สิ่งแวดล้อมกับความรุนแรงของโรคผัก

สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความรุนแรงของโรค

โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้าหรือ damping-off จะระบาดก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสามประการ คือ ความชื้นในดิน แสงอาทิตย์ และปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน

ความชื้นในดิน มีความสัมพันธ์กับเชื้อ Pythium sp. ใน เรื่องของการขยายพันธุ์ โดยจะช่วยให้เชื้อขยายพันธุ์ได้ดี และเร็วขึ้นเนื่องจากในการเกิดของเชื้อนี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการสร้างเซลล์ที่เคลื่อนไหวได้ (swarm cells หรือ zoospores) เซลล์พวกนี้เมื่อเกิดจะต้องว่ายและเคลื่อนไหวอยู่ในน้ำระยะหนึ่งแล้วจึงจะสลัดหางทิ้งกลายเป็นสปอร์กลมๆ เสียก่อนแล้วจึงจะงอกเป็นเส้นใยแล้วเข้าทำลายพืชในที่สุด หากความชื้นในดินต่ำหรือมีไม่พอช่วงของการสร้างเซลล์มีทางที่เคลื่อนไหวได้ก็จะไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดแต่เซลล์พวกนี้เมื่อไม่มีความชื้นหรือนํ้าให้เคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่จนงอกเป็นเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ โรคก็จะไม่เกิด เหตุนี้จึงพบว่าโรคโคนเน่าของต้นกล้าจะเกิดและทำความเสียหายมากก็เฉพาะในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีการระบายนํ้าไม่ดีเท่านั้น

แสงอาทิตย์ ปกติแล้วแสงอาทิตย์จะเป็นตัวช่วยยับยั้งการ เจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการงอกของสปอร์ของเชื้อ การเพาะกล้าแน่นเกินไปหรือเพาะกล้าในที่ร่ม แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดินจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เชื้อราทวีจำนวนเจริญแพร่กระจายและก่อให้เกิดโรคกับพืชได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพาะกล้าด้วยจำนวนเมล็ดที่พอเหมาะพอดีโดยที่หลังจากเมล็ดเหล่านั้นงอกเป็นต้นอ่อนแล้วไม่ชิดหรือเบียดกันแน่นจนแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลอดลงไปถึงพื้นดินได้ โรคก็จะเกิดได้ยาก หรือหากเกิดก็จะไม่รุนแรงจนถึงกับทำความเสียหายให้ได้ นอกจากนี้แสงอาทิตย์ยังมีส่วนเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของดินด้วย กล่าวคือ ในดินที่แสงไม่สามารถส่องผ่านลงไปถึงได้นั้น อุณหภูมิจะต่ำกว่าดินที่ได้รับแสงเต็มที่ และเนื่องจากเชื้อ Pythium เกือบทุก species ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้พบว่ามีความต้องการอุณหภูมิทั้งในการขยายพันธุ์ และการเข้าทำลายพืชในระดับปานกลางหรือค่อนมาทางต่ำเล็กน้อย คือ ระหว่าง 20 – 30 ∘ซ. เท่านั้น เหตุนี้เมื่อแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงพื้นดินอุณหภูมิของดินก็จะต่ำ หรืออยู่ในระดับดังกล่าวแล้ว โรคก็จะเกิดได้ง่ายและรุนแรง

ชนิดและความสมดุลของแร่ธาตุในดิน ดินแปลงเพาะควรมีปริมาณธาตุอาหารพืซที่จำเป็นแต่ละชนิดในปริมาณที่พอเหมาะและสมดุล หากมีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป อาจเป็นผลเสียทำให้พืชติดโรคง่ายและรุนแรงขึ้นตัวอย่างเช่น ทองแดงและไนโตรเจน ธาตุทั้งสองนี้หากมีมากจะทำให้พืชดูดซึมไนโตรเจนจากดินในปริมาณที่มากและสูงกว่าธรรมดา แม้จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วและดีขึ้น แต่ต้นก็จะอวบอ่อน ผิวบางเหมาะที่จะเป็นอาหารและเข้าทำลายของโรคต่างๆ หลายชนิดที่มีอยู่ในดินโดยเฉพาะโรคโคนเน่าคอดินหากเกิดขึ้นก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้ต้นยังเปราะบางหักล้มพับได้ง่ายขึ้นด้วย

นอกจากสาเหตุทั้งสามประการนี้แล้วก็ยังพบว่าการเตรียม ดินปลูกที่ไม่ถูกต้อง เช่น ดินเหนียวจัดเกินไป การระบายน้ำไม่ดี หลังจากหว่านหรือเพาะเมล็ดแล้ว ขาดการเอาใจใส่ดูแล ไม่หมั่นตรวจตรา ปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นรกรุงรัง มีการระบายถ่ายเทอาหารระหว่างต้นไม่ดี หรือเพาะกล้าซํ้าซากลงในดินแปลงเดียวกันหลายๆ หน เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบ หรือสาเหตุร่วมในอันที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการติดโรค และก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกัต้นกล้าที่ปลูกได้ทั้งสิ้น

การป้องกันกำจัด

โรคโคนเน่าคอดินเป็นโรคที่เกิดกับต้นอ่อนของผัก ส่วนใหญ่พบในแปลงกล้า ด้วยเหตุนี้การป้องกันกำจัดจึงเน้นหนักไปในเรื่องของเมล็ดพันธุ์และดินปลูกกล้าเป็นสำคัญ

ในด้านเมล็ดพันธุ์ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ ให้แน่ใจว่าเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะไม่มีเชื้อโรคติดมา ซึ่งในกรณีนี้อาจทำได้ 2 วิธี คือ

(1) ใช้เมล็ดพันธุ์จากพืชที่ปลูกด้วยตนเอง โดยคัดเลือกจากต้นแม่ที่แข็งแรงไม่เคยเป็นโรคจากแปลงหรือแหล่งปลูกที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน ไม่ควรเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ใหม่รวมหรือปะปนกับเมล็ดเก่า เพราะอาจมีเชื้อหรือสปอร์ของเชื้อติดอยู่ หากไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เองก็ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านหรือแหล่งจำหน่ายที่ไว้ใจได้ที่รับรองคุณภาพ โดยมีการระบุว่าปลอดโรคติดอยู่ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุ

(2) ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้วิธีปฏิบัติกับเมล็ดในขั้นต่อไปเพื่อให้ปลอดโรคและเชื้อก็ทำได้โดยการนำเอาเมล็ดดังกล่าวมาจุ่ม แช่ คลุกสารเคมีที่เตรียมขึ้นสำหรับใช้กับเมล็ดก่อนนำไปปลูก เช่น คลอโรเน็บ (chloroneb) ไธแรม (thiram) คลอรานิล (chloranil) ไดโคลน (dichlone) พาโนเจน (panogen) เด็กซอน (dexon) เพ่อร์แบม (ferbam) เมอร์คิวริค หรือเมอร์คิวรัสคลอไรด์ (HgCl2 หรือ HgCl) ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) และเทอราคลอร์ (terrachlor) เมล็ดที่ได้แช่หรือคลุกสารเคมีเหล่านี้แล้วเชื้อที่มีหรือติดมาก็จะถูกทำลายหมด เมื่อนำไปปลูกก็จะปลอดภัยจากโรค หากดินปลูกได้รับการเตรียมอย่างดีแล้ว และไม่มีโรค หรือเชื้ออาศัยอยู่ก่อน นอกจากการใช้สารเคมีดังกล่าวแล้ว การแช่เมล็ดก่อนปลูกในนํ้าอุ่นราว 45 – 50° ซ. นาน 20-25 นาที ก็เป็นการทำลายเชื้อและป้องกันโรคกับต้นกล้าที่งอกได้ดีอีกวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ดี เมล็ดที่คลุกด้วยสารเคมีจะมีข้อได้เปรียบกว่าการแช่ในนํ้าอุ่นก็ตรงสารเคมีจะช่วยป้องกันโรคไปถึงต้นอ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดในระยะแรกได้ด้วย

ดินปลูกเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องเอาใจใส่เป็น

พิเศษโดยเฉพาะดินในแปลงเพาะกล้า หากมีเชื้อโรคปะปน

หรือติดอยู่แม้เมล็ดจะได้รับการฆ่าทำลายเชื้อมาก่อนแล้ว

โอกาสที่จะเกิดโรคภายหลัง เมื่องอก ก็อาจมีขึ้นได้หากสิ่ง

แวดล้อมเอื้ออำนวย วิธีที่ดีที่สุดสำหรับคำแนะนำในเรื่องของ

ดินปลูกคือ หากเป็นไปได้ควรเลือกดินหรือแปลงสำหรับเพาะ

เมล็ดที่ใหม่อยู่เสมอ ไม่ควรเพาะกล้าลงในดินหรือแปลงเก่า

ติดต่อซํ้ากันหลายๆ ครั้ง นอกจากดินนั้นจะได้รับฆ่าทำลาย

เชื้อมาแล้วการฆ่าเชื้อในดินอาจทำได้โดยใช้สารเคมีต่างๆ เช่น

เทอราคลอ คาโลเมล (calomel) เนแธมโซเดียม (netham sodium) ควินโทซีน (quintozeae) ฟอร์มาลดีไฮด์ รดราดลงในดิน หรือจะใช้สารประเภทระเหยเป็นไออบรมดิน เช่น คลอโรพิควิน (chloropicrin) เมทิลโบรไมด์ (methyl mnide) และไดเมทไธริมอล (dimethyrimol) ก็ได้ นอกจากสารเคมีดังกล่าวแล้ว การใช้ความร้อนหรือไอนํ้าอบรมดินก็เป็นอีกวิธีหนี่งที่อาจฆ่าทำลายเชื้อในดินที่จะนำมาเพาะกล้าได้ดีและสำหรับเมล็ดผักที่ปลูกลงในดินที่ฆ่าเชื้อแล้วนี้ เมื่องอกเป็นต้นอ่อนแล้ว หากต้องการให้การป้องกันโรคได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็ให้ทำการฉีดพ่นต้นกล้าอ่อนด้วยสารเคมีฆ่าเชื้อราต่อมาอีกเป็นระยะๆ จนกว่าต้นจะโตแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรค

นอกจากเรื่องของเมล็ดพันธุ์และดินปลูกดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีปฏิบัติอื่นๆ ที่อาจช่วยลดการระบาดและความเสียหายจากโรคนี้ลงได้อีกเช่น หมั่นดูแลเอาใจใส่รักษาสภาพแปลงเพาะไม่ให้มีสภาพเหมาะสมหรือส่งเสริมการเกิดโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการระบาดถ่ายเทอากาศและความชื้น ควรระวังอย่าให้ดินปลูกแฉะเกินไปหรือมีนํ้าขัง หากเห็นว่าดินแปลงเพาะเหนียวจัดเกินไปหรือเป็นดินที่ระเหยนํ้าออกได้ช้าก็ให้ใช้ทรายขี้เป็ด หรือขี้เถ้าแกลบหรือจะเป็นแกลบล้วนๆ ก็ได้ ผสมลงไปเพื่อช่วยให้ซุยขึ้น จำนวนหรือปริมาณเมล็ดที่ใช้ก็ควรกะให้พอดีไม่มากจนเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ต้นกล้าที่แย่งกันงอกขึ้นมาไม่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว การที่ดินเหนียวอัดแน่นเกินไปจะมีผลทำให้การระบายถ่ายเทอากาศ ระหว่างต้นไม่ดี ใบที่แตกออกเป็นจำนวนมากก็จะคลุมดินจนแสงอาทิตย่ไม่สามารถส่องผ่านลงไปถึงได้ หลังจากหว่านหรือเพาะเมล็ดลงในดินแล้ว ไม่ควรให้น้ำกับดินหรือต้นกล้าที่เพิ่งเริ่มงอกมากจนเกินไป หากเห็นว่าดินมีความชื้นพอเพียงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ซํ้าในคราวต่อไป ควรรอต่อมาอย่างน้อย 1-2  วันจึงค่อยให้ครั้งต่อไป นอกจากอากาศรอบๆ จะแห้ง หรืออุณหภูมิร้อนจัดจึงจะให้ทุกวัน เพื่อกันต้นกล้าเฉาเวลาให้น้ำกับต้นกล้าที่เหมาะคือตอนเช้าที่อากาศแจ่มใสวันใดที่อากาศครึ้มเมฆมาก หรือฝนตกก็งดเสีย หรือหากจำเป็น ให้ก็ลดปริมาณนํ้าลงให้น้อยกว่าปกติ การให้น้ำต้นกล้าเป็นเวลาโดยให้มีปริมาณเพียงพอในแต่ละครั้งจะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันโรคโคนเน่าคอดินของกล้า หรือต้นอ่อนของผักได้ดีกว่าการให้ทีละน้อยและบ่อยครั้ง หรือให้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การใช้สปริงเกลอร์ (sprinkler)

ในกรณีของผักที่เมล็ดมีราคาแพง เมื่อต้องการเพาะในปริมาณที่ไม่มากนัก เพื่อให้ปลอดภัยจากโรค damping-off ควรเพาะลงในกะบะทราย (washed-sand culture) ซึ่งเตรียมได้โดยนำทรายขัดมาล้างให้สะอาดด้วยนํ้าอุ่นประมาณ 70 – 75° ซ. คนให้ทั่ว ทั้งนี้เพื่อให้สารต่างๆ และอินทรีย์วัตถุที่อาจมีปะปนอยู่ละลายออกมาให้หมดทำการล้างซํ้าด้วยนํ้าอุ่นดังกล่าวหลายๆ ครั้ง จากนั้นก็นำมาเกลี่ยลงในกะบะไม้หรือสังกะสีที่เตรียมไว้ให้ผิวหน้าเรียบเสมอกัน ก่อนทำการเพาะเมล็ดลงไปก็ให้ใช้โปแตสเซียมไนเตรท (salt peter) 2 กรัม ละลายนํ้าราดรดลงในทรายนั้นให้ทั่ว (ปกติแล้วสารละลาย โปแตสเชียม 2 กรัมนี้จะใช้กับทรายในกะบะที่ลึก 3-4 นิ้ว เนื้อที่ 1 ตารางฟุต) หลังจากนั้นก็ให้การดูแลรักษาเมล็ดหรือต้นกล้าที่งอกโดยวิธีธรรมดาทั่วๆ ไป วิธีนี้ต้นกล้าที่งอกก็จะปราศจากโรค และเมื่อจะแยกหรือถอนกล้าไปปลูกก็ให้นำกะบะทรายทั้งกะบะนั้นมาแช่ลงในน้ำ ทรายก็จะหลุดออกจากราก ทำให้ดึงหรือถอนต้นกล้าออกมาได้โดยง่าย โดยไม่ทำอันตรายกับรากหรือทำให้รากขาดแต่อย่างไร

สำหรับการรักษาระดับความชื้น หรือลดความชื้นในแปลงเพาะกล้าไม่ให้มีมากเกินไปอาจทำได้โดยใช้สาร vermiculite (hydrous silicate) แทนดิน หรือคลุมผิวหน้าของดินไว้ แล้วจึงเพาะเมล็ด ในกรณีที่ใช้สารนี้ล้วนๆ โดยไม่มีดิน ต้องเติมอาหารพืชหรือปุ๋ยลงไปด้วยเพื่อให้ดินกล้าได้ใช้ หลังจากงอกเป็นต้นแล้ว อาหารหรือปุ๋ยดังกล่าวเตรียมได้โดย ผสมโปแตสเซียมไนเตรท 1/2 ช้อนชากับซุปเปอร์ฟอสเฟต 1/4 ช้อนชาในน้ำครึ่งกระป๋องนมหรือราว 140 มล. ซึ่งในปริมาณนี้จะใช้กับ vermiculite ในกะบะที่มีเนื้อที่ 1 ตารางฟุต

ทั้งหมดข้างต้นเป็นการป้องกันกำจัดที่มุ่งไปในด้านการ หลีกเลี่ยงการเกิดโรค ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติโดยทั่วๆ ไปไม่ได้มุ่งทำกับพืชหนึ่งพืชใดโดยเฉพาะ หากจะให้ได้ผลสมบูรณ์กันจริงๆ แล้ว การเลือกวิธีการป้องกันและการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับผักแต่ละอย่างก็จะยิ่งทำให้การป้องกันกำจัดโรคได้ผลดียิ่งขึ้นไปอีกดังนี้

กะหลํ่าปลี (cabbage) วิธีที่ดีและได้ผลที่สุดสำหรับกะหล่ำ คือ แช่เมล็ดก่อนนำไปเพาะในนํ้าอุ่น 50° ซ. นาน 25 นาที โดยระวังรักษาอุณหภูมิให้คงที่สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาดังกล่าวอย่าให้ร้อนหรือเย็นกว่านี้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเมล็ดหรือไม่ก็จะไม่สามารถทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ดได้ จากนั้นก็นำขึ้นมาผึ่งให้แห้งบนตะแกรงลวดหรือผ้าสะอาด เมื่อจะนำไปปลูกก็ให้ทำการคลุกสารเคมีฆ่าเชื้อราซํ้าเสียอีกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อในดินซึ่งอาจทำลาย embryo หรือ ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดในระยะต่อมาได้ สารเคมีที่ใช้เช่น ไธแรม (thiram) 2 ช้อนซาต่อเมล็ด 1 กก. หรือสังกะสีออกไซด์ (zinc oxide) 1 ช้อนโต๊ะต่อเมล็ด 1 กก.

สำหรับโรคที่อาจเกิดกับต้นกล้าในระยะที่งอกพ้นดินแล้ว หรือต้นโตขึ้นมาอีกหน่อยในระยะที่เรียกว่า wire stem นั้น พบว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่นำมาใช้ป้องกันกำจัดได้ผลดี เช่น

1. น้ำยาเมอร์คิวริคคลอไรด์ (HgCl2) เตรียมโดยละลาย HgCl2) 8 กรัมในนํ้าร้อน แล้วเติมน้ำให้ครบ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) นำไปราดลงดินหรือฉีดพ่นต้นกล้าในระยะเริ่มงอก โดยสารเคมีนี้ 1 ปี๊บจะใช้ได้กับกล้าในแปลงขนาด 1×1.5 เมตร หรือ 1 X 0.75 เมตร สำหรับกล้าที่ค่อนข้างโต (ปัจจุบันไม่นิยมใช้)

2. เทอราคลอร์ (terrachlor) เป็นสารเคมีฆ่าเชื้อราในดินอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ฆ่าทำลายเชื้อโรคโคนเน่าคอดินในกะหล่ำได้ผลดี ทั้งใช้เดี่ยวๆ หรือจะผสมกับแคปแตน (captan) หรือออร์โธไซด์ (orthocide) ก็จะยิ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการทำลายและป้องกันโรคได้ผลดียิ่งขึ้น โดยใช้ในอัตราส่วน 20 กรัมต่อนํ้า 1 ปี๊บ ซึ่งนำไปใช้กับต้นกล้าที่ปลูกในเนื้อที่ประมาณ 2×5 เมตร แต่มีข้อควรระวังสำหรับสารเคมีที่มีทองแดงเป็นส่วนผสมหากใช้กับต้นกล้าที่เพิ่งย้ายไปปลูกใหม่ๆ ยังไม่ตั้งตัวอาจทำให้เกิดใบแห้งใบไหม้ขึ้นได้

3. ไธแรม (thiram) และสเปอร์กอน (spergon) สองชนิดนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน คือ 20 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ โดยวิธีราดรดลงในดินปลูกทันทีที่ต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดิน และราดซํ้า ต่อมาทุกๆ 5-7 วัน จนกล้าแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรค

นอกจากกะหล่ำปลีแล้วพวกผักอื่นๆ ที่อยู่ในตระกูล Cruciferae ด้วยกัน เช่น คะน้า (kale) กะหล่ำปม (kohlrabi) กะหล่ำดาว (brussel sprout) ผักกาดเขียวปลี (Chinese mustard) ผักกวางตุ้ง (pakchoi Chinese cabbage) พวกนี้ใช้วิธีป้องกันกำจัดอย่างเดียวกันได้ แต่มีสิ่งที่ควรระวัง คือ ต้นอ่อนของผักพวกนี้ไวต่อสารพวกทองแดงมากอาจเป็นพิษได้ จึงควรหลีกเลี่ยงโดยเลือกใช้สารเคมีอย่างอื่นที่ไม่มีทองแดง เป็นส่วนผสมแทนจะปลอดภัยกว่า

กะหล่ำดอก (cauliflower) และบร็อคโคลี่ (broccoli) การป้องกันโรคโคนเน่าคอดินของผักสองชนิดนี้ทำได้โดยวิธีเดียวกันกับกะหล่ำปลีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่การฆ่าเชื้อกับเมล็ดโดยนํ้าร้อน 50° ซ. ให้ลดเวลาลงมาเหลือเพียง 20 นาที เพราะเมล็ดกะหล่ำดอกและบร็อคโคลี่ไวต่อความร้อนมากกว่ากะหล่ำปลี นอกจากนั้นยังพบว่า เมอร์คิวริคคลอไรด์(HgCl2) เป็นพิษอย่างแรงต่อใบกะหล่ำดอกและบร็อคโคลี่ จึงควรเลี่ยงไปใช้เมอร์คิวรัสคลอไรด์ (calomel-HgCl) ไธแรม หรือสเปอร์กอน จะเป็นการปลอดภัยกว่า

มะเขือเทศ (tomato) วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันโรคนี้ของมะเขือเทศ คือ การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 25 นาที แล้วนำไปแช่ในสารละลายจุนสี (CuSO4) 1.2%(12 กรัมในน้ำ 1,000 มล.) อีก 1 ซม. แล้วตากเมล็ดให้แห้ง หรือจะนำไปปลูกเลยก็ได้ นอกจากสารละลายจุนสีอาจใช้สารเคมีคลุกเมล็ดอย่างอื่น เช่น แคปแตน (captan) ไธแรม (thiram) หรือที่มีชื่อเรียกทางการค้าอีกอย่างคือ อาราแซน (arasan) แต่การที่จะนำเมล็ดมาคลุกสารเคมีพวกนี้ต้องทำให้เมล็ดแห้งเสียก่อน เพราะเมล็ดมะเขือเทศที่เปียกชื้นกับสารเคมีพวกนี้อาจทำให้ความงอกเสียไปได้ สำหรับปริมาณสารเคมีที่ใช้คือ 8-10 กรัม (12 ช้อนชา) ต่อเมล็ด 1 กก. มีข้อควรระวังสำหรับสารเคมีคลุกเมล็ดที่มีปรอทเป็นส่วนผสม เช่น เมอร์คิวริคคลอไรด์ เซมีแซน และเซรีแซน พวกนี้จะเป็นพิษต่อเมล็ดมะเขือเทศ โดยเฉพาะถ้าปลูกในดินที่เป็นกรด

และมีอุณหภูมิสูง เนื่องจากสารปรอทจะไปมีผลต่อเอนไซม์บางชนิดที่มีอยู่ในเมล็ดที่เกี่ยวข้องกับการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าอาจทำให้ความงอกเสียไปได้

ส่วนการป้องกันโรคทั้งระยะก่อนและหลังการงอกของเมล็ด(pre และ post emergence damping-off) ของมะเขือเทศก็ให้เลือกใช้แคปแตนหรือไธแรม 20 กรัม หรือนาแบม 100 มล. ละลายน้ำ 1 ปี๊บฉีดพ่นลงในดินหรือต้นกล้าที่งอก ทุกๆ 5-7 วันจนกว่าจะแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรคในการฉีดสารเคมีแบบใช้เครื่องพ่นสเปรย์ หากใช้เครื่องชนิดความดันสูง (250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ซึ่งจะทำให้เนื้อสารเคมีสเปรย์ออกมาละเอียดในลักษณะที่เป็นหมอกควันจะให้ผลในการฆ่าทำลายเชื้อได้ดีกว่า เนื่องจากอณูที่ละเอียดของสารเคมีจะสามารถแทรกซึมไปทำลายเชื้อและจับแน่นอยู่ที่ผิวของลำต้นในปริมาณที่สูงและมากกว่าการฉีดโดยใช้เครื่องพ่นธรรมดา สิ่งที่ต้องระวังสำหรับกล้ามะเขือเทศที่เพิ่งย้ายไปปลูกใหม่ยังไม่ตั้งตัว รากยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์เป็นปกติ ไม่ควรใช้สารเคมีที่มีธาตุทองแดง เช่น จุนสี (CuSO4)หรือคูปราวิทง(cupravit) เป็นส่วนผสมเนื่องจากทองแดงจะทำให้พืชมี การระเหยน้ำจากดินมากกว่าปกติ อาจก่อให้เกิดอาการเหี่ยวเฉากับต้นกล้าทำให้ถึงตายได้

แตงชนิดต่างๆ (cucurbits) กล้าของพืชผักในตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน (cucumber) แตงไทย แตงเทศ(muskmelon) แตงโม (water melon) ฟักทอง (pumpkin) บวบ ฟักเขียว (gourd) เหล่านี้ป้องกันได้โดยละลายเมอคิริคคลอไรด์ชนิดผงหรือเมล็ด 8.25 กรัมในนํ้าร้อนแล้วเติมน้ำให้ครบ 1 ลิตร ปล่อยทิ้งให้เย็นแล้วจึงนำเมล็ดแตงดังกล่าวแช่ลงไปนาน 5 นาที เชื้อที่ติดหรือปนมากับเมล็ดก็จะถูกทำลายหมด จากนั้นก็นำเมล็ดขึ้นมาใส่ตะแกรงล้างในน้ำที่ไหลพร้อมทั้งคน ตลอดเวลาอีก 5 นาที เอาขึ้นมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะได้สำหรับปริมาณเมล็ดและน้ำยาที่ใช้คือ 100 กรัม ต่อสารละลาย HgCI2 1 ลิตร เมล็ดแตงที่ผ่านการฆ่าเชื้อโดยสารละลาย HgCl2 แล้วนี้ หากต้องการให้ต้นกล้าที่งอกปลอดภัยจากการทำลายของเชื้อราที่อาจมีอยู่ใน ดินก่อนเพาะหรือหว่านลงในดินควรทำการคลุกสารเคมี  เช่น อาราแซน ไธแรม สเปอร์กอน หรือแคปแตน อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้สารเคมีเหล่านี้ 2 ช้อนชา (ประมาณ 7-8 กรัม) ต่อเมล็ด 1 กก. และหลังจากเมล็ดงอกเป็นต้นเหนือพื้นดินแล้วให้ใช้ไธแรมหรือแคปแตน 40 กรัม ละลายน้ำ 1 ปี๊บ แดพ่นต่อไปทุก 5-7 วันจนกว่าต้นกล้าจะแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรค

พริก (peppers) การป้องกันโรคโคนเน่าคอดินในพริก โดยการคลุกหรือแช่ในสารเคมีชนิดต่างๆ อาจเป็นอันตรายต่อความงอกโดยเฉพาะสารเคมีที่มีปรอทผสมอยู่ เนื่องจากเมล็ดพริกมีความไวต่อปฏิกิริยาของสารเคมีพวกนี้มากกว่าเมล็ดผักอย่างอื่น ฉะนั้นจึงควรเลี่ยงไปใช้วิธีที่ปลอดภัยกว่า เช่น แช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิคงที่ 50° ซ. นาน 25 นาทีจึงค่อยนำไปเพาะ และเมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้วก็ให้ทำการฉีดพ่นด้วย ไธแรม แคปแตน หรือคูปราวิท อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอัตราส่วนประมาณ 3-4 ช้อนแกง (40กรัม) ต่อน้ำ 1 ปี๊บทุกๆ ระยะ 5-7 วัน ต่อไป จนกว่ากล้าจะแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรค การฉีดสารเคมีควรให้ถูกทั้งต้นกล้าและดินพร้อมกัน สำหรับคูปราวิทนั้นเนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีธาตุทองแดงผสม การใช้จึงต้องระวังไม่ควรใช้ในขณะที่อากาศครึ้มมีเมฆมากโดยเฉพาะหลังจากให้ปุ๋ยไนโตรเจนใหม่ๆ หรือในกรณีที่ปลูกมีธาตุนี้สูง ทั้งนี้เพราะทองแดงจะไปช่วยให้รากมีการดูดซึมธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้เซลล์อวบบางโดยเฉพาะส่วนปลายราก ซึ่งยิ่งจะทำให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น

ถั่วต่างๆ (legumes) ถั่วที่จัดอยู่ในพืชผักทุกชนิด เช่น ถั่วฝักยาว (yard long bean) ถั่วลันเตา (garden pea) ถั่วแขก (kidney bean) ถั่วพุ่ม (snap bean) ถั่วพู (wing bean) ฯลฯ ให้คลุกเมล็ดก่อนนำไปปลูกด้วย สเปอริ์กอน ไธแรม หรือแคปแตน ในอัตราส่วน 3-4 กรัมต่อเมล็ด 1 กก. สำหรับถั่วที่มีเมล็ดกลมพวก peas ต่างๆ หากใช้ไธแรมหรือแคปแตนอาจลดปริมาณลงได้ครึ่งหนึ่งเหลือเพียง 1.5-2 กรัม ต่อเมล็ด 1 กก. ก็เพียงพอที่จะทำลายเชื้อโดยไม่เป็นอันตรายต่อเมล็ดถั่วดังกล่าว และหลังจากเพาะงอกเป็นต้นแล้วก็ใช้ไซแรมและแคปแตน หรือซีเน็บ (zineb) อย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณ 40 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นหรือรดแปลงกล้าต่อไปอีกทุกๆ 5-7 วันจนกว่ากล้าจะแข็งแรง

หอม กระเทียม (alliums) รวมผักที่อยู่ในตระกูล (Amaryllidaceae ทั้งหมดเช่น หอมต้น หรือหอมแบ่ง (shallot) หอมแดง (multiple onion) หอมหัวใหญ่ (onion) กระเทียมใบ (leek) กระเทียมหัว (garlic) และกุยฉ่าย (chive) พวกนี้หากปลูกด้วยหัว ก่อนปลูกให้แช่หัวพันธุ์ในน้ำอุ่น 43 – 44° ซ. นาน 2 ชั่วโมง หรือ 46° ซ. 60 นาที จากนั้นก็ให้รด หรือฉีดพ่นต้นที่งอกด้วยนาแบม (nabam) ไดเทน เอ 40 (dithane A 40) หรือพาราเซท (parazate) 90 มล. ในน้ำ 1 ปี๊บ หรือซีเน็บ 40 กรัมต่อนํ้า 1 ปี๊บทุกๆ 5-7 วัน ในกรณีของหอมหัวใหญ่ หากปลูกด้วยเมล็ด ควรคลุกเมล็ดก่อนนำไปปลูกด้วยไทแรมแคปแตนหรือเพ่อร์แบมในอัตราส่วนสารเคมี 12.5 กรัม หรือราว 3 ช้อนชาต่อเมล็ด 1 กก. จะช่วยให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น

มะเขือต่างๆ (eggplants) ผักพวกมะเขือ เช่น มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือม่วง ฯลฯ นอกจากโรคโคนเน่าคอดินแล้วต้นกล้าของผักพวกนี้ยังมีโรคที่ทำความเสียหายร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง คือ โรคต้นไหม้แห้ง (blight) เกิดจากเชื้อรา Phomopsis vexans) โดยเชื้อที่ติดมากับเมล็ดเช่นกัน โรคทั้งสองชนิดนี้สามารถป้องกันได้ในเวลาเดียวกัน โดยการแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 25 นาที หรือจะแช่ในสารละลายจุนสี (Cusop 12 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1 ชั่วโมง และหลังจากเมล็ดงอกแล้วก็ให้ฉีดพ่นต้นกล้าต่อไปด้วยไธแรม หรือแคปแตน 40 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บต่อไปทุกๆ 5-7 วัน จนกว่าจะพ้นระยะโรค

หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) สำหรับหน่อไม้ฝรั่งนี้หากไม่แน่ใจว่าเมล็ดหรือส่วนที่จะนำมาใช้ทำพันธุ์มีเชื้อติดมาหรือไม่ ก่อนปลูกให้แช่ในแคโลกรืน (calogreen เป็นสารผสมระหว่างเมอร์คิวรัสคลอไรด์กับสารช่วยทำให้เกาะติดกับต้นพืชดีขึ้น) ในอัตราส่วนเมล็ดหรือหน่อ 4 กก. ต่อสารเคมี 1 กก. สารเคมีนี้สามารถป้องกันเมล็ดจากโรคจนกระทั่งงอกเป็นต้น แล้วก็ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยยาใดๆ อีก

คึ่นฉ่าย (celery) ให้แช่เมล็ดในสารละลายเมอร์คิวรัส คลอไรด์ (6 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) หรือคลุกเมล็ดด้วย แมนโคเซบในอัตราส่วน 1 ช้อนชา (4-5 กรัม) ต่อเมล็ด 1 กก. สำหรับการฆ่าเชื้อในดินแปลงกล้าใช้ฟอร์มาลีน 190 มล. ผสมน้ำ 1 ลิตรราดรดลงไป โดยนํ้ายานี้ 1 ลิตรจะใช้กับดินแปลงกล้าที่มีขนาดราว 1×2 เมตร และควรใส่ก่อนเพาะหรือหว่านเมล็ดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง แต่ถ้าดินแฉะมากควรทิ้งระยะให้นานกว่านั้นทั้งนี้เพราะพ่อร์มาลีนในสภาพดินที่เปียกชื้นมากๆ อาจเป็นอันตรายต่อเมล็ดคึ่นฉ่ายทำให้ความงอกเสียไปได้ และหลังจากเมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมาพ้นพื้นดินแล้ว ก็ให้ทำการฉีดพ่นซํ้าด้วยไซแรม (40 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ) ต่อไปอีกทุกๆ 5-7 วันจนกว่าต้นคึ่นฉ่ายจะแข็งแรงพ้นระยะการทำลายของโรค

ผักกาดหอมหรือผักสลัด (lettuce) ให้คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสังกะสีออกไซด์ (zinc oxide) 4 ซ้อนชาต่อเมล็ด 1 กก. มีข้อควรระวังสำหรับเมล็ดผักกาดหอมควรหลีกเลี่ยงสารเคมีพวก ไธแรม หรือเทอร์แซน ซึ่งในบางสภาพของสิ่งแวดล้อมสารเคมีนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเมล็ดและต้นกล้าอ่อนที่งอกได้

ข้าวโพดหวาน (sweet corn) ให้คลุกเมล็ดที่จะนำไปปลูกด้วย หรือแคปแตนครึ่งช้อนชาต่อเมล็ด 1 กก. ต่อเมล็ด 3 กก. สารเคมีพวกนี้อาจใช้ร่วมกับสารเคมีฆ่าแมลง เช่น คาร์บาริล (carbaryl) หรือดีลดริน (dieldrin) ได้

มันเทศ (sweet potato) การปลูกมันเทศโดยการใช้หัว กิ่ง ตาหรือเถามันที่ปราศจากโรค นับว่าเป็นการป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุดสำหรับหัวมันหากไม่แน่ใจว่ามีเชื้อติดมาหรือไม่ ก่อนนำไปปลูก โดยเฉพาะหัวที่ยังไม่ได้ตัดหรือแบ่งให้นำไปแช่ในสารละลายเมอร์คิวริคคลอไรด์ (17 กรัมในนํ้า 1 ปี๊บ) นาน 10 นาที จากนั้นก็นำมาล้างให้น้ำยาที่เกาะติดที่เปลือกมันออกให้หมด ผึ่งลมให้แห้งแล้วจึงค่อยตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปปลูกต่อไป

นอกจากสารเคมีทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีสารเคมีอย่างอื่นที่อาจนำมาใช้แทนกันได้อีก เช่น บอแรกซ์ (20 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) ไฟกอน (12 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร)นาแบม (17.5 มล. ต่อน้ำ 1 ลิตร) และเฟอร์แบม ผสมกับนํ้าปูนขาวในอัตราส่วน 8 กรัมต่อ 8 กรัมในน้ำ 1 ลิตรสารเคมีทั้งหมดนี้ ยกเว้นเซมีแซนให้ใช้เวลาแช่นาน 10 นาทีเท่ากัน ส่วนเซมีแซน ให้ใช้เวลาแช่เพียง 1 นาที

สารเคมีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นอกจากจะใช้กับหัวหรือท่อนพันธุ์ของมันเทศแล้ว พวกกิ่ง ตา หรือเถาก่อนนำไปปลูกก็ให้นำมาแช่ในสารเคมีพวกนี้ได้เช่นกัน โดยเอาตรงส่วนโคนด้านที่จะปลูกจุ่มแช่ลงไปกะให้เหนือส่วนที่จะฝังดินขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรีบนำไปปลูกทันที