แรดิช(Radish)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชอายุสั้น ปลูกง่าย ใช้พื้นที่น้อย แต่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ(ใช้ปัจจัยการผลิตน้อย/ให้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ) เนื่องจากใช้เวลาปลูกระยะสั้น จึงเหมาะที่จะส่งเสริมแก่เกษตรกรที่เพิ่มเริ่มเพาะปลูกพืชผัก ถึงแม้รายได้จะค่อนข้างต่ำ
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Comet, Novired, Cherry Belle
ฤดูปลูก ตลอดปี
ระดับความสูง 300-1500 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-6.8
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    ฤดูฝน 5×15 ซม. ฤดูหนาว 5×10 ซม. ฤดูร้อน 5×10 ซม.
ความลึก 1 ซม.
จำนวนต้น ฤดูฝน 133 ต้น/ตร.ม. ฤดูหนาว 200 ต้น/ตร.ม. ฤดูร้อน 200 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของแปลง 1 เมตร
ระยะห่างของแปลง 50 ซม.
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.


ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
เหมาะสำหรับปลูกฤดูหนาว พืชผลมักเสียหายถ้าปลูกในช่วง พ.ค.-มิ.ย. เนื่องจากอากาศผันผวนทำให้หัวมีไส้กลวงข้างใน ผลตอบแทนต่ำเทียบกับพืชผักอื่นๆ
ผลผลิต
ฤดูหนาว 90-100 กก. ฤดูร้อนและฤดูฝน 70-80 กก. ส่วนใหญ่จะเป็นเกรด B (40-60%)
ราคาขายของเกษตรกร
ระหว่าง 4-6 บาท/กก. แล้วแต่ปริมาณออกสู่ตลาด
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ค่ายาสารเคมีเล็กน้อยสำหรับการปลูกฤดูร้อนและฤดูฝน
ผลตอบแทน
ค่อนข้างดีกว่าในฤดูหนาว
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เหมาะที่จะส่งเสริมแก่เกษตรกรที่เริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก จำเป็นต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ สามารถเก็บเกี่ยวให้เสร็จภายในวันเดียว แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักทยอยเก็บหัวใหญ่ก่อน อาจใช้เวลานานถึง 6 วัน
การตลาด
ตลาดจำกัด การสูญเสียพืชผล เมื่อไปถึงกรุงเทพฯ สูงตั้งแต่ 30 ถึง 70% แล้วแต่ปริมาณออกสู่ตลาดและฤดูกาล ราคาตลาดสูงสุดระหว่าง ม.ค.-ก.ค. (15-25 บาท/กก.) และต่ำลงในช่วง ก.ย.-ธ.ค. (8-15 บาท/กก.)
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ศัตรูพืชและโรค
ในทางปฏิบัติ เกษตรกรจะไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากระยะเวลาปลูกสั้นและผลตอบแทนต่ำ แต่ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้ทราบวิธีป้องกันแก้ไข ในกรณีมีปัญหาเกิดขึ้น
ศัตรูพืช
เสี้ยนดิน (Dorylus orientalis) ทำลายตั้งแต่ระยะเริ่มลงหัวเป็นต้นไป สังเกตได้จากรอยเจาะสีดำบนเปลือกและหัวบิดเบี้ยว ใช้ ลอร์สแบน(Lorsban) ผสมน้ำราดรอบต้น
หนอนกินใบ(Leaf-eating worm) พบตลอดปี สังเกตจากใบถูกกัดกิน ฉีดพ่น แลนเนท (Lannate) ทุก 7 วันเพื่อป้องกัน และกำจัด
หนอนม้วนใบ (Tip-eating Worm) พบตลอดปีสร้างใยที่ปลายใบ ทำให้ปลายใบไหม้ใบม้วน ป้องกันโดยฉีดพ่น แลนเนททุก 7 วัน ถ้าจำเป็น
หมัดกระโดด (Jumping Flea) พบตลอดปี สังเกตจากใบถูกกัดเจาะเป็นรู ฉีดพ่นแลนเนท ทุก 7 วันเช่นกัน
หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worm) ทำลายลำต้นก่อนระยะลงหัว ทำให้ต้นล้ม ใช้ลอร์สแบน ผสมน้ำราดแปลงเพื่อป้องกัน
โรค
โรคโคนเน่า(Damping Off) พบระยะเมล็ดงอก เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani สังเกตจากกล้าล้มเป็นหย่อมและลุกลาม ถ้าไม่ป้องกันแก้ไข ใช้เทอร์ราคลอร์ ซูเปอร์เอ็กซ์ (Terraclor Super X) เมื่อพบอาการ
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการปลูก
ขุดดินตากแดดทิ้งไว้ 7 วัน เก็บหญ้าออกทิ้ง ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ย่อยดินให้ละเอียดใส่ปุ๋ย 12-24-12 ปูนขาว ปุ๋ยคอกและโบแรกซ์ คลุกผสมกับดินให้ทั่ว ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ขีดร่องแล้วขวางแปลงห่างกัน 15 ซม. หยอดเมล็ดในร่องระยะ 3-5 ซม. ระหว่างต้น กลบดินราดยา ลอร์สแบน(ป้องกันมดและแมลง) และ เทอร์ราคลอร์ (ป้องกันโรคโคนเน่าในฤดูฝน) ถ้าต้องการแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง
ควรปลูกในดินที่มีเนื้อทราย ถ้าเนื้อดินเหนียวเกินไป หัวแรดิชจะเจริญเติบโตยาก
ช่วงดูแลรักษา
หลังเมล็ดงอก ใช้ เทอร์ราคลอร์ เพื่อป้องกันเชื้อรา และฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ตามความจำเป็น ถอนแยกเมื่ออายุ 10-15 วัน ละลายปุ๋ย 8-24-24 รดและฉีดยาเคมี ตามความจำเป็น ทำการกำจัดวัชพืช
ข้อควรระวัง
1. ให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดความชื้น จะทำให้หัวหลวงและฟ่าม ผิวแตก หรือหัวบิดเบี้ยวและสูญเสียผลผลิต
2. ควรทำการถอนแยก ถ้าปลูกถี่เกินไป หัวจะไม่โต
ช่วงเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 22-25 วัน หัวมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ตัดแต่งใบให้เหลือความยาว 1 นิ้ว ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่มเก็บเกี่ยววันเว้นวัน ถ้าเก็บเกี่ยวล่าช้า จะทำให้สูญเสียผลผลิต
ข้อควรระวัง
1. การขาดธาตุ โบรอน และการเก็บเกี่ยวล่าช้า หัวจะกลวง
2. หัวที่แก่จัดเกินไป จะมีรสเผ็ด
3. เก็บเกี่ยววันเดียวกับการขนส่ง
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่