วิธีการให้อาหารสัตว์น้ำ

การให้อาหาร เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจึงเป็นการยากที่จะทราบว่าปริมาณอาหารที่ให้ปลานั้น ปลากินหมดหรือไม่ ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลากินไม่หมด ก็เป็นการสิ้นเปลืองและทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อปลา และหากให้น้อยเกินไป ปลาจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เพื่อที่จะลดปัญหาเหล่านี้มีข้อควรปฏิบัติคร่าวๆ ดังนี้

1. ให้ปลากินอาหารเป็นเวลาและให้ในเวลากลางวัน

2. ตำแหน่งที่ให้อาหารทุกครั้งควรเป็นสถานที่เดิม

3. มีแป้นหรือภาชนะรองรับอาหารเป็นที่ๆ ในบ่อนั้น

4. ก่อนให้อาหารควรให้สัญญาณ เช่น การใช้มือหรือไม้ตีน้ำให้กระเทือน

5. ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุก 1-2 สัปดาห์

6. ให้อาหารปลาโดยใช้เครื่องมือให้อาหารแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ สำหรับปริมาณอาหารที่จะใช้เลี้ยงปลานั้น มีวิธีการที่จะให้ได้ 2 วิธี คือ

ก. โดยการคาดคะเนจากการกินอาหารปลา วิธีนี้ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตอยู่เสมอ โดยถือปฏิบัติว่าอาหารที่ให้แต่ละครั้งนั้น ปลากินหมดหรือไม่ หากปลากินหมดก็เพิ่มให้อีก และถ้าปลากินเหลือก็ลดปริมาณอาหารที่ให้

ข. โดยการคำนวณ วิธีการนี้สะดวกต่อการประมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวัน และอาหารที่ให้ต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีระดับโภชนาการใกล้เคียงกันตั้งแต่ระยะต้นของการเลี้ยงถึงขั้นจับขาย นอกจากนี้จะต้องทราบถึง

-น้ำหนักเริ่มต้นของปลาที่ปล่อยเลี้ยง

-อัตราการแลกเนื้อของอาหารที่ใช้

-ปริมาณของอาหารที่ให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปลาแต่ละช่วงของการเลี้ยง

วิธีการคำนวณได้แสดงให้เห็นดังต่อไปนี้

ตัวอย่างเช่น ในการเลี้ยงปลาชนิดหนึ่ง จำนวน 10,000 ตัว นํ้าหนักรวม 20 กก. โดยใช้อาหารที่มีอัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 2 อยากทราบว่าจะเลี้ยงปลาชนิดนี้ โดยให้อาหารวันละกี่กิโลกรัมจึงจะเหมาะสม โดยกำหนดว่าจะให้ประมาณวันละ 10% ของน้ำหนักตัวปลาในเดือนแรก และวันละ 8% ในเดือนที่สอง 6% ในเดือนที่สาม และปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกๆ 10 วัน เมื่อเลี้ยงไปแล้วนาน 3 เดือน ถามว่าจะได้ปลาและใช้อาหารไปทั้งหมดเท่าใด ทั้งนี้ให้ถือว่าอัตราการเหลือรอดของปลาในระยะเริ่มแรกเท่ากับ 80% เนื่องจากความบอบชํ้าอ่อนเพลีย และเครียดที่เกิดจากการลำเลียงขนส่งและการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

วิธีการ

น้ำหนักปลาเริ่มต้นคิดเป็น 100        %     = 20        กก.

ปลาเหลือรอด 80 %จะมี นน.เริ่มต้น        = 20×80/100   กก.

= 16 กก.

ดังนั้น ในการให้อาหาร 10% ต่อวัน  = 16×10/100

= 1.6       กก.

จะต้องให้อาหารวันละ                     = 1.6       กก.

ในระยะ 10 วัน จะใช้อาหาร 1.6 X 10      =16 กก.

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                        = 16/2     กก.

= 8  กก.

ดังนั้น หลังการเลี้ยงแล้ว 10 วัน จะได้ปลา  =16 + 8          กก.

= 24        กก.

ในช่วงที่ 2

นน.ปลาเริ่มต้น                 = 24                กก.

ให้อาหารวันละ 10%                 = 24 X10/100

= 2.40     กก.

ให้อาหาร 10 วัน ปริมาณที่ให้  = 2.40 X 10

= 24        กก.

อัตราการแลกเนื้อ                    = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขน        = 24.0/2

= 12.00

นน.ปลาหลังจากเลี้ยง 10 วัน   = 24 + 12

= 36          กก.

ในช่วงที่ 3

นน.ปลาเริ่มต้น                         = 36.00   กก.

ให้อาหารวันละ 10% จะใช้อาหารต่อวัน   = 36.00 X10/100

= 3.60     กก./วัน

ให้ใป 10 วัน จะต้องใช้อาหาร  = 3.60 X 10

= 36.00   กก.

มีอัตราการแลกเนื้อ                  = 2

ปลาจะโตขึ้นอีก                       = 36.00/2

= 18.00   กก.

หลังการเลี้ยงในช่วงที่ 3 จะได้ นน.   = 36.00 + 18.00

ปลาทั้งหมด                                     = 54.0     กก.

ในช่วงที่ 4 (หรือเดือนที่สอง)

นน.เริ่มต้น                                = 54.0     กก.

ให้อาหารวันละ 8% จะใช้อาหาร      = 54.0 X8/100

= 4.32     กก.

ให้อาหารใน 10 วัน                          = 4.32 X 10

= 43.2

อัตราการแลกเนื้อ                            = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                        = 43.2/2

= 21.6

หลังการเลี้ยงในระยะที่ 4 จะได้ปลา = 54.0 + 21.6

= 65.6     กก.

ในช่วงที่ 5

นน.ปลาเริ่มต้น                                 = 65.6

ให้อาหารวันละ 8% จะใช้อาหาร      = 65.6 X 8 X 10/100

= 52.48   กก.

อัตราการแลกเนื้อ                            = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                        = 54.48/2

= 26.24   กก.

หลังการเลี้ยงในระยะที่ 5 จะได้ปลา = 65.6 + 26.24

= 91.8     กก.

ในช่วงที่ 6

นน.ปลาเริ่มต้น                                 = 91.8     กก.                          ให้อาหารวันละ 8% จะใช้อาหาร  = (91.8 X 8) = 10/100

= 73.44   กก.

อัตราการแลกเนื้อ                            = 2

จะได้ นน.ปลาเพิ่มขึ้น                       = 73.44/2

= 36.72   กก.

หลังการเลี้ยงในระยะที่ 6 จะได้ปลา = 91.8+36.72

= 128.5   กก.

ในช่วงที่ 7 (หรือเดือนที่สาม)

นน.ปลาเริ่มต้น                                 = 128.5   กก.

ให้อาหารวันละ 6% จะใช้อาหาร      =(128.5×6)x10/100

= 77.10   กก.

อัตราการแลกเนื้อ                            = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                        = 77.10/2

= 38.55   กก.

หลังการเลี้ยงในระยะที่ 7 จะได้ปลา = 128.5 + 38.55

= 167      กก.

ในช่วงที่ 8

นน.ปลาเริ่มต้น                                 = 167      กก.

ให้อาหารวันละ 6% จะใช้อาหาร      = 167x6x10/100

= 100.2   กก.

อัตราการแลกเนื้อ                            = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                        = 100.2/2

= 50.1     กก.

หลังการเลี้ยงในระยะที่ 8 จะได้ปลา = 167+50.1

= 217.1   กก.

ในช่วงที่ 9 (หรือสิ้นเดือนที่ 3)

นน.ปลาเริ่มต้น                                 = 217.1   กก.

ให้อาหารวันละ 6% จะใช้อาหารต่อวัน     =217.1x6x10/100

= 130.26 กก.

มีอัตราการแลกเนื้อ                                  = 2

จะได้นน.ปลาเพิ่มขึ้น                                = 130.26/2

= 65.13   กก.

เมื่อสิ้นเดือนที่ 3 จะได้ปลาหนัก               = 217.1 + 65.13

= 282.23 กก.

และใช้อาหารทั้งสิ้น  = (16+24+36) + (43.2+52.48+ 73.44+ (77.10+100.20+130.25) = 552.68       กก.

ในการให้อาหารจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้เลี้ยงสัตว์นํ้าควรจะได้พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ ประกอบกับการที่จะเพิ่มหรือลดอาหารในระหว่างการเลี้ยง ทั้งนี้มีปัจจัยหลายประการที่จะทำให้ปลากินอาหารได้มากหรือน้อย หรือหยุดชะงักการกินอาหาร และนำอาหารที่กินแล้วไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่หรือไม่ ทั้งนี้ให้สังเกตจาก

1. ลักษณะของน้ำ

1.1 สีของนํ้า ซึ่งสีของน้ำสามารถที่จะประมาณการได้ว่า ปริมาณอาหารที่ให้มากหรือน้อยเกินไป เช่น

ก. น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีขาวใส จนสามารถมองเห็นลงไปถึงพื้นก้นบ่อ แสดงว่าอาหารที่ให้ไม่พอเพียง

ข. น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีเขียวใส เมื่อใช้มือจุ่มลงไปประมาณ 35 ซม. แล้วกระดกปลายนิ้วขึ้นยังสามารถมองเห็นปลายนิ้วได้ แสดงว่าอาหารที่ให้พอเหมาะกับปลาที่เลี้ยง แต่หากจุ่มมือลงไปลึกกว่าระดับนี้ยังมองเห็นปลายนิ้วที่กระดกขึ้นมา แสดงว่าอาหารที่ให้ยังไม่พอเพียง

ค. น้ำในบ่อมีสีเขียวจัด เมื่อใช้มือจุ่มลึกลงไปประมาณ 20 ซม. แล้วกระดกปลายนิ้วขึ้น ถ้าไม่สามารถมองเห็นปลายนิ้วได้ แสดงว่าอาหารที่ให้ปลาในบ่อนั้นมากเกินไป ควรจะลดปริมาณอาหารให้น้อยลง

ง. น้ำในปอมีสีขาวขุ่น แสดงว่าปริมาณอาหารที่ให้มากเกินไป และส่วนที่เหลือของอาหารได้เน่าเสียแล้ว ให้งดอาหารแล้วรีบแก้ไขเรื่องของน้ำในบ่อให้เร็วเท่าที่จะทำได้

1.2 อุณหภูมิของน้ำต่ำ ควรให้อาหารน้อยลง

1.3 ความเค็มของน้ำ สำหรับกุ้งทะเลและปลาทะเล ถ้าความเค็มลงต่ำกว่าปกติมากในฤดูฝน สัตว์พวกนี้จะเจริญเติบโตช้าและกินอาหารน้อย

2. สุขภาพของสัตว์น้ำ ถ้ากุ้งหรือปลามีสุขภาพไม่ดี มีโรค ก็จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารลงจนกว่าสุขภาพจะดีขึ้น

3. ปริมาณสัตว์น้ำอื่นในบ่อที่จะแย่งอาหารสัตว์น้ำที่เราเลี้ยง ถ้ามีปริมาณมาก เราก็ต้องให้อาหารมากขึ้น