หลักการใช้เครื่องมือทุ่นแรงฟาร์ม

รถแทรคเตอร์

ในการทำงานทุกชนิดต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานที่กระทำนั้นสำเร็จ และเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว  ดังจะเห็นได้ว่าจากการค้นคิดประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นใช้ ก็เพื่อต้องการให้งานได้รับผลอย่างดียิ่ง จากเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ทำงานอย่างเดียวกัน แต่อาจได้รับผลต่างกัน ประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมแตกต่างกันด้วย ดังนั้นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์มาก

ประโยชน์ของการใช้เครื่องทุนแรงฟาร์ม

1.  เวลาทำงานได้มาก โดย

-ใช้เวลาทำงานน้อย

-ใช้แรงงานคนช่วยน้อย

-ค่าใช้จ่ายน้อย

2.  สามารถทำงานได้หลายอย่าง เช่น

-เตรียมดินปลูกพืช

-สูบน้ำ

-การเก็บเกี่ยว

3.  สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ทันกับฤดูกาลของการปลูกพืช

4.  ช่วยแก้ไขอุปสรรคบางอย่างได้ เช่น การระบายน้ำ เมื่อน้ำท่วม

5.  สามารถช่วยให้ความเพลิดเพลินในการทำงานโดยไม่เบื่อหน่ายและไม่เหน็ดเหนื่อยเท่าที่ควร

โทษของการใช้เครื่องยนต์ฟาร์ม

1.  ต้องลงทุนซื้อตอนแรกด้วยราคาแพง

2.  ต้องปฏิบัติรักษาและการซ่อมแซมด้วยความรู้ที่แน่นอน

ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะได้รับโทษอย่างร้ายแรงต่อระบบของเครื่องยนต์หรือชีวิต

ประวัติของรถแทรคเตอร์ใช้ในฟาร์ม

รถแทรคเตอร์ได้เริ่มต้น ภายหลังจากความเจริญของเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งได้ใช้เครื่องจักรไอน้ำ เป็นต้น กำลังขับดันเพื่อการทำงาน รถแทรคเตอร์แบบนี้มีน้ำหนักหลายตัน เคลื่อนที่ไปได้ช้าๆ และเหมาะสมสำหรับงานฉุดสายพานและทำงานสำหรับสนามใหญ่ๆ

ต่อมาเครื่องยนต์ระบบเผาไหม้ภายใน คือ เครื่องยนต์ Otto ได้เริ่มมีขึ้น และได้สร้างรถแทรคเตอร์ด้วยเครื่องยนต์ชนิดนี้ก่อนปี ค.ศ.1990 แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ นี้คือความไม่สำเร็จของผู้ริเริ่ม พวกนี้ได้พยายามทดลองและวิวัฒนาการรถแทรกเตอร์จนมีความสำเร็จ

ปี ค.ศ.1900 ถึง ปี ค.ศ.1920 แนวความคิดเห็นใหม่ๆ ของผู้สร้างแทรคเตอร์ เช่นสร้างล้อ รูปร่าง น้ำหนัก และโครงร่างของรถแทรคเตอร์ แต่บริษัทรถแทรคเตอร์ไม่ตกลงในการสร้าง  เพราะว่าผู้ทำไม่มีความชำนาญถึงอย่างไรก็ตามในสมัยนี้ความคิดการสร้างรถแทรคเตอร์ได้มีเหตุผลให้มีน้ำหนักเบา สอดคล้องกับการขับขี่มีฝาปิด ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการสร้างต่อไป

ในสมัย ค.ศ.1920 ถึง ค.ศ.1930 วิวัฒนาการของรถแทรคเตอร์  ได้สร้างให้มีน้ำหนักเบาอย่างถูกต้อง และให้ทำงานได้หลายๆ อย่าง ในตอนปลายสมัยนี้ ล้อรถแทรคเตอร์ได้เปลี่ยนเป็นล้อยางอัดลมโดยตอนแรกได้ใช้ยางของเครื่องบินใส่ประกอบล้อรถแทรคเตอร์  เพื่อการทดลอง และได้รับผลสำเร็จหลังจากนี้บริษัทหลายบริษัทร่วมกันทำล้อยางรถแทรคเตอร์ขึ้นใช้ ในการใช้ล้อยางนี้ได้รับประโยชน์หลายอย่างเช่น สามารถทำงานในดินโคลนได้ และแล่นตามถนนด้วยความเร็วสูง ก็ไม่ทำให้ถนนเกิดการเสียหายขึ้น ในสมัยนี้รถแทรคเตอร์ ได้ใช้เครื่องยนต์ดีเซลแล้ว  ซึ่งครั้งแรกเครื่องยนต์ดีเซลได้ใช้กับรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบเท่านั้น และต่อมาเครื่องดีเซลก็ได้ใช้กับรถแทรคเตอร์ใส่ล้อ

ก่อน ค.ศ.1940 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผู้แนะนำของ Theree point hitch ได้ออกแบบรถแทรคเตอร์ใหม่ให้มีความสะดวกสบายขึ้น น้ำหนักเบามีอายุมากและปรับปรุงทุกๆ อย่าง

ส่วนประกอบที่ต้องปฏิบัติในการใช้รถแทรคเตอร์

เกจวัดน้ำมันเครื่อง

สวิทช์ไฟฟ้าเครื่องยนต์

คันเกียร์

ฝาปิดที่เติมน้ำมันเกียร์

ที่วางเท้า

คันเหยียบคลัช

เบรคล้อซ้าย-ขวา

คันเร่งเครื่องยนต์

เกจวัดไฟชาร์จ

โช้ค

ฝาปิดน้ำมันเกียร์

ลูกหมากคันส่ง

ที่ล็อคเบรค

คันเบรครวม

คันบังคับไฮดรอลิค

การใช้เครื่องมือทุ่นแรงในฟาร์ม

การใช้เครื่องมือทุ่นแรง ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เครื่องมือที่ใช้กับแรงเครื่องยนต์ คือรถแทรคเตอร์

หลักของการใช้รถแทรคเตอร์ มีดังนี้ คื

1.  ก่อนจะใช้รถแทรคเตอร์บริการรถ และตรวจดูรถให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่นเดียวกับการบริการรถยนต์

2.  ใช้เกียร์ต่ำในการทำงานหนัก เช่น ลากไถ เครื่องพรวน หรือเกรดดิน

3.  เครื่องมือให้เหมาะกับงานที่จะทำ เช่น ในพื้นที่ที่บุกเบิกใหม่ก็ควรใช้ไถบุกเบิกทำงาน ไม่ควรใช้เครื่องพรวนทำงานในพื้นที่นั้นๆ

4.  ในการทำงานหนักควรจะเร่งเครื่องยนต์ให้มีกำลังสูงอยู่เสมอ อย่างน้อย 800-1500 รอบต่อนาที(ชนิดที่มีรอบสูงสุด 2400 รอบ)

5.  ในตอนที่กำลังใช้ไถหรือเครื่องพรวนทำงานจะต้องเดินรถให้เป็นเส้นตรง และบังคับให้ขี้ไถเรียบ

6.  ควรยกไถในขณะที่กำลังจะเลี้ยวและปล่อยเครื่องมือทำงานลงในขณะที่รถกำลังตั้งตัวอยู่ในแนวตรงกับการไถ ในข้อนี้ถ้าใช้ไถทำงานอยู่ในขณะที่รถเลี้ยวหรือไถไม่ตั้งอยู่ในแนวตรงก็จะทำให้เครื่องมือเครื่องไถที่พ่วงอยู่ข้างหลังอาจบิดงอหรือหัก

7.  ควรระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคนขับและรถ

8.  ควรตรวจดูบริเวณที่เราจะไถหรือทำงานให้แน่ใจเสียก่อน ว่ามีความปลอดภัย หรือมีวิธีการหลบหลีกอันตรายได้อย่างไร แล้วจึงลงมือปฏิบัติงาน

9.  ก่อนจะลงมือไถหรือพรวนหรือใช้เครื่องอย่างอื่นๆ ก็ให้แบ่งที่ทำงานให้เป็นกะๆ คือหมายความว่าแบ่งที่ทำงานครั้งหนึ่ง ให้พอเหมาะพอดีกับการหมุนเลี้ยวรถเพื่อไม่ให้เสียเวลา

10.  ควรให้รถทำงานอยู่เหนือฝุ่นละออง ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรนำรถมาทำงานอยู่ทางด้านที่ฝุ่นถูกลมพัดพามา

11. ไม่ควรทำงานในเวลาฝนตกหนัก หรือในที่ที่มีดินอ่อนหรือยุบตัว

12.  ถ้ามีไม้ ก้อนหิน หรือวัตถุอื่นๆ เข้ามาขัดอยู่ตามบริเวณล้อรถ ตัวรถ คันยก ไฮดรอลิก หรือส่วนต่างๆ ของรถก็ให้รีบหยุดรถและนำสิ่งเหล่านั้นออกให้หมดจึงจะทำงานต่อไป

13.  ควรขับรถทำงานในเมื่อรู้สึกตัวว่าร่างกายแข็งแรงพอ และเมื่อรู้สึกเหนื่อยมาก ก็ควรจะได้หยุดพักหรือเปลี่ยนคนขับทันที

14.  เดินหน้าหรือถอยหลังรถ เข้าที่ทำงานให้ตรงเป้าหมาย ได้อย่างรวดเร็ว

15.  ไม่ควรเบรคเลี้ยวซ้ายหรือขวาในขณะที่รถทำงานหนัก ซึ่งอาจทำให้เครื่องมือที่ใช้ทำงานหักพังได้

16.  เครื่องมือที่จะใช้ทำงานทุกชิ้น จะต้องรู้จักปรับให้เครื่องมือนั้นทำงานได้ผลอย่างดีและรวดเร็วที่สุด

17.  ไม่ควรให้ผู้อื่นห้อยโหน หรือนั่งเกะกะในบริเวณที่นั่งขับ หรือตัวรถในเวลาทำงาน