ข้อควรรู้เกี่ยวกับพลูน้ำ


ชื่อ
จีนเรียก    จุ๋ยเล่า แปะจั๊กโง่  จุยปิงน้อ  ซ่าเฮียะแป๊ะ เช่าเล่า Saururus chinensis (Lour.) Baill.

ลักษณะ
เกิดในทุ่งนาริมคู ริมหนองนํ้า หรือด้วยการปลูกไว้ทำเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีข้อ สูงประมาณ 2-3 ฟุต ลำต้นบางทีก็ฝังอยู่ใต้ดิน ใบคู่ รูปไข่หรือยาวรี ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว แหลมที่ปลายใบ ฐานใบกลมรูปหัวใจ ใบมีเส้นใบเห็นได้ชัด 5 เส้น ตลอดจากฐานใบถึงปลายใบ หน้าร้อนปลายก้านจะแตกใบเล็กๆ 2-3 ใบ แล้วมีก้านดอกแตกจากโคนใบ ดอกสีเหลืองซีด เป็นช่อยาว

รส
รสเผ็ดเฝื่อน กลิ่นเหม็น ไม่มีพิษ บางคนว่ามีพิษนิดหน่อย

สรรพคุณ
สามารถแก้ลม ขับเย็นใน แก้ปวด ใบใช้ถอนพิษ ฤทธิ์เข้าถึงตับและไต

รักษา
โรคบวมนํ้าที่ขาและทั่วไป ปวดเอว ส้นเท้าปวดเมื่อย ลมเข้าไต ตกขาว ใบใช้แก้โรคผิวหนังเนื่องจากธาตุนามาก โรคแผลคันเป็นพิษ

ตำราชาวบ้าน
1. รักษาโรคเท้าบวมน้ำ-ใช้พลูนํ้า 1 ตำลึงต้มนํ้ารับประทาน หรือต้มกับ ขาหมู ชงเหล้า
2. ปวดเมื่อยเอว-พูลนํ้า 1 ตำลึงต้มกระดูกหางหมู
3. ส้นเท้าปวดเมื่อย-พลูนํ้า 1 ตำลึง ต้มกระดูกหางหมู หรือตุ๋นกับขาหมู หรือต้มกับเอ็นหมู
4. ลมเข้าไต ลมไส้เลื่อน-รากพลูนํ้า 1 ตำลึง ต้มเซี่ยงจี้
5. ตกขาว-พลูนํ้า 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมู
6. ผื่นคันใต้ร่มผ้าแรกเป็น-ใช้ใบพลูนํ้า ตำกับส่าเหล้า พอก ทา

ปริมาณ
ต้นหรือรากสดใช้ไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใบใช้พอสมควร

ข้อควรรู้
ตัวร้อนเป็นไข้สูง ห้ามใช้

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช