Category: ปศุสัตว์

ความรู้ด้านการปศุสัตว์ สำหรับเกษตรกรชาวไทย

ฟาร์มสัตว์น้ำ:พัฒนาฟาร์มสัตว์น้ำสู่ตลาดสากล

เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2554ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ศรฟ) กรมประมงได้จัดฝึกอบรมให้กับผู้ตรวจประเมิน ในหลักสูตร ยา สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น กรุงเทพฯ

ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างหันมาใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัยและคำนึงถึงผลกระทบจากการผลิตสินค้าที่มีต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกสินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งทะเลที่สามารถนำรายได้เข้าประเทสอย่างมหาศาลมากว่า 20 ปี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหลายๆประเทศที่เป็นตลาดหลักในการนำเข้าสินค้าเพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้ามากขึ้น กรมประมงในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลกระทบต่อสังคม ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อมุ่งสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน และมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการจัดการที่ดี สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย ที่สำคัญคือไม่มีสารหรือยาปฏิชีวนะตกค้าง

ที่สำคัญได้มีการควบคุมคุณภาพผลผลิตกุ้งในระดับฟาร์มมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่ปี 2541 และเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความทันสมัยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้กรมประมงจัดตั้งหน่วยรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมผู้ตรวจประเมิน ให้ตรงกับคุณสมบัติตามข้อกำหนด

นางธณิฎฐา  … Read More

การเลี้ยงกุ้ง:เครื่องให้อาหารอัตโนมัติลดค่าแรงในการเลี้ยงกุ้ง

ค่าแรงของคนงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มต้นทุนในการผลิตของภาคการเกษตร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ค่าแรงของแรงงานมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น หากสามารถลดการใช้แรงงานคนลงได้ เกษตรกรก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เช่นกัน

นายปรีดา  ใจเย็น เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จ.พังงา เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตด้วยการ ลดการใช้แรงงานโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต

ปรีดา เล่าว่า เดิมตนจ้างแรงงานเพื่อดูแลกุ้งประมาณ 5 คน ค่าจ้างเดือนละ 4,500 บาท 1 ปี ใช้เงินจ้างแรงงานประมาณ 270,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ โดยใช้เงินลงทุนเครื่องละ 16,000 บาท จำนวน 5 เครื่อง เป็นเงินลงทุน 80,000 บาท ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้เป็นอย่างมาก ขณะที่ประสิทธิภาพการให้อาหารกุ้งมีเท่าเทียมกัน ปรีดา … Read More

ลองกอง:การควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองด้วยไส้เดือนฝอย

วัชรี  สมสุข  และสุทธิชัย  สมสุข

“กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการค้นคว้าวิจัยหาแนวทางป้องกันกำจัดหนอนชอนเปลือกลองกองทดแทนการใช้สารเคมี โดยมีการนำไส้เดือนฝอย “Steinernema carpocapsae” มาใช้สามารถควบคุมหนอนได้ผลดี”

ผู้ที่ได้ลิ้มรสลองกองมักจะติดใจในความหอมหวานและรสชาติที่แปลกไปกว่าผลไม้ชนิดอื่น ทำให้ลองกองเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างไม่จำกัดปริมาณ ปัจจุบันลองกองจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ทำรายได้ดีแก่เกษตรกรผู้ปลูก พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มขยายเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับเจ้าของสวนลองกองคือ การป้องกันกำจัดหนอนกินใต้ผิวเปลือกหรือหนอนชอนเปลือกซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ

ชนิดแรก มีขนาดใหญ่ ลำตัวหนอนเมื่อโตที่สุดยาวประมาณ 4 ซม. มีสีแดงอมชมพูหรือน้ำตาลแดง หนอนเข้าดักแด้อยู่ใต้เปลือกของกิ่งและลำต้น ดักแด้ยาวประมาณ 1-6 ซม. สีน้ำตาล อายุดักแด้ 11 วัน ผีเสื้อมีสีน้ำตาลเทา วัดความกว้างของปีกเมื่อกางออกประมาณ 4 ซม. ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 800-1,000 ฟอง… Read More

สุกร:การจัดการในฟาร์มสุกรป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส

โรคพีอาร์อาร์เอส(PRRS) หรือโรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ในสุกร เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง เช่น การแท้งของแม่สุกร การตายของลูกสุกรอนุบาล การตายของสุกรขุน และการตายของสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และที่สำคัญโรคพีอาร์อาร์เอสเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งสุกรที่หายจากอาการป่วยแล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังสุกรตัวอื่นได้ โดยเฉพาะสุกรที่นำเข้ามาร่วมฝูงใหม่ เมื่อได้รับเชื้อจากสุกรที่มีอยู่เดิมแล้วจะแสดงอาการรุนแรง และอัตราการสูญเสียสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือโรคนี้เป็นโรคที่กดกูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่นๆ แทรกซ้อนเข้ามาโดยง่าย

นายปรีชา  สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคพีอาร์อาร์เอส ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งเมื่อสุกรที่ได้รับเชื้อดังกล่าวจะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่นแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น ดังนั้นแนวทางที่จะลดความสูญเสียและสามารถแก้ปัญหาโรคนี้ได้อย่างยั่งยืน คือการจัดการฟาร์มโดยใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสตลอดจนโรคระบาดอื่นๆ เข้าสู่ฟาร์มได้ดีที่สุด

ในส่วนของเกษตรกรรายย่อยหรือประชาชนที่มีการเลี้ยงสุกรหลังบ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือเลี้ยงเพื่อการบริโภคเองนั้น จะประสบปัญหากับโรคพีอาร์อาร์เอส รวมถึงโรคระบาดอื่นเป็นประจำ เนื่องจากการละเลยในด้านการป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะการนำสุกรไม่ทราบแหล่งที่มา และการเลี้ยงสุกรรวมกันหลายรุ่น ทำให้เมื่อเลี้ยงไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ลูกสุกรจะแสดงอาการป่วยตาย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใส่ใจในการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม … Read More

ไก่:การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

กองส่งเสริมการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์

เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่  กินไข่กินเนื้อ

บางส่วนที่เหลือ   จุนเจือรายได้

ครอบครัวสุขศรี    มากมีกำไร

ทุกคนสดใส         ต่างไร้โรคา

เกษตรกรแทบทุกครอบครัวมักจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองอย่างน้อย ๒-๓ แม่ เนื่องจากไก่พื้นเมืองสามารถคุ้ยเขี่ยหาอาหารกินเองได้ เพียงแต่ให้เศษอาหารที่เหลือจากครัวและการดูแลเอาใจใส่อีกเล็กน้อย ไก่เหล่านั้นก็ให้ไข่ให้ลูก และเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจ

ปัจจุบันนี้ตลาดมีความต้องการไก่พื้นเมืองมาก ราคาไก่พื้นเมืองจะแพงกว่าไก่ชนิดอื่นๆ และมักจะขาดตลาดจึงเป็นโอกาสอันดีที่เกษตรกรจะเพิ่มรายได้และการอยู่ดีกินดีของครอบครัวโดยการ เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ข้อดีของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

๑.  ตลาดต้องการมากมีเท่าไรก็ขายได้หมด

๒.  ขายได้ราคาดี

๓.  สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ ถ้าเกษตรกรสามารถขายไก่รุ่นได้เดือนละ ๕ ตัว ในปีหนึ่งจะมีรายได้ถึง ๒,๔๐๐-๓,๐๐๐ บาท

๔.  ลงทุนต่ำ เพราะเกษตรกรสามารถเริ่มเลี้ยงจากแม่ไก่ ๓-๔ ตัว แล้วค่อยๆ … Read More

ตั๊กแตนปาทังก้า:การจับตั๊กแตนปาทังก้าเพื่อการค้า

สมชาย  อามีน

กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ในอดีตเคยมีผู้คำนวณไว้ว่า “ตั๊กแตน ๕ แสนตัวหรือน้ำหนักตัวรวมกันได้ ๑ ตัน ใน ๑ วัน สามารถกินพืชได้หนักเท่ากับอาหารของช้าง ๑๐ ตัว หรืออูฐ ๒๕ ตัว หรือคน ๒๕๐ คน” แต่ในปัจจุบันมีใครทราบบ้างว่า คน ๑ คน ใน ๑ วัน สามารถกินตั๊กแตนได้กี่ตัว และถ้าคน ๕๕ ล้านคน จะกินตั๊กแตนได้หนักรวมกันกี่ตันใน ๑ วัน คำตอบที่ง่ายที่สุดเห็นจะเป็นว่าไม่มีตั๊กแตนให้จับกินแน่ทีเดียว

การจับตั๊กแตนเพื่อกินหรือเพื่อขายนั้น ได้เริ่มมีมานานแล้วในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงปี … Read More

กุ้งกุลาดำ:โรคเสี้ยนดำในกุ้งกุลาดำ

จิรศักดิ์  ตั้งตรงไพโรจน์และคณะ

หน่วยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะสัตวแพทย์ศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือ “โรคกุ้ง” โรคกุ้งจะเกิดขึ้นได้ในทุกระยะหรือขนาดของกุ้ง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า สภาพแวดล้อม เช่น ความเค็ม อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีก๊าซอ๊ออกซิเจนในน้ำต่ำ ก๊าซแอมโมเนียสูง รวมถึงการเกิดโรคเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส บัคเตรี พยาธิทั้งภายนอกและภายใน เชื้อราและการขาดสารอาหารบางชนิด การวินิจฉัยสาเหตุต่าง ๆ ของโรคนั้นจำเป็นจะต้องกระทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกัน มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมาก

พบกุ้งกุลาดำเป็นโรคเสี้ยนดำ

ปัจจุบันนี้ ในช่วงฤดูฝน ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรี … Read More

ข้าว:ปลูกข้าวให้วัวกิน

ทวี  คุปต์กาญจนากุล

สถานีทดลองข้าวหันตรา  สถาบันวิจัยข้าว

กรมวิชาการเกษตร

ตามท้องนาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม หลายท่านอาจจะเคยสังเกตเห็นชาวนากำลังเกี่ยวใบข้าวในนา มัดเป็นฟ่อน หาบใส่รถเข็น หรือใส่เรือขนกลับบ้าน หากลงไปสอบถามดูก็จะได้คำตอบว่านำใบข้าวที่เกี่ยวได้ไปเลี้ยงวัว

การเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือนั้นเคยเป็นอาชีพเก่าแก่ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางมาก่อน เพื่อใช้แรงงานในการทำนาหรือขายสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นเป็นรายได้เสริม การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีการเกษตรในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยง

โคกระบือ หันไปใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการทำนาแทนแรงงานสัตว์ เป็นผลให้โคกระบือในพื้นที่เหลือจำนวนน้อยมาก

ภาวะราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวนาประสบปัญหาทำนาแล้วขาดทุน มีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันความต้องการอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์สูงขึ้น ทำให้โคกระบือมีราคาแพง เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวเลยหันมาเลี้ยงสัตว์กันหลายรายปรารภว่าจนเพราะทำนา แต่พอจะลืมตาอ้าปากได้จากการเลี้ยงโคกระบือ

การเลี้ยงปศุสัตว์แทบทุกชนิด ปัจจัยต้นทุนการผลิตที่สำคัญมีสองอย่าง คือ … Read More

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม:แง่คิดพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงไหม

ณรงค์ฤทธิ์  วิจิตรจันทร์

สถาบันวิจัยหม่อนไหม

กรมวิชาการเกษตร

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลาประมาณ ๗๐-๘๐ ปี แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังนัก จนกระทั่งระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผ้าไหมไทยเริ่มเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖-๑๗ กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาก และได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งศูนย์วิจัยและอบรมหม่อนไหมขึ้นเป็นแห่งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับหม่อนไหมในปัจจุบันเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมก้าวหน้าไปได้มาก ขณะนี้มีพันธุ์ไหมที่รับรองพันธุ์แล้วคือ นครราชสีมา ๖๐-๑ และนครราชสีมา ๖๐-๒ พันธุ์หม่อนนครราชสีมา ๖๐ และบุรีรัมย์ ๖๐

ปัจจุบันกสิกรรายย่อยและรายใหญ่ ๆ ให้ความสนใจการเลี้ยงไหม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นที่ยอมรับของกสิกรมากขึ้น กสิกรบางท่านอาจคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้ใช้เวลาสั้น ความต้องการของตลาดมีมากและยาวนาน จึงได้หันมาสนใจ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะลงมือหรือตัดสินใจยึดการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอาชีพหลัก ก็มีข้อที่น่าจะต้องทราบและศึกษา เตรียมตัวให้พร้อมก่อน … Read More

ไหมไทย:ลักษณะของไหมพันธุ์ไทย

สถาบันวิจัยหม่อนไหม

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ประวัติ เดิมชื่อพันธุ์สุรินทร์นางลาย โดยสถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ได้รวบรวมมาจากบ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีรังสีขาว มาทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ จนได้รังสีเหลือง ให้ชื่อว่าพันธุ์นางลาย และเผยแพร่แนะนำพันธุ์สู่เกษตรกรในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ลักษณะประจำพันธุ์

  • เป็นพันธุ์ฟักตลอดปี
  • ลำตัวมีลายสีน้ำตาลเข็มคาดขวางโดยตลอด
  • ไข่สีขาวอมเหลือง
  • รังสีเหลืองเข้ม หัวท้ายรังค่อนข้างแหลม
  • ความยาวเส้นใย ๑ รัง ๓๕๐ เมตร
  • จำนวนรังไหม ๑ กก. ๑,๓๐๐ รัง

ลักษณะเด่น

ข้อดี

  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
  • เปอร์เซ็นต์รังเสียต่ำ
  • สาวเส้นใยออกง่าย
  • เส้นใยเหนียวและเลื่อมมัน

ข้อเสีย

  • รังไหมขี้ไหมมาก
Read More