ประโยชน์จากต้นนุ่น

(White Silk Cotton Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceiba pentandra (L.) Gaertn.
ชื่อวงศ์ BOMBACACEAE
ชื่ออื่น ง้าง งิ้วสอย
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มคล้ายเจดีย์ต่ำๆ โปร่ง กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ออกรอบๆ มีลักษณะเป็นชั้นคล้ายฉัตร เปลือกต้นอ่อนสีเขียว ต้นแก่สีเทาอมเขียว มีลายคล้ายรอยแตกตามแนวยาวสีเขียว


ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมสีแดง ยาว 8-20 ซม. มีใบย่อย 5-11 ใบ รูปใบหอกกลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 6 -1 5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นจักฟันเลื่อยห่างๆ 3-4 คู่ ที่ปลายใบอ่อน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียว
ดอก สีขาวหรือครีม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่รอยแผลของก้านใบ ใกล้ปลายกิ่ง กระจุกละ 2-5 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ปลายกลีบโค้ง พับไปข้างหลัง เกสรเพศผู้ 5-6 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-4 ซม. ออกดอกเดือน ม.ค.-มี.ค.


ผล ผลแห้งแตกตามรอยประสาน ทรงยาวรี กว้าง 5-6 ซม. ยาว 11-20 ซม. สีเขียวสด เมื่อสุกสีเขียวอมนํ้าตาล ภายในผลมี 5 ช่อง มีนุ่นสีขาวเป็นปุย มีเมล็ดทรงกลมสีดำจำนวนมาก ติดผลเดือน ก.พ.-พ.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงทั่วไป
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้อ่อน ทำเยื่อกระดาษ และบดทำไส้ในไม้อัดได้ ผลแก่มีขนยาวหุ้มเมล็ด เรียก “นุ่น” ใช้ยัดหมอนและที่นอน น้ำมันจากเมล็ด เป็นยาระบาย
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย