เจตมูลเพลิงขาวมีสรรพคุณดังนี้


ชื่ออื่น ปิดปิวขาว(ภาคเหนือ) ตอชูวา ตั้งชู้อ้วย(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แปะฮวยตัง(แต้จิ๋ว) ป๋ายฮัวตาน(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumbago zey/anica L.
วงศ์ Plumbaginaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ถ้าต้น งามมากกิ่งจะพาดนอนไปตามดิน ฐานของต้นเป็นเนื้อไม้ กิ่งเล็กและอ่อน กิ่งมีร่องเหลี่ยม สีเขียว ใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบคล้ายกับใบมะลิ แต่ใหญ่กว่า ยาว 4-9 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ดอกสีขาวออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม แต่กลีบดอกใหญ่กว่า มี 5 กลีบ ช่อดอกยาว 5-25 ซม. เกิดตรงยอดหรือระหว่างซอกใบ กลีบเลี้ยงมีขนปกคลุม ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะและตามป่าราบทั่วไป หรือมักปลูกในสวนสมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้ ใบและราก
สรรพคุณ
ใบ แก้ฟกช้ำ ฝีบวม มาเลเรีย
ราก ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือน กลากเกลื้อน
ข้อห้ามใช้
หามใช้ในหญิงท้อง จะทำให้แห้งได้ เพราะมีฤทธิ์ร้อนและบีบมดลูกเหมือนรากเจตมูลเพลิงแดง(Plumbago indica L.) แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า
ตำรับยาและวิธีใช้
1. ปวดข้อ หรือเคล็ดขัดยอก ใช้รากแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มนํ้าหรือ แช่เหล้ากินครั้งละ 5 มล. วันละ 2 ครั้ง
2. ขับประจำเดือน ใช้รากแห้ง 30 กรัม และเนื้อหมูแดง 60 กรัม ต้มน้ำกิน
3. อาการม้ามบวม ใช้รากแห้งดองเหล้ากิน ถ้าอาการมากใช้ใบ สดและข้าวเหนียวตำให้ละเอียดปั้นเป็นเม็ดใหญ่พอควร นึ่งให้สุก กินก่อนนอนและตอนตื่นนอนครั้งละเม็ด
4. ฟกช้ำ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ใส่เหล้าลงไปเล็กน้อย แล้วทาบริเวณที่เป็น
5. ฝีคัณฑสูตร ฝีบวม เต้านมอักเสบ ไฟลามทุ่ง ใช้ใบสดพอประมาณ ตำให้ละเอียด ใช้ผ้าก๊อส 2 ชั้นห่อพอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย
6. ไข้มาเลเรีย ใช้ใบสด 7-8 ใบ ตำให้ละเอียด พอกบริเวณชีพจร ตรงข้อมือ 2 ข้าง ก่อนจะเกิดอาการ 2 ชั่วโมง(พอกจนกระทั่งบริเวณที่ พอกรู้สึกเย็นจึงเอาออก)
7. ผิวหนังหนาเนื่องจากเสียดสีกันนาน (callus) ใช้ใบสด 1 กำมือ ข้าวสวย 1 กำมือ เกลือเล็กน้อย ตำละเอียดพอกบริเวณที่เป็นวันละครั้ง
8. กลากเกลื้อน ใช้รากสดตำให้ละเอียดผสมน้ำหรือเหล้าทาบริ-เวณที่เป็น
ผลทางเภสัชวิทยา
สารพลัมบาจิน (plumbagin) ซึ่งสกัดจากรากมีผลต่อสัตว์ทดลอง
ดังนี้
1. ถ้าใช้จำนวนเล็กน้อยมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ของกบ หนูตะเภา และกระต่าย ถ้าใช้จำนวนมากมีฤทธิ์กระตุ้นแล้วทำให้สงบระงับ
2. มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต(เนื่องจากหลอดโลหิตส่วนปลายขยาย ตัว) และยับยั้งการหายใจของกระต่าย
3. มีฤทธิ์ต่อการเต้นของหัวใจ ถ้าให้ปริมาณน้อยจะไปกระตุ้น หัวใจ ถ้าให้ปริมาณปานกลางจะกระตุ้นแล้วจะกลับกดการเต้นของหัวใจ ถ้าให้ปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นในระยะคลายตัว
4. มีฤทธิ์ต่อมดลูกโดยเฉพาะในสัตว์กำลังท้องจะมีความไวเป็น พิเศษ ความเข้มข้น 1.0 X10 -8  มีฤทธิ์กระตุ้น แต่ถ้าขนาด 1.0 X 10 -7 จะยับยั้งการบีบตัวของมดลูกกระต่าย ถ้าฉีดจำนวนพอประมาณเข้าช่องท้องหนูขาวที่กำลังท้อง จะทำให้ลูกในท้องตายและทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ
5. สารสกัดจากรากโดยใช้แอลกอฮอล์หรือนํ้ามีฤทธิ์ต้านแบคที-
เรีย Micrococcus pyogenes var. aureus, Salmonella typhi และ Mycobacterium phlei นอกจากนี้สารสกัดโดยแอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์กำจัดเพลี้ยได้อีกด้วย
สารเคมีที่พบ
ราก มี plumbagin, 3,3′-biplumbagin, 3-chloroplumba- gin, isozeylinone, zeylinone, chitranone, elliptinone, droserone protease, glucose และ fructose
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล