หม้อข้าวหม้อแกงลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce
ชื่อวงศ์ MEPEMTHACEAE
ชื่ออื่น หม้อลิง (ใต้), หม้อข้าวลิง (จันทบุรี), เขนงนายพราน, ก่องข้าวลิง
ลักษณะทั่วไป พืชเถากินแมลง ขึ้นรวมกันเป็นกอ ลำต้นเลื้อยไป ตามพื้นดินหรือเกี่ยวพันเกาะต้นไม้อื่นยาวถึง 5 ม.
ใบ ใบยาว 12-18 ซม. ปลายใบเป็นกระเปาะคล้ายเหยือก ยาว 10-15 ซม. กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิด เมื่อกระเปาะแก่ฝาจะเปิด กระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียวสีนํ้าตาลอมแดง และสีเขียวปนแดงเรื่อๆ ภายในกระเปาะมีขนป้องกันแมลงที่ตกเข้าไปไม่ให้ออกได้อีกทั้งผิว กระเปาะยังมีรูเล็กๆ จำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลายแมลงเป็นอาหาร


ดอก ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว 50-100 ซม. ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่กันคนละต้นออกดอกเดือน พ.ค.-ส.ค.
ผล ดอกเพศเมียจะกลายเป็นฝักที่มีเมล็ดเป็นจำนวนมากอยู่ภายใน
นิเวศวิทยา พบตามภูเขาหรือที่ราบลุ่มที่มีความชื้นพอประมาณ พบทั่วทุกภาค
การใช้ประโยชน์ เถาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ที่เกี่ยวพันขึ้นต้นไม้อื่น สามารถนำมาลอกเปลือกออก แล้วฟันเป็นเชือกใช้ล่ามวัวได้ดี มีคุณภาพ ทนทาน หม้อ นำมาล้างให้สะอาด ใช้นึ่งข้าวเหนียวหน้ากะทิ ถือเป็นขนมพื้นบ้านยอดนิยมชนิดหนึ่งของปักษ็ใต้เรียกว่า “ขนมหม้อลิง” (ขนมชนิดนี้สามารถกินได้ทั้งเปลือก ไม่ต้องแกะเปลือกออก)
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย