สรรพคุณทางยาของแปะมิ่งหง


ชื่อ
จีนเรียก   แปะมิ่งหง  ม่อเจียงกุง  เอี่ยหยีเช่า ซัวเต๊กย้ง  Inula cappa DC.

ลักษณะ
พิษประเภทเบญจมาศ เกิดในทุ่งในป่า อยู่ในจำพวกครึ่งไม้ยืนต้น สูง 2-3 ฟุต ลำต้นเป็นขนขึ้นทั่ว ใบคู่ ใบติดกิ่งเกือบไม่เห็นก้าน รูปใบยาวรี ขอบใบหยักเป็นฟันละเอียดแต่ไม่ชัด หลังใบสีเขียวส่วนหน้าใบมีขนสีเทาขึ้นค่อนข้างหนา ออกดอกหน้าร้อนและหน้าฝน ออกหลายดอกในช่อเดียวกันมีขุนปุยที่ดอก ดอกสีเหลืองแยกเป็นห้าแฉก ออกเมล็ดมีขนติดเช่นเดียวกัน

รส
รสฝาดแกมขม ธาตุร้อนน้อย ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ขับลม ขับธาตุน้ำในร่างกาย ขับปัสสาวะ แก้บวม ใช้ภายนอกแก้บวม แก้ลม ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด

รักษา
แก้บวมน้ำ บวมลม เมื่อยปวดตามตัวตามขาหรือเอว เลือดน้อยหลังคลอด ระดูขาว ใช้ภายนอกแก้โรคบวมของผู้หญิงหลังคลอดเพราะลมมาก ผิวหนังคันเพราะธาตุนํ้ามาก

ตำราชาวบ้าน
1. บวมนํ้าเพราะธาตุนํ้ามาก – ใช้รากแปะมิ่งหง 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน หรือเอาแปะมิ่งหง และองุ่นป่า  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน หรือเอาแปะมิ่งหงและใบโกฐจุฬาลำพา ต้มอาบ
2. ปวดเมื่อยเพราะธาตุลมธาตุน้ำมากเกินไป – แปะมิ่งหง 2 ตำลึง ต้มนํ้า ชงเหล้ารับประทาน
3. ปวดเมื่อยเอวและขา – แปะมิ่งหง 1 ตำลึง ต้มกับกระดูกหางหมู เอานํ้าชงเหล้ารับประทาน
4. ปวดเอวเนื่องจากธาตุลมแรงและหวัดเย็น – รากแปะมิ่งหง 1 ตำลึง ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน
5. โลหิตน้อยเจ็บป่วยที่หลัง – รากแปะมิ่งหง ครึ่งชั่ง รากโกฐจุฬาลำพา
1 ตำลึง ตุ๋นไก่รับประทาน
6. ผู้หญิงตกขาว – รากแปะมิ่งหง 1 ตำลึง ต้มน้ำรับประทาน
7. บวมหลังคลอดลูก – รากแปะมิ่งหง 5 ตำลึง ต้มนํ้าชงเหล้าแล้วอาบ
8. ผิวหนังคันเนื่องจากธาตุนํ้ามาก – ต้มแปะมิ่งหง อาบหรือล้าง
9. ไข่ดันอักเสบ – แปะมิ่งหง ตำกับไข่ไก่ขาว แล้วพอก

ปริมาณใช้
ใช้รากใบหรือต้นสดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 3 เฉียน ถึง 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช