ผักบุ้งทะเล


เถาอานม้า

ชื่อ
จีนเรียก  เบ๊อัวติ๊ง Ipomoca pescaprae Roth.

ลักษณะ
พืชประเภทดอกบานบุรี เกิดทั่วไป เป็นพืชเลื้อยยืนต้น ลำต้นกลมสีม่วงแก่ มีรากขึ้นตามดิน ใบคู่เหนียวพอสมควร หน้าใบเรียบลื่น รูปใบกว้างกลม คล้ายพัดใบลาน ขอบใบเรียบ ยาวประมาณ 2 นิ้ว ปลายเว้าเข้า รูปคล้ายอานม้า ก้านใบยาว ออกดอกหน้าร้อนถึงหน้าหนาว ดอกรูปแตร มีกลีบ 5 กลีบ สีขาวหรือม่วง

รส
หวานแกมฝาด ธาตุร้อนธรรมดา ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
แก้ลม แก้ปวดเนื่องจากลม ใบใช้แก้พิษ ฤทธิ์เข้าถึงตับ

รักษา
ปวดเมื่อยเอว ข้อมือเท้า หัวเข่า ปวดเมื่อยตามข้อ ไส้เลื่อน ปัสสาวะ
สีเหลือง ใบใช้รักษา งูสวัด น้ำร้อนลวก

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดเอว – ผักบุ้งทะเล ตำลึงครึ่ง ต้มกระดูกหางหมู หรือใช้เหล้าตุ๋นรับประทาน หรือใช้รากของผักบุ้งทะเล 1 ตำลึง และเพชรสังฆาต  4 เฉียน ต้มกระดูกหางหมู
2. ปวดเมื่อยตัวเนื่องจากรูมาติสม์ – ผักบุ้งทะเล 2 ตำลึง ต้มขาหมูหรือใช้รากผักบุ้งทะเล 2 ตำลึง ต้มข้อขาหมู
3. ปวดเมื่อยตามข้อ -ผักบุ้งทะเล รากต้นสน อย่างละครึ่งตำลึง ต้มน้ำ ชงเหล้า
4. โรคปวดท้อง -ผักบุ้งทะเล 1 ตำลึง รากมะไฟจีนครึ่งตำลึง ต้มน้ำ
5. ชายหญิงโรคไตปัสสาวะสีแดง – ผักบุ้งทะเล 1 ตำลึง ต้มน้ำ
6. เนื้อตัวบวม – ใช้ใบผักบุ้งทะเล ตำกับส่าเหล้าแล้วพอกทา
7. งูสวัด-ใบผักบุ้งทะเล ตำแหลกแล้วพอก ทา
8. ของร้อนลวกเป็นแผลน้ำเหลืองไหลไม่หาย – ใช้ใบผักบุ้งทะเลลวกน้ำร้อน แล้วปะที่แผล

ปริมาณใช้
ใช้ต้นหรือรากสดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้พอกหรือทากะ พอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช