ประโยชน์ของมะลิลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait.
ชื่ออื่นๆ ข้าวแตก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่) มะลิป้อม (เหนือ) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน) มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่) ปักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง (จีน)
ชื่ออังกฤษ Arabian Jasmine, Kampopot, Jasmine.
ลักษณะ ไม้พุ่มหรือตํ่ากว่าไม้พุ่มสูง 1 -1 1 เมตร ใบจัดตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ใบสีเขียวแก่ แผ่นใบค่อนข้างมนกลมรูปวงรี ก้านใบสั้นมาก ใบกว้าง 4-5 ซ.ม. ยาว 6-9 ซ.ม. ดอกช่อหรือเดี่ยว ถ้าเป็นช่อมี 3-4 ดอก ตรงกลางบานก่อน (cymose type) ดอกสีขาวกลิ่นหอมมาก ผล เป็นผลสด

ส่วนที่ใช้ ดอกแก่ ราก ใบ
สารสำคัญ ดอกมีน้ำมันหอมระเหย ชื่อ jasminol, linalool และมีพวก indole
ประโยชน์ทางยา ดอกหอมเย็น ทำให้จิตใจชุ่มชื้น ในเกสรทั้ง 5 ทั้ง 7 ทั้ง 9 มีมะลิเป็นตัวหนึ่งในเกสรนั้นๆ ใช้เตรียมเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ
รากฝนกินแก้ร้อนใน เสียดท้อง ขับประจำเดือนใช้ 1-1.5 กรัม ต้มกับนํ้า รากใช้มากเป็นพิษ ใบตำให้ละเอียดใช้ผสมกับนํ้ามันก้นกะลามะพร้าวที่ขูดใหม่ๆ นำไปลนไฟทารักษาแผลพุพอง
อื่นๆ ใช้ดอกแรกแย้มอบขนม นํ้าที่จะใช้คั้นกะทิ หรืออบนํ้าดื่ม ใช้ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์ เช่น ร้อยมาลัย ทำตุ้ม ทำบุหงา ฯลฯ
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ