ผักหวานป่า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Champereia manillana (Blume) Merr.
ชื่อวงศ์ OPILIACEAE
ชื่ออื่น ผักหวาน (สุรินทร์), ต้นผักหวาน (สกลนคร),
อาลองผักหวาน (ข่า)
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 ม. ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำไย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียว อัดกันแน่นเป็นกระจุก
ผล ผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด ผลกว้าง 1.5 ซม. ยาว 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบและเปลี่ยน เป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
นิเวศวิทยา พบตามที่ดอนเชิงเขา ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง และป่าผสม ผลัดใบที่มีสภาพดินดาน ดินปนทราย
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อนใบอ่อน ผลอ่อน มีรสหวาน รับประทาน เป็นผัก ลวกลุกเป็นผักจิ้มหรือเครื่องเคียงใช้ผัดนํ้ามัน แกงเลียง แกงส้ม แกงคั่ว ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบและราก ใช้รักษาแผล ปวดในข้อ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ราก เป็นยาเย็นแก้ร้อนในกระหายน้ำ สงบพิษไข้ แก้ดีพิการ
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย