บัวบกสรรพคุณทางยา


ผักหนอก

ชื่อ
จีนเรียก        ฮำคักเช่า  เลี้ยงกงกึง เตี่ยไก้เช่า ปั่งตั่วฮั้ว  Centella asiatica (L.) Urban.

ลักษณะ
พืชหญ้ามีใบแผ่กลมคล้ายร่ม ชอบเกิดริมหนองนํ้า ริมทาง เป็นพืชยืนต้นหลายปี ลำต้นยาวเรียว สีเขียวหรือแดงเลื้อยตามดิน ตามข้อมีรากยึดกับดิน แต่ละข้อมีใบขึ้น 2-4 ใบ ก้านใบยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนิ้วเศษ รอบใบเป็นหยักๆ มีรูปคล้ายเปลือกหอย ออกดอกฤดูร้อน และฤดูฝน ออกดอกครั้งละ 3 ดอก สีแดงแกมม่วง เมล็ดรูปกลมรี

รส
ขมแกมหวานนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ต้มกินแก้ร้อนใน ขับลม ไล่ลม ใช้ภายนอกห้ามเลือด แก้คัน ฤทธิ์เข้าถึง ลำไส้ และกระเพาะ

รักษา
แก้ร้อนในเนื่องจากถูกแดด ปวดท้องเนื่องจากหวัดแดด ออกตุ่มร้อนตามตัว ปวดท้องเนื่องจากกามกิจหรือเนื่องจากกระเพาะเย็นในโรคผิวหนังเนื่องจากถูกหญ้ามีพิษ ใช้ภายนอกทาแก้ผิวคันเนื่องจากธาตุนํ้ามาก

ตำราชาวบ้าน
1. ตัวร้อนหรือปวดเมื่อยเนื่องจากหวัดแดด – บัวบก 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าอ้อย หรือต้มกับโด่ไม่รู้ล้ม  ครึ่งตำลึง
2. ปวดท้องเนื่องจากหวัดแดดหรือผดผื่นขึ้นและปวดท้อง – ใบบัวบก โด่ไม่รู้ล้ม หญ้าเกล็ดหอย  เสือสามขา อย่างละ 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่เหล้านิดหน่อย
3. ปวดท้องเนื่องจากมากในกามกิจ – ใบบัวบก 1 ตำลึงและโด่ไม่รู้ล้ม หญ้าเกล็ดหอย หญ้ารอยเท้าม้า  อย่างละ 1 ตำลึง ตำเอานํ้าต้มใส่เหล้า กินเวลานํ้ายังอุ่นอยู่ กากที่เหลือ พอกสะดือ
4. ปวดท้องเนื่องจากเย็นใน – ตำกับใบบัวบกจนแหลกใส่เขม่าถ่าน คั่วร้อน แล้วปั้นเป็นลูกเท่าเม็ดในลิ้นจี่ ต้มครั้งละ 1 ลูก ใส่น้ำตาลแดง
5. กินหญ้ามีพิษ – เอาใบบัวบกปริมาณมากตำแหลก แล้วกรอกปากผู้ป่วย จนผู้ป่วยอาเจียนของพิษออกหมด ถ้าใส่นํ้ามันหมูจะได้ผลมากขึ้น
6. ผิวผื่นคัน – ใช้ใบบัวบกตำจนแหลกผสมผงกำมะกันแล้วทา

ปริมาณใช้
ดิบใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งใช้ไม่เกิน 3 เฉียน ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช