้มข้นให้นํ้ายาเหลือเพียงครึ่งเดียว เติมกลีเซอรีนเท่าตัว ใช้ทาเริมได้ผลดี

ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ