พุดซ้อน


ชื่อ
จีนเรียก   ซัวอึ้งกี่ ซัวกี จุยเจียฮวย Gardenia jasminoides Ellis.

ลักษณะ
ขึ้นตามป่า เป็นพืชยืนต้นสูง 2-3 ฟุต ใบคู่ บางทีก็ขึ้นสลับ กิ่งใบสั้นมาก ใบเนื้อเหนียวแต่เกลี้ยง โคนใบและปลายใบแหลม ยาว 2-3 นิ้ว ขอบใบเรียบ ออกดอกสีขาวในหน้าหนาวและหน้าร้อน มีกลีบ 6 กลีบขึ้นเป็นช่อมีกลิ่นหอม ดอกที่หล่นจากต้นจะกลายเป็นสีเหลือง ส่วนเม็ดสีนํ้าตาล แยกเป็น 5 ถึง 8 แฉก เมื่อบีบจะมีนํ้าสีเหลืองไหลออกมา

รส
รสขม ธาตุเย็น ไม่มีพิษ รากรสจืด

สรรพคุณ
สามารถดับร้อนใน ขับปัสสาวะ ประสะเลือดให้เย็น สามารถสกัดเลือดไหล ใช้ภายนอก สามารถแก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงหัวใจ

รักษา
เลือดกำเดา เลือดออกตามเหงือกฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ภายนอกกระจายการคัดบวมนํ้า เจ็บเนื่องจากเคล็ดยอก ปวดฟันเนื่องจากร้อนใน ใบใช้ฟอกแก้ส้นเท้าเจ็บเนื่องจากเดินมาก

ตำราชาวบ้าน
1. เลือดกำเดา-ใช้ราก 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมูหรือเนื้อวัวก็ได้
2. เหงือกเลือดออก-ใช้รากพุดซ้อน และรากหญ้าคา  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
3. เด็กปัสสาวะเป็นเลือด-ใช้รากพุดซ้อน และรากหญ้าคา อย่างละ 1 ตำลึง พร้อมเง่าปัว 2 ตำลึง ต้มกวยแชะ
4. มือเท้าเคล็ดยอกเนื่องจากหกล้ม-เด็ดกิ่งและใบพุดซ้อนบดป่นปนแป้งสำปะหลัง และนํ้าส้มคั่วรวมกันแล้วใช้พอกที่คัดยอก
5. ร้อนในปวดฟัน-ใช้รากพุดซ้อนหนัก 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง หรือใช้รากหนัก 1 ตำลึง ต้มพร้อมรากเนียมหูเสือ 1 ตำลึง รับประทาน
6. ส้นเท้าเจ็บเนื่องจากเคล็ด-เอาใบตำกับข้าวสุกที่เย็นแล้ว พอกที่เจ็บ

ปริมาณใช้
ใช้เมล็ดแห้งไม่เกิน 3 เฉียน (คั่วจนดำเมื่อใช้ห้ามเลือดไหล) ใช้รากสดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
ผู้ที่ไฟธาตุเย็น ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช