ปอนก(จีน)ประโยชน์ทางยา


ชื่อ
จีนเรียก    เจียวตะมั้ว  มั่วเกี้ยเช่า   Acalypha  australis Linn.

ลักษณะ
อยู่ในประเภทผักขม ชอบขึ้นตามริมทาง ริมคู ที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นขึ้นตรงแยกกิ่ง มีขนปุยขึ้นทั่วลำต้น สูงประมาณฟุตกว่าๆ ใบคู่ มีก้านใบยาว ใบรูปไข่ ฐานและปลายใบแหลม รูปเป็นรูปสามเหลี่ยมก็มีหน้าหลังของใบสาก ขอบใบรูปฟันเลื่อย เอ็นใบสามเส้นเด่นชัด เอ็นกลางใบชัดมีสีแดง ก้านและใบมีขนขึ้นทั่วไป ออกดอกจากฐานใบ ในฤดูร้อนถึงฤดูฝน ดอกเป็นรวงยาวประมาณ 7-8 หุน เกสรผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอก ออกลูกเป็นเม็ดเล็กๆ

รส
ขมนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ดับร้อน ดับพิษ ประสะเลือดให้เย็น และแก้ความร้อนในลำไส้ ฤทธิ์ เข้าถึงลำไส้ใหญ่และม้าม

รักษา
บิดลงขาว บิดลงแดงอุจจาระเป็นเลือด ลำไส้ร้อนลงท้อง เด็กลงท้อง

ตำราชาวบ้าน
1. บิดลงขาวบิดลงแดง – ปอนก 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง ชงนํ้าผึ้ง รับประทาน หรือปอนก ต้มกับหญ้าอ่อมเกี่ยวเหลืองและหญ้ารอยเท้าม้า อย่างละ 1 ตำลึง ใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน หรือปอนก
ต้มกับเฟินเงินและผักโหมลาย อย่างละ 1 ตำลึง
2. อุจจาระเป็นเลือด – ปอนก ต้มกับผักเบี้ยอย่างละ 1 ตำลึง รับประทาน
3. ลงท้องเพราะลำไส้ร้อนใน – ปอนก 2 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
4. ลงท้องเพราะลำไส้ร้อนใน – ปอนก ครึ่งตำลึง ต้มนํ้า รับประทาน

ปริมาณใช้
สดไม่เกินครึ่งถึง 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช