ว่านเศรษฐี

ว่านเศรษฐี

จำพวกว่านเศรษฐีนี้ สมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี รู้จักว่านชนิดนี้กันเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ

1. ว่านเศรษฐีธรรมดา หรือที่เรียกกันว่า ว่านเศรษฐีเรือนกลาง

2. ว่านเศรษฐีเรือนนอก

3. ว่านเศรษฐีเรือนใน

3 อย่างนี้ ต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเกิดมีพวกว่านเศรษฐีเพิ่มขึ้นมาอีก 5 อย่าง คือ

1. ว่านเศรษฐีขอด หรือกวัก

2. ว่านเศรษฐีชะม่อม

3. ว่านเศรษฐีด่าง(หรือโคนด่าง หรือว่านกวักเงินกวักทอง)

4. ว่านเศรษฐีมงคล (หอมดำ)

5. ว่านเศรษฐีนางกวัก หรือมหาเศรษฐี(หัวเท่าว่านนางล้อมดอกขาวเป็นขอบกระด้ง)

ต่อมามีพวกไม้จำพวกเลี้ยงง่าย งอกงามเจริญรวดเร็ว เป็นของเสี่ยงทายถึงวาสนาเจ้าของผู้ปลูกในต่างประเทศนิยมกัน ซึ่งแต่เดิมมานั้น พืชเหล่านี้ ท่านพวกเศรษฐีคฤหบดีผู้มีทรัพย์นิยมไม้ประดับใส่หรือปลูกไว้ในกระถางลายคราม ที่หายากมีราคาแพงๆ ตั้งไว้ในที่รับแขก เป็นการอวดมั่งอวดมีของตน ต่อมาความนิยมอันนี้จึงได้ติดต่อมาจนถึงประเทศไทยเราด้วย เพราะเหตุว่าเป็นไม้ที่พวกท่านเศรษฐีชอบปลูกเลี้ยง จึงพลอยได้ชื่อว่าเป็นพวกเศรษฐีไปด้วย

ในสมัยตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ประมาณ ค่อนศตวรรษ ประมาณ พ.ศ. 2470-75 มีว่านจำพวกเศรษฐีนำหน้าพืชที่ปลูกใส่กระถางรวม 11 ชื่อด้วยกัน ในหนังสือว่านกับคุณลักษณะของท่านอาจารย์เลื่อน กัณหะกาญจนะ ท่านเขียนไว้ว่า คุณจงรักษ์ ศรีสมบูรณ์ ได้เขียนวิจารณ์ ไว้ใน วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกรา-มีนา 2506 แต่หน้า 63 ถึง 71 โดยละเอียด เพื่อให้ท่านเข้าใจเรื่องราวของท่านเศรษฐีบ้างพอสมควร จึงได้ลอกมารวมไว้ในที่นี้ เพิ่มเติมว่านเศรษฐีอีก 3 ชนิดคือ

1. ว่านเศรษฐีจีน

2. ว่านเศรษฐีญวน

3. ว่านเศรษฐีเแขก

ว่านเศรษฐี ทั้ง 11 ชนิดนี้ ได้แพร่หลายออกมาจากบ้านพวกคฤหบดี และบ้านเจ้าบ้านนาย หลังจากเปลื่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จนเป็นที่รู้จักกันบ้างในพวกคฤหบดี และบ้านเจ้าบ้านนายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จนเป็นที่รู้จักกันบ้างในพวกสามัญชน จนแพร่หลายได้รู้จักกันมาเป็นที่นิยม จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ได้เกิดมีว่านเศรษฐีนี้เพิ่มขึ้นอีก ตามหนังสือของอาจารย์เลื่อนลงไว้อีก 5 ต้น คือ

1. ว่านเศรษฐีขอด (กอบทรัพย์)

2. ว่านเศรษฐีใบพาย หรือ ว่าน

นางกวักทอง

3. ว่านเศรษฐีเรือนเตี้ย

4. ว่านเศรษฐีใยโพธิ์

5. ว่านเศรษฐีเรือนใหญ่ และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์หล่อ ขันแก้ว อีก 1 ต้น คือ ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว