การสูญเสียหน้าดิน

การสูญเสียหน้าดินเป็นรูปแบบการพังทลายของดินที่สร้างความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากมักจะไม่ได้รับความสนใจ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีการหาแนวทางแก้ไข การสูญเสียหน้าดินจากนํ้าฝนเป็นการสูญเสียดินจำนวนหลายพันล้านตันทุกปี เมื่อฝนตกหนักเศษดินแยกหลุดออกและไหลตามนํ้าฝน ซ้ำยังเซาะเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป กลายเป็นดินโคลนที่ตกค้างในทางระบายนํ้าและแม่นํ้าลำธาร การสูญเสียหน้าดินนำไปสู่การพังทลายของดินในรูปแบบ อื่น ๆ ที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ร่องนํ้าเซาะและแอ่งนํ้าเซาะ ซึ่งเป็นการพังทลายของดินที่ฝ่ายอนุรักษ์ให้ความสนใจเป็นอย่างมากจนถึงทุกวันนี้ การสูญเสีย หน้าดินแม้จะมองเห็นไม่ชัดนัก แต่ก็ปรากฎร่องรอย ดังในรูปที่ 1 คือเศษดินที่กองอยู่หลังสิ่งกีดขวาง (เช่น ก้อนอิฐ) บนพื้นที่ลาดเอียง (A) เศษหินที่ทิ้งอยู่ กระจัดกระจายเนื่องจากหนักเกินกว่าที่นํ้าจะไหลพัดพาไปได้ (B) หรือเศษดินและซากต่าง ๆ ที่ติดอยู่ใต้กิ่งไม้ เศษกิ่งไม้ หรือแม้แต่หญ้าแห้งที่จับเป็นก้อน (C)

รูปที่ 1 ร่องรอยของการสูญเสียหน้าดิน

ผลของการสูญเสียหน้าดินจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ในพื้นที่ป่าไม้ซึ่งไร้พืชปกคลุมดิน อย่างเช่นพื้นที่ทำการเกษตรหรือพื้นที่รกร้างที่มีไม้ยืนต้นเพียงไม่กี่ต้น ซึ่งการสูญเสียหน้าดินจะเห็นได้จากรากที่โผล่ขึ้นมา (รูปที่ 2) น้ำจะไหลผ่านใต้ลำต้นและลงไประหว่างรากได้โดยง่าย เมื่อดินที่ยึดเกาะรากและให้ชีวิตแก่ ต้นไม้นั้นได้ถูกชะล้างไป ต้นไม้ก็ย่อมจะถูกพัดพาไปด้วยเช่นกัน

รูปที่ 2 ต้นไม้กับการสูญเสียหน้าดิน

ปกติแล้วต้นไม้โดยตัวของมันเองไม่สามารถ จะป้องกันการสูญเสียหน้าดินที่เกิดจากการพังทลายของหน้าดินได้ แต่ในกรณีที่เป็นป่า พื้นที่บริเวณนั้น จะมีซากพืชและพืชเตี้ย ๆ ปกคลุม ซึ่งจะสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้ ส่วนพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกป่า การปลูกพืชคลุมดินก็สามารถใช้เป็นวิธีการ ป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้ การปลูกไม้พุ่มที่มีรากฝอยและหญ้าเป็นแนวรั้ว ก็เป็นการชะลอการไหลบ่าของนํ้าได้โดยจะทำให้นํ้าแผ่กระจายไปทั่ว ช่วยลด ความรุนแรงของการพังทลายของดินและช่วยเก็บกักดินที่อุดมสมบูรณ์ไว้หลังแนวรั้วพุ่มไม้ ซึ่งมีผลให้การไหลบ่าของน้ำลงทางลาดช้าลง และหากการปลูก เป็นแนวรั้วเว้นระยะห่างตามแนวดิ่งอย่างถูกวิธีแล้ว จะช่วยไม่ทำให้เกิดการพังทลายของดินอีกต่อไป

รูปที่ 3 การสูญเสียหน้าดิน

กล่าวได้ว่า จำนวนดินที่สูญเสียไปจากการพังทลายของหน้าดินอยู่ในขั้นที่น่าวิตกมาก ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณของดินที่สูญหายไปอย่างชัดเจน กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากต้น ไม้ทั้งสองต้นที่ปลูกไว้เพื่อให้รากทำหน้าที่ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ได้พบว่า ชั้นดินซึ่งวัด จากระยะห่างระหว่างยอดของเนินดินที่โคนต้นไม้กับผิวดินในขณะนั้น มีความสูงถึง 50 เซนติเมตร ได้สูญหายไปนับตั้งแต่เริ่มปลูกต้นไม้นั้นแล้ว