ผักชี:ปัจจัยสำคัญในการปลูก

ผักชีปลูกขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ทั้งดินที่เป็นดินเหนียว (แถวอ.ดำเนิน- สะดวก,อ.บ้านแพ้ว) ดินร่วนสีแดง (แถวอ.ปากช่อง) เป็นต้น ตามปกติผักชีจะปลูก ได้ตลอดปี แต่ในช่วงฤดูแล้งการปลูกผักชีจะประสบปัญหาได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ดังนั้น ในฤดูแล้งผักชีจีงมีราคาแพง บางครั้งถึงกิโลกรัมละ 100 บาทก็มี ในช่วงฤดูฝนผักชีมีราคาประมาณ 3-20 บาท ในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 กิโลกรัม แต่ในบางท้องที่และในบางฤดูหรือหากเมล็ดพันธุ์มีความงอกไม่ดีหรือมีปัญหาเรื่องโรคเน่าเละ อาจจะให้ได้ผลผลิตต่ำลงมาเหลือ 300-400 กก./ไร่ ก็ได้ ดังนั้นปัจจัยสำคัญในการปลูกผักชีให้ได้ผลผลิตสูงคือ ต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่แน่ใจว่ามีความงอกสูง และมีการปฏิบัติดูแลอย่างเอาใจใส่

พันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้กันเละมีความงอกดีก็มีพันธุ์สิงคโปร์ พันธุ์สิงคโปร์ เมล็ดดำหรือพันธุ์ใต้หวัน โดยหาซื้อได้จากตลาดน้ำ อ.ดำเนินสะดวก, ตลาด อ.ปากช่อง หรือที่แหล่งขายเมล็ดพันธุ์อื่น ๆ ในการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีชื่อมักจะทำให้ประสบกับปัญหาคุณภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่ดีทำให้ได้ผลผลิตต่ำ

การเตรียมดิน

แปลงสำหรับปลูกผักชีมีหลายแบบยกร่องแบบจีนคือมีคูน้ำล้อมรอบ, แบบยกร่องแยกร่องธรรมดา หรือปลูกในแปลงที่เป็นท้องนาโดยการไถพรวนแล้วปลูกเป็นแถว ขุดพลิกดินลึกประมาณ 20 เซ็นติเมตร ตากทิ้งไว้สัก 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชต่าง ๆ แล้วจึงพรวนย่อยดินให้แตกเป็นก้อนเล็ก ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดลงคลุกเคล้ากับดินให้เข้ากันและปรับหน้าดินให้เสมอ

วิธีปลูก

ผักชีปลูกโดยวิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายทั่ว ๆ กัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้คือ

1.  ก่อนอื่นนำเมล็ดพันธุ์มาบดให้แตกออกเป็นสองซีกเสียก่อน

2.  นำไปแช่นํ้าพอท่วมประมาณ 2-3 ชั่วโมง

3.  เอาขึ้นมาผึ่งลมให้แห้ง แล้วเคล้ากับทรายหรือขี้เถ้า

4.  เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำไปหว่านแปลงแล้วคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งเพื่อป้องกันต้นอ่อน และรักษาความชุ่มชื้นของผิวดิน รดน้ำให้ชุ่ม

อัตราในการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ก็ประมาณ 20 ลิตร หรืออาจจะใช้มากขึ้น หรือน้อยลงกว่านี้ขี้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน, ฤดูกาล และเปอร์เซ็นต์ความงอก ของเมล็ด หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีมากการใช้เมล็ดพันธุ์จะใช้น้อยลง เพราะว่า ผักสามารถเติบโตได้ดีรอดตายได้เยอะ

การให้นํ้า

รดนํ้าวันละ 2 เวลา เช้าเย็นให้ชุ่มอยู่เสมอ

การใส่ปุ๋ย

การให้ปุยกับผักชีมีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ

  1. ใส่ปุ๋ยคอกรองพื้นในตอนที่เตรียมดินก่อนปลูก เมื่อแตกใบแล้วจึงใช้ปุ๋ยหมัก ถ้าจะเร่งให้งามเร็ว ก็มีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 3-4 ช้อนแกง ต่อนํ้า 1 ปีบ ฉีดพ่นในแปลง
  2. ใส่ปุ๋ยสูตร 12-4-4 ในอัตรา 100 กก./ไร่ เมื่อต้นสูงประมาณ 5 เซ็นติเมตร (คำแนะนำของกรมส่งเสริมการเกษตร)
  3. หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 15 และ 30 วัน ครั้งละ 20 กก./ไร่ (อ.ดำเนินสะดวก)
  4. หรือใส่ปุ๋ยสูตร 27-0-0 หลังจากปลูก 15-20 วัน อัตรา 18 กก./ไร่ และหลังจากปลูก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 18 กก./ไร่ (อ.บ้านแพ้ว)
  5. หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 8-40 กก./ไร่ หลังจากปลูก แล้ว 14-25 วัน และใช้ปุ๋ยเกล็ดเซลล์ผสมไบโอติก้า ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน (อ.ปากช่อง)

วิธีการใส่ปุ๋ยมีการปฎิบัติกันหลายแบบในหลาย ๆ ท้องที่ แต่วิธีที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี คือการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก โดยสังเกตจากเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ย

ดังกล่าวสามารถผลิตผักชีได้ต่อไร่สูงถึง 1,300 -1,900 กิโลกรัม และข้อสำคัญคือ ผักชีเป็นพืชผักที่ใช้ประโยชน์จากรากด้วย ดังนั้นในการถอนขึ้นมาจากดินจะต้องได้รากที่สมบูรณ์จึงต้องการดินที่ร่วนพอสมควร ฉะนั้นเกษตรกรจึงควรใส่ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก ทุกครั้งที่ทำการปลูก หากได้ผักชีที่ต้นโตรากสวยงามก็จะทำให้น้ำหนักต่อไร่สูงขึ้นไปด้วย

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรคที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่การปลูกผักชีเป็นอย่างมากก็คือ โรคเน่าที่ใบและโคนต้นชึ่งป้องกันกำจัดได้โดยการฉีดพ่นยา แมนโซเซป (Mancoaeb-M 45) อีกโรค คือโรคใบไหม้ ทำให้นํ้าหนักของผลผลิตที่ได้ลดลงและทำให้เสียเวลาในการคัดเลือกใบเสียทิ้ง ในขณะถอนเพื่อนำไปขาย โรคนี้ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นยา มาเนปหรือยาแคปเทน

แมลงศัตรูที่พบ ก็ได้แก่ เพลี้ย

การเก็บเกี่ยว

ผักชีจะเริ่มทำการเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 45 วัน วิธีการเก็บเกี่ยว คือ ถอนทั้งต้นและรากให้ติดกันขึ้นมา ก่อนถอนจะต้องรดนํ้าให้ดินนิ่มเพื่อที่จะทำให้ เวลาถอนทำได้ง่าย รากไม่ขาด แล้วล้างดิน ตกแต่งโดยเด็ดใบเหลือง ใบเสียทิ้ง แล้ว มัด ๆ ละครึ่งกิโลกรัม ผึ่งลมแล้วจึงบรรจุเข่งเพื่อทำให้ผักชีไม่เกิดการเน่าเละขณะ ขนส่งอันเนื่องมาจากมีนํ้าแฉะเกินไป ผลผลิตผักชีที่ดีจะต้องมีใบเขียวสม่ำเสมอไม่ เป็นโรคใบลายหรือใบไหม้ มีรากขาวและมีรากมาก รากยาวไม่ขาดจะเป็นผักชีที่ขายได้ราคาดี