สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับผักเบี้ยขาว


ชื่อ
จีนเรียก      แปะตือบอไฉ่  แบคีห่อย  กวยจือไฉ่  Lindernia pysidria ALL.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามริมสระน้ำ ริมคู ที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุก สีเขียวใบไม้ทั้งต้นใบกลมเล็กและหนาแพร่ไปตามดินแต่ก้านชูเด่นเกิดรากตามข้อเมื่อติดดิน ใบคู่ ไม่มีก้านใบ เพราะใบเกิดจากต้นโดยตรง ใบหนาเนื้อละเอียดยาว ประมาณ 6-7 หุน เอ็นใบมีเส้นเดียวเห็นชัด ออกดอกหน้าร้อนและหน้าฝน มักออกดอกเว้นข้อ ดอกมีก้านยาว กลีบดอก 5 กลีบใหญ่บ้างเล็กบ้างสีขาวแกมม่วง ออกลูกเป็นเมล็ดเล็กลูกป้อมๆ

รส
จืดหวานนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถทำให้ลำไส้เย็น แก้ร้อนใน แก้พิษโลหิต ทำให้เลือดเย็น ใช้ ภายนอกแก้บวม แก้อักเสบ ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด

รักษา
แก้บิดมูก บิดเลือด ตาแดง ตาเจ็บ ใช้ภายนอกแก้ผิวหนังอักเสบเพราะ
เลือดร้อน ริดสีดวงทวารเจ็บบวม

ตำราชาวบ้าน
1. บิดมูก บิดเลือด – ผักเบี้ยขาว 2 ตำลึง ต้มนํ้าชงนํ้าผึ้งหรือน้ำตาลแดง รับประทาน หรือต้มกับปอนก และเฟินเงิน อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำชงน้ำผึ้ง รับประทาน
2. เจ็บตา ตาบวม – ผักเบี้ยขาว และกะเม็ง  หูปลาช่อน  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน
3. ผิวหนังอักเสบแดงเพราะโลหิตเป็นพิษ – เอาผักเบี้ยขาวตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอกหรือทา
4. ริดสีดวงทวารบวบเจ็บ – เอาผักเบี้ยขาวต้มนํ้าแล้วเอาไอรม

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 3 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

สิ่งควรรู้
ผู้มีร่างกายอ่อนแอ ผอมแห้งแรงน้อย ไม่ควรรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช