ประโยชน์ของหญ้าปลาสลิด(จีน)


ชื่อ
จีนเรียก       จิกฮี๊วเช่า อังเกี๋ยเช่า เจอหยูเฉ่า อันจี่เฉ่า  Vernonia patula (Ait.) Merr.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามสวน ริมคู ข้างบ้าน ข้างถนน เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนปุยขึ้นทั่วไป เป็นพืชที่ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้ต้นไม่ใช่หญ้าธรรมดา สูงประมาณ 1-2 ฟุต ใบคู่ ท้องใบสีเขียวใบไม้ หลังใบสีเขียวอ่อน ใบรูปไข่แต่ปลายแหลม ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบขึ้นจากกิ่งเกือบไม่มีก้าน ขอบใบรูปคลื่นไม่เรียบบางใบก็มีหยักคล้ายฟันเลื่อย เอ็นหน้าใบเด่น ออกดอกฤดูร้อนถึงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ก้านดอกขึ้นจากฐานใบ ดอกรูปกระปุก ยาวประมาณ 3 หุน ออกลูกเล็กๆ มีปุยที่ปลาย

รส
รสเฝื่อนนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ดับพิษ ทำให้ลำไส้เย็น ขับลม ใช้ภายนอกแก้พิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับและปอด

รักษา
บิดลงขาว บิดลงแดง ผู้หญิงเจ็บนม ผิวหนังตุ่มพิษ กลากเกลื้อน พลัดตกหกล้ม เจ็บช้ำ

ตำราชาวบ้าน
1. บิดลงขาว ลงแดง – หญ้าปลาสลิด 2 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าผึ้งหรือใส่นํ้าตาลแดงรับประทาน หรือหญ้าปลาสลิด ต้มกับผักเบี้ยแดงหรือปอนก อย่างละครึ่งตำลึงและเฟินเงิน  1 ตำลึง ใส่นํ้าผึ้งรับประทาน หรือหญ้าปลาสลิด ต้มกับเปลือกหัวผักกาด ประมาณครึ่งถึง 1 ตำลึง
ใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน
2. ผู้หญิงเจ็บนม – หญ้าปลาสลิด 2 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้าต้มอุ่นใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน ส่วนกากใช้พอก
3. ผิวหนังตุ่มผื่นพิษ กลากเกลื้อน – หญ้าปลาสลิด ตำแหลกเอาน้ำทา
4. พลัดตกหกล้มเจ็บช้ำ – หญ้าปลาสลิด 1 ตำลึง ต้มชงเหล้ารับประทาน ส่วนกากใช้ตำแหลก พอก

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย ฉัตตะวานิช