ต้นเงินขาว(จีน)สรรพคุณในการรักษาโรค


ชื่อ
จีนเรียก      แปะงึ่งฉิ่ว  ซัวฮิ่มต้า   กิวปิกเอ่ง  Ile rotunda Thunb.

ลักษณะ
พืชประเภทไม้ต้น ไม่มีชื่อไทย เกิดในที่โล่งตามป่า เป็นไม้เขียวถาวร สูง ประมาณ 20-30 ฟุต ใบคู่ ขอบใบเรียบ เปลือกแข็งหนา แกะเปลือกออก เนื้อเปลือกในสีเข้มกว่าเปลือกนอก เอ็นใบเห็นชัด มีก้านใบยาวพอสมควร ออกดอกตามฐานก้านใบในหน้าร้อน สีขาวแกมเขียว มีกลีบ 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 เกสรตัวเมีย 1 ออกเมล็ดผลกรมเล็ก เมล็ดสุกจะเป็นสีแดง เปลือกมีสีเทาหนาแข็งคล้ายหนังช้าง

รส
รสขม ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
โดยมากใช้เปลือกทำยา สามารถแก้ร้อนใน ขับลม บรรเทาเจ็บ ใช้ ภายนอกแก้บวม แก้พิษ ฤทธิ์เข้าถึงปอดและม้าม

รักษา
เป็นหวัดตัวร้อน หวัดแดดตัวร้อน หวัดแดดปวดท้อง ใบใช้พอกแก้พิษ
ไข่ดันอักเสบ ร้อนในกระเพาะ ลงท้องเพราะลำไส้อักเสบ ใช้ภายนอก แก้บวม แก้ผิวหนังเป็นแหนองเป็นพิษ

ตำราชาวบ้าน
1. เป็นหวัดตัวร้อน – เปลือก 2 เฉียน ขิงสด 3 แว่น ใบชา 1 ห่อ ชงนํ้าร้อนรับประทาน
2. หวัดแดดตัวร้อน – เปลือก 2 เฉียน ต้ม
3. ร้อนในเจ็บกระเพาะ – เปลือก 6 เฉียน หัวหอม 5 เฉียน ต้มนํ้ารับประทาน หรือเปลือก 3 เฉียน บดหยาบๆ แล้วชงด้วยนํ้าร้อนๆ ทิ้งไว้สัก 10 นาที แล้วรับประทาน
4. ร้อนในปวดท้อง – เปลือก 2-5 เฉียน ต้มนํ้าหรือใส่นํ้าตาลแดงก็ได้ หรือใช้เปลือก 2 เฉียน บดชงนํ้าร้อนรับประทาน
5. ลงท้องเพราะลำไส้อักเสบ – เปลือก 3 เฉียน ต้มนํ้า
6. ผิวหนังบวมเจ็บ – ใช้เปลือกตำกับส่าเหล้า พอก
7. ไข่ดันอักเสบ – ใช้ใบตำจนแหลกแล้วทาพอก

ปริมาณใช้
เปลือกที่ใช้ในการรับประทานควรปลอกเปลือกหยาบนอกออกหมด หนัก ประมาณ 2-5 เฉียน วิธีทำคือเอาไปแช่นํ้าปัสสาวะ 7 วัน แล้วแช่นํ้าอีก 7 วัน หรือแช่นํ้าปัสสาวะ 7 วัน แล้วแช่เหล้า ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช