สลัดไดป่ามีสรรพคุณดังนี้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia antiquorum Linn.
ชื่ออื่นๆ กะลำพัก (นครราชสีมา) เคียะผา (เหนือ) เคี่ยะเลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน) ทูดุเกละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่ออังกฤษ Malayan Spurge Tree, Milkbush.
ลักษณะ ไม้ต้น ลำต้นเป็นสามเหลี่ยมสีเขียว ตรง สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมักแตกออกเป็นสามยอด ตรงสันของลำต้นมีหนามเป็นกระจุกๆ ละ 2 เรียง ลงมาตลอดลำต้น-ลำต้นมียางสีขาวเหมือนนํ้านม ใบ เดี่ยวขนาดเล็ก เรียงสลับรูปไข่กลับ ร่วงง่ายจึงดูคล้ายไม่มีใบ ดอกจะออกหน้าหนาวออกเป็นตุ่มๆ สี เหลือง 1-3 ดอก สลับกับหนามตรงส่วนปลายกิ่ง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่คนละดอก อยู่ในช่อเดียวกันไม่มีกลีบดอก ผลเป็นสามพู แตกได้ ต้นถ้าแก่จัด (อายุหลายปี) จะมีแก่นแข็ง ถ้าราลงจะเรียก “กระลำพักสลัดได” มีกลิ่นหอม ใช้เป็นยา
ส่วนที่ใช้ แก่นที่ราลง ยาง
สารสำคัญ นํ้ายางสีขาวมีสาร caoutchouc 4-7% มีสารพวก tetracyclic diterpene ได้แก่ phorbol และ ester เช่น 12-deoxyphorbaI, 13-tiglate 20-acetate, ingenol และ ester เช่น 16-hydroxyingenol 3, 5,6, 20-tetraacetate นอกจากนั้นพบ tricyclic diterpene ได้แก่ tinyatoxin, huratoxin และ resin พบ ß-amyrin, cycloartenol, euphol, α euphorol จากนํ้ายาง
ประโยชน์ทางยา ยางใช้กันหูด (ระวังอย่าให้ยางถูกเนื้อดีๆ จะทำให้เนื้อดีเน่าหลุดไปด้วย) ในยางมีสารซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และระคายเคืองมาก มีฤทธิ์ทำให้อาเจียน ยางเข้าตาตาอักเสบมาก ถูกผิวหนังจะคัน แดงไหม้ เปื่อย สาร phorbal ที่พบในนํ้ายางเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นตัวร่วมเร่งทำให้เกิดมะเร็ง (Co-carcinogenic activity) และเป็นตัวช่วยรักษามะเร็ง
ในเม็ดเลือดได้ด้วย
สำหรับกระลำพักสลัดไดมีกลิ่นหอม รสขมร้อน ใช้ขับลม แก้ไข้

อื่นๆ นํ้ายางสีขาวนี้น่าที่จะนำเอาไปสกัด เพื่อให้ได้นํ้ามันเชื้อเพลิง ปัจจุบันพญาไร้ใบ ซึ่งเป็นพืชในสกุลเดียวกันกับสลัดได ได้ทดลองนำไปสกัดเอานํ้ามันเชื้อเพลิง และใช้ได้ผลดีในเครื่องยนต์ที่ใช้ทางเกษตร ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซล (พญาไร้ใบ สกัดได้นํ้ามัน 10 บาร์เรลต่อพืชที่ปลูกในเนื้อที่ 1 เอเคอร์ หรือเท่ากับ 2.5 ไร่)

ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ