สมุนไพรกับการพัฒนาประเทศ

วิทยาการต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาช้านาน และได้มีการพัฒนาปรับปรุงวิทยาการ ( (Technology ) เหล่านั้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการของสังคมตลอดมา ดังเช่นสมัยที่มนุษย์ได้พัฒนาความคิดที่จะสร้างเครื่องทุ่นแรง ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้น เพื่อสนองความต้องการทางด้านการผลิตที่สะดวกสบายมากขึ้น และด้วยการแข่งขันกันพัฒนา วิทยาการของตนเองขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าวิทยาการนั้นๆ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการผลิตมากขึ้นเพียงใด ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคมมากขึ้นเพียงนั้น แต่ปัจจุบันมนุษย์เริ่มเรียนรู้ว่าทรัพยากรที่เคยคิดว่ามีเหลือเฟือนั้น เริ่มจะ หมดไป จึงพบว่าวิทยาการใหม่ๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมานั้นจะเป็นปัญหาทันที เมื่อทรัพยากรที่ต้องใช้ป้อนเข้าสู่เทคโนโลยี่หายากหรือหมดไป แสดงให้เห็นว่าการผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยี่ที่พัฒนาขึ้นมา เริ่มมีความคล่องตัวและความอิสระในการผลิตลดลง จึงได้มีการแสวงหาหนทางใหม่ในการที่จะพัฒนาและปรับปรุงวิทยาการต่างๆ เหล่านั้นให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และกลับมาสู่ยุคของการผลิตที่ไม่ผูกพันกับทรัพยากรที่หายาก อันได้เเก่พลังงานจากเชื้อเพลิงที่มีจำกัดให้น้อยลง และหันมาใช้พลังงานในรูปอื่นๆ ซึ่งมีไม่จำกัด อันได้แก่พลังงานทดแทนในรูปต่างๆ เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์อย่างแท้จริง คือ อยู่ดี กินดี มีสุข

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ความสนใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ และเครื่องมือใหม่ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำมาใช้พัฒนาชุมชนของตน ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพอนามัย (health ) องค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๔๖ ประเทศ ได้มีโครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมทางสาธารณสุข (Appropriate Technology for Health Program) ซึ่งเป็นโครงการใหม่และเป็นที่สนใจของประเทศต่างๆ เป็นอันมาก เพราะเชื่อกันว่าหากประเทศต่างๆ สามารถแสวงหา “ วิทยาการที่เหมาะสม ” กับประเทศของตนมาใช้ได้เเล้ว การพัฒนาสาธารณสุขก็จะประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศด้อยพัฒนาหรือยากจนทั้งหลาย ซึ่งมี ประเทศไทยร่วมอยู่ด้วย ได้ส่งคนจำนวนมากมายออกไปร่ำเรียนวิชาการใหม่ๆ จากประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำวิชาความรู้ต่างๆ กลับมาใช้ที่ประเทศของตน ปรากฏว่าส่วนมากใช้ไม่ค่อยได้ผล เพราะความแตกต่างกันทางด้านเศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณี สภาพแวดล้อมต่างๆ ฯลฯ ดังเช่นประเทศไทยได้เคยมีผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนักวิชาการต่างๆ ที่จบปริญญาเอกและกลับมาทำงานในประเทศไทย รวม ๑๐ ปีผ่านมา พบว่าไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะไม่สามารถช่วยพัฒนาให้ประชาชนอยู่ดีกินดีไปกว่าเดิมได้ สาเหตุที่สำคัญข้อหนึ่งคือ ไม่สามารถนำวิชาการใหม่ๆ จากประเทศตะวันตกมาใช้ให้ได้ผลดีอย่างที่รํ่าเรียนมา หรืออาจได้ผลดีแก่ประชาชนจำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะทางด้านสาธารณสุขของประชาชนที่อยู่ห่างไกล ความเจริญตามชนบทของประเทศไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เราจะต้องพยายามหาเหตุผลประกอบกับจิตวิทยา ในการโน้มน้าวให้ชาวชนบทแหล่งนั้นๆ ได้ ทราบถึงเหตุผล อย่างเช่นการใช้สมุนไพรที่ถูกใช้ปะปนกันในแง่ของไสยศาสตร์ ความศักดิ์- สิทธิ์อภินิหาร และความเชื่อถือบางประการ ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและไขว่เขวในเรื่องของสมุนไพร อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เนื่องจากภายในสมุนไพรประกอบด้วยสารต่างๆ หลายชนิด ซึ่งบางชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เข้าทำนองว่ารักษาโรคหนึ่งหายเป็นอีกโรคหนึ่ง ซึ่งบางท่านอาจสงสัยว่าบุคคลที่เคยแข็งแรง แต่กลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งในจำนวนมากมาย ดังนั้นเราควรหาวิธีการใหม่ที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาประเทศ มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่ประเทศเรามีอย่างอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเอง ช่วยประเทศชาติยืนหยัดอยู่บนขาของตนเองได้ ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะชนบทอันเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล จะต้องมีการดำเนินการในด้านการศึกษา วิจัย เผยแพร่ วางแผน ปฏิบัติ และติดตามผลให้ผสมผสานสอดคล้องกัน มิใช่ต่างคนต่างทำ เกิดการซํ้าซ้อนหรือขัดแย้งกัน ทำให้สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณ และทรัพยากรของชาติ ดังเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมีการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้อง ผลงานต่างๆ ก็จะมีประโยชน์ต่อประประชาชน

ฉะนั้น นักพัฒนาชนบทควรที่จะพยายามเอาวิทยาการที่เหมาะสม ( Appropriate technology) กับบ้านเมืองเรา โดยนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาวิจัยทรัพยากรที่มีอยู่ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผลของนักวิชาการมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะสมุนไพรไทย มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มาก มาใช้ให้เป็นประโยชน์ดีกว่าทิ้งให้ไร้ค่าหรือสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย ในประเทศไทยมีพืชสมุนไพรที่ลงทะเบียนแล้วประมาณหมื่นกว่าชนิดจากจำนวนทั่วโลกสองแสนกว่าชนิด เราจะทำอย่างไรเพื่อเอาทรัพยากรธรรมชาติของไทยที่มีอยู่แล้วที่สามารถอนุรักษ์และ สร้างขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยเชื้อเพลิง เป็นแกนนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย โดยการที่นักวิชาการและผู้สนใจช่วยกันนำทรัพยากรจากธรรมชาติมาวิเคราะห์วิจัยให้ทราบถึงคุณประโยชน์และโทษอันอาจมีแฝงอยู่ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมกับสภาวะการขาดแคลนเชื้อเพลิงในปัจจุบัน และหาวิธีการที่ใช้ง่าย ราคาถูก ได้ผลดี และให้ความรู้ความเข้าใจจนเป็นที่ยอมรับในเหตุผลง่ายๆ ของประชาชนในถิ่นนั้นๆ

คำว่า “ สมุนไพร” ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๑๐ หมายความว่า ยาที่ได้มา พืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายในสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และบำรุงร่างกายได้

เนื่องจากสารเคมีมีอยู่ในสมุนไพร ทั้งพืช สัตว์ และแร่ธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางด้านอาหารและยา และอาจมีสารบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับการรักษาโรคเฉพาะอย่างได้ ดังนั้นการที่จะทราบว่าสมุนไพรชนิดนั้นนำมาใช้เป็นยารักษาโรคนั้นๆ ได้ ต้องทำการพิสูจน์ ( Evaluation of Crude Drugs) โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งทาง เคมี ชีววิทยา และพฤกษศาสตร์ ควบคู่กันไปเข้ามาประยุกต์ดังนี้คือ ในที่นี้จะเน้นหนักทางพืชสมุนไพร

๑. ต้องมีความรู้ทางพฤกษศาสตร์ (Morphology and Anatomy) รู้จักศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เรียกส่วนต่างๆ ของสมุนไพร

-ดูลักษณะภายนอก (organoleptic Examination) คือดูรูปร่าง (shape), ขนาด (size), สี (color), กลิ่น (odor), และรส (taste

-ดูลักษณะเนื้อเยื่อภายใน ( Microscopic Examination ) ดูเนื้อเยื่อโดยวิธีตัดเป็นชิ้นหรือบดเป็นผงโดยผ่านกล้องจุลทัศน์ การดูเนื้อเยื่อในแต่ละส่วนของพืชสมุนไพร ให้เห็นเด่นชัดจะต้องมีความรู้ว่าเนื้อเยื่อแต่ละชนิดแตกต่างกัน ย้อมด้วยสีอะไรจึงจะเหมาะสม สีต่างๆ ใช้ย้อมเนื้อเยื่อของพืช ก่อนอื่นจะต้องมีความรู้ว่าเซลล์ของพืชประกอบด้วยอะไร

๒. องค์ประกอบต่างๆ บองสารภายในพืชสมุนไพร (constituents in crude drugs ) ที่นักวิจัยปัจจุบันสกัดได้ ส่วนใหญ่สอดคล้องกับรสและสรรพคุณของสมุนไพรนั้น ในสมุนไพรแต่ละชนิดมีสารหลายอย่างมากน้อยไม่เท่ากัน ถ้าพืชสมุนไพรชนิดเดียวกันได้มาจากสกาพแวดล้อมต่างกัน อาจสร้างสารประกอบออกมาต่างกัน การศึกษาองค์ประกอบของสมุนไพร จะต้องทราบแหล่งที่มาของสมุนไพรให้แน่ชัด ควรมีการทดสอบทุกครั้งถ้าสภาพแวดล้อมถูกเปลี่ยนไป

๓. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรนั้น (scientific names) คือชื่อ genus species เนื่องจากการใช้ชื่อพื้นเมืองอาจเกิดความสับสนได้ เพราะในแต่ละประเทศมีชื่อพื้นเมืองไม่เหมือนกัน ถึงแม้ประเทศเดียวกันต่างภาคอาจเรียกชื่อไม่เหมือนกัน ในพืชชนิดเดียวกัน

๔. ต้องรู้จักวิธีการเก็บพืชสมุนไพร (preparation of Crude Drugs)

๕. ต้องรู้จักวิธีการทำให้พืชสมุนไพรแห้ง ( Drying of Crude Drugs )

๖. ต้องรู้จักวิธีการเก็บรักษาพืชสมุนไพร ( Storage of Crude Drugs)

ถ้าสามารถนำเอาวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เจริญ ก้าวหน้าอย่างมากมาส่งเสริม และชี้ให้เห็นคุณค่าวิชาการด้านสมุนไพรไปสู่ความมีคุณภาพอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์ต่อมวล มนุษย์ ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในภาวะปัจจุบันที่กำลังปั่นป่วนเรื่องพลังงานเชื้อเพลิง ถ้ามีการร่วมมือส่งเสริมการวิจัยค้นคว้าให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพดีแล้ว ก็จะเป็นพลังใน การพัฒนาประเทศทางหนึ่ง

ฉะนั้น เทคโนโลยี่ที่เหมาะสมเกี่ยวกับทางด้านสาธารณสุขนั้น นอกจากจะช่วยกันแก้ต้นเหตุ คือ พยายามแนะนำให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์และถูกส่วน เพื่อทำให้ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจอาหารที่มีคุณค่าทางยา เช่น ขิง ข่า กระชาย ไพล กระทือ มะละกอ ฟักทอง ฝรั่ง มะขาม ถั่ว ฯลฯ ในกรณีที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บเล็กๆ น้อยๆ เช่น พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนังบางชนิด สามารถนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีเลิศที่พิสูจน์แล้วตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้แทนยาสังเคราะห์ซึ่งต้องอาศัยเชื้อเพลิงได้ ถึงแม้โรคภัยไข้เจ็บชนิดอันตรายหลายชนิดยังคงต้องอาศัยสารที่ไดจากสมุนไพร เช่น

โรคความดันโลหิตสูง

-รากระย่อม

-รากพังพวยฝรั่ง

-ดอกกระเจี๊ยบ ฯลฯ

โรคมะเร็งในเม็ดเลือด

-ต้นพังพวยฝรั่ง ฯลฯ

ไข้มาลาเรีย

-ควินิน ฯลฯ

ยาห้ามเลือด

-ชะบาแดง

-เมล็ดฝ้าย ฯลฯ

ยาระบาย

-ส้ม

-มะขาม

-คูณ

-มะขามแขก

-ชุมเห็ดไทย

-ชุมเห็ดเทศ ฯลฯ

ยาแก้ท้องเสีย

-ใบฝรั่ง

-เปลือกฝาง

-เปลือกต้นคูณ

-เปลือกต้นแค

-เปลือกต้นสีเสียด

-เปลือกผลทับทิม ฯลฯ

ยาขับปัสสาวะ

-หญ้าหนวดแมว

-ดอกกระเจี๊ยบ

-ฝอยข้าวโพด

-รากหญ้าคา

-ยอดไผ่ ฯลฯ

โรคเบาหวาน

-ดอกกระเจี๊ยบ

-มะระขี้นก ฯลฯ

แผลที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

-พริก ฯลฯ

โรคผิวหนังบางชนิด

-กระเทียม

-หอมแดง ฯลฯ

โรคผิวหนังตกสะเก็ด(ขาดวิตามินเอ)

-มะละกอ

-ฟักทอง

-ผักบุ้ง ฯลฯ

โรคเหน็บชา(ขาดวิตามินบี)

-ข้าวซ้อมมือ

-ผัก และผลไม้

-นม และไข่ ฯลฯ

โรคลักปิดลักเปิด(ขาดวิตามินซี)

-ส้ม

-มะขาม

-มะกรูด

-ฝรั่งดิบ

-มะละกอสุก

-สตรอเบอรี่ ฯลฯ

สมุนไพรที่ให้ความหวาน

-ชะเอม ฯลฯ

สมุนไพรที่ให้สี

-สีแดง จากแก่นฝาง ครั่ง

-สีเหลือง จาก หัวแครอท ผลพุด คำฝอย หญ้าฝรั่น

-สีน้ำเงิน จาก ดอกอัญชัน

-สีแสด จาก คำเงาะ ดอกกรรณิการ์

-สีเขียว จาก กากมะพร้าวเอา ฯลฯ

สมุนไพรที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม

-ขิง

-บัวบก

-กระเจี๊ยบ

-มะตูม

-มะขวิด

-มะนาว

-ส้ม

-สับปะรด

-ใบเตย

-ฝรั่ง

-เก๊กฮวย

-น้ำเต้าหู้(น้ำนมถั่วเหลือง) ฯลฯ

สมุนไพรที่ให้น้ำมัน

-เมล็ดคำฝอย

-เมล็ดถั่วเหลือง

-เมล็ดงา

-รำข้าว

-เมล็ดนุ่น

-เมล็ดข้าวโพด

-เมล็ดทานตะวัน

-เมล็ดถั่วลิสง

-เมล็ดฝ้าย

-ปาล์ม

-มะพร้าว ฯลฯ

สมุนไพรที่นำมาทำเครื่องสำอางค์

-ผลแตงกวา

-ผลมะเขือเทศสุก

-น้ำผึ้ง

-เบียร์

-ผลกล้วยสุก

-มะขามเปียก

-ผลมะกรูด

-ผลไม้อื่นๆ ฯลฯ

สมุนไพรต่างๆ ข้างตนที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายๆ พันชนิดที่หาได้ไม่ยากและปลูกได้ง่ายในบ้านเรา และเป็นเรื่องที่เราน่าจะศึกษาวิจัยค้นคว้าและแนะนำให้ประชาชนรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในบ้านเมืองเราให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้อง ดีกว่าทิ้งไว้ให้ไร้ค่าหรือสูญพันธุ์ไป เพื่อให้ง่ายต่อการแนะนำการใชสมุน่ไพรที่ใช้ไม่ยากและใช้ไม่ผิดชนิด คือพยายามหาหลักฐานมาให้ดูประกอบคำบรรยาย เช่น ของจริง, ภาพสไลด์, ภาพเขียนโปสเตอร์ หรือทำหนังสือเผยแพร่

ฉะนั้น นักพัฒนาส่วนใหญ่จะยึดหลักทรัพยากรที่หาง่ายในท้องถิ่นนั้นเป็นหลักใหญ่ ในทำนองเดียวกันหลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ให้เจริญรุดหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่จะต้องพยายามนำทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งขั้นตอนแรกโดยการปลูกแปลงสมุนไพรสาธิตที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันให้มากที่สุด และส่วนหนึ่งจะเป็นแปลงสะสมพันธุ์สมุนไพรทุกชนิดที่ได้มาจากป่า โดยจัดเป็นระบบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ