แมงลักมีประโยชน์อย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilicum Linn, f.var.citratum Back.
ชื่ออื่นๆ ก้อมก้อขาว (เหนือ) มังลัก (กลาง)
ชื่ออังกฤษ Hoary Basil
ลักษณะ ไม้ขนาดเล็ก มีอายุ 1-2 ปี สูงประมาณ 0.3-0.9 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวอ่อนๆ มีขนนิ่มๆ กลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาว ร่วงง่าย ดอกออกรอบก้านช่อดอกเรียงเป็นชั้นๆ ชั้นละ 2 ช่อดอก แต่ละหนึ่งช่อดอกประกอบด้วย 3 ดอกย่อย ดอกตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกย่อยจะมีใบประดับสีเขียว และจะคงอยู่จนเป็นผล ส่วนกลีบดอกจะร่วงไป ผล เป็นผลชนิดแห้ง ภายใน 1 ผลจะมี 4 ผลย่อย
ส่วนที่ใช้ ใบสด ผลย่อย (ผลย่อยของแมงลักเรียก “เม็ดแมงลัก”)
สารสำคัญ ในใยจะมีนํ้ามันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย camphor 65%, citronellal
15.7%, linalool 10.2%, methyl cinnamate และ eugenol ในเมล็ดมี mucilage
ประโยชน์ทางยา น้ำมันหอมระเหยความแรง 1 : 50,000 มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Mycobacteria ภายนอกร่างกาย
ใบแมงลักสดสกัดด้วยอีเทอร์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดหนองและเชื้อโรคที่ทำให้ท้องร่วง
ยาไทย ทั้งต้นใช้ขับลม ขับเหงื่อ กระตุ้น ต้มกับนํ้าดื่มแก้ไอ และแก้โรค ทางเดินอาหาร
นํ้าคั้นจากใบสด แก้หวัด หลอดลมอักเสบในเด็ก
ยาภายนอก ใบตำทาแก้โรคผิวหนัง
ผลย่อย แช่นํ้าให้พองรับประทาน (เปลือกของผลสามารถพองตัวในนํ้าได้ 45 เท่า เพราะมีสารเมือก) ใช้สำหรับ
1. ยาระบาย โดยไปเพิ่มปริมาณของอุจจาระ
2. ลดความอ้วน เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่ม ไม่ต้องรับประทานอาหาร อื่น ผลไม่มีคุณค่าทางอาหาร มีแต่ mucilage เท่านั้น
3. ช่วยทำให้คนที่เป็นโรคเบาหวานเมื่อรับประทานนํ้าตาลลงไปจะทำให้การดูดซึมของนํ้าตาลเข้ากระแสโลหิตช้าลง สรุปผลได้ว่าคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อให้รับประทานแมงลัก จะทำให้นํ้าตาลในผู้ป่วยไม่สูงขึ้น จึงสามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้
4. เป็นอาหาร รับประทานกับนํ้ากะทิ
อื่นๆ ใบสดกลั่นให้นํ้ามันหอมระเหย ใช้ผสมในนํ้าหอม แต่งกลิ่นสบู่ และเครื่องสำอางบางชนิด
ใบสดและผลใช้เป็นอาหาร ใส่ในไอศกรีม วุ้น และอื่นๆ
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ