Month: June 2012

ปัญหาในการเพาะเห็ดฟางกองสูงและกองเตี้ย

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงและกองเตี้ย

1. เส้นใยไม่เดิน

เส้นใยไม่เดินมีผลเนื่องจากหลายประการ คือ

  • เชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์มา ใช้ โดยไม่มีเชื้อโรคปน และควรเป็นเชื้อที่แข็งแรงคือ ทำการติดต่อจากดอกเห็ดไม่เกิน 10 ช่วง ควรอยู่ระหว่างช่วงที่ 3 – 7
  • ใช้ฟางเก่าที่ถูกแดดถูกฝนเพาะ ทั้งนี้เพราะฟางจะถูกจุลินทรีย์ในธรรม ชาติดูดเอาอาหารไปใช้ก่อนเชื้อเห็ดฟาง ดังนั้นฟางที่จะใช้ควรเป็นฟางที่ไม่ถูกฝน และควรเป็นฟางแห้ง
  • เพาะซ้ำที่เดิมปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบกันมาก  ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะ เห็ดฟางแบบกองสูงหรือกองเตี้ยเป็นวิธีที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ ดังนั้น ใน ขณะที่เพาะครั้งแรกจะมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อเห็ดสะสมอยู่ ทำให้ การเพาะครั้งต่อไปผลผลิตจะลดลง
  • อุณหภูมิเย็นเกินไป ทางแก้คือ ต้องใส่อาหารเสริมที่แห้งตรงกลางกอง คลุมผ้าพลาสติกให้มิดแล้วคลุมฟางให้หนา หรือสร้างโรงเรือนคลุม อีกที
Read More

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นการวิวัฒนาการมาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง โดยทำการปรับสภาพแวดล้อม และความต้องการให้สอดคล้องกับธรรมชาติและอุปนิสัยของเห็ดฟาง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนในการผลิต มีวิธีการที่ง่ายเข้า ตลอดจนใช้วัสดุในการเพาะ สถานที่ ระยะเวลาที่ไม่มากนัก รวมทั้งให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น

หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้คนพบวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อ พ.ศ. 2508 และได้เผยแพร่ให้แก่เกษตรกร ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างดี ทำให้กิจการเกี่ยวกับเห็ดฟาง ทั้งทางด้านการเพาะและการผลิตเชื้อเห็ดขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะ แบบกองสูง เช่น

1. ใช้วัสดุได้มากชนิดกว่า เช่น ตอซัง, ปลายฟาง, ผักตบชวา, ต้นกล้วย ขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น, ชานอ้อย, ขี้เลื่อย, หญ้าขจรจบ, หญ้าคา เป็นต้น

2. วิธีการไม่ยุ่งยากมากนัก ประหยัดแรงงานคน ๆ … Read More

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทยมีมานานกว่า 40 ปีมาแล้ว โดยใช้วิธี เลียนแบบธรรมชาติ ผู้เพาะส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยการนำเอาฟางมากองสุมกันไว้ แล้วนำปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นมาก่อน โรยบนกองฟาง เมื่อเชื้อเห็ดได้รับความชื้น และอุณหภูมิพอเหมาะแล้วจะเจริญออกมาอย่างรวดเร็ว ประมาณ 15-20 วัน ก็จะ มีเห็ดฟางเกิดขึ้น จะเก็บผลผลิตไปได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งฟางเน่าสลาย วิธีนี้ได้ผลผลิตไม่แน่นอน ทั้งนี้เพราะปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นอาจไม่มีเชื้อเห็ดฟางเหลืออยู่ หรือเชื้อที่อยู่ในปุ๋ยเสื่อมคุณภาพไปแล้วก็ได้

จนกระทั่ง อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ได้ทำการส่งเสริมและเผยแพร่ให้แก่ เกษตรกรโดยใช้เทคนิคและวิธีการแผนใหม่เข้าช่วยในการเพาะเห็ดฟาง นับตั้งแต่นั้น มาทำให้มีการเพาะเห็ดฟางอย่างกว้างขวาง และเป็นผลทำให้มีการเพาะเห็ดเศรษฐกิจอย่างอื่น เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดเปาฮื้อ เห็ดนางรมและเห็ดถั่ว เป็นต้น

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทย เป็นอาชีพสำคัญอีกอาชีพหนึ่งของเกษตรกร กล่าวคือ การเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรม … Read More

การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางในปุ๋ยหมัก

การทำเชื้อเห็ดฟางนับว่าง่ายที่สุดในขั้นตอนทั้งหมดของการเพาะเห็ดฟาง และสามารถใช้วัสดุได้มากมายหลายชนิด เชื้อเห็ดฟางจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่กับปุ๋ยที่จะใช้มากนัก แต่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์หรือหัวเชื้อนั่นเอง

วัสดุที่นิยมใช้กันคือ มูลของสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ มูลม้า มูลวัว มูลควาย มูลช้างและมูลของสัตว์บกต่าง ๆ ไส้นุ่น ผักตบชวา (ผักสามหาว) ต้นกล้วย เปลือกเมล็ดบัว เปลือกผลไม้ต่าง ๆ ใบไม้ และต้นข้าวโพด เป็นต้น

ตามอุปนิสัยของเห็ดฟางไม่สามารถย่อยเซลลูโลสหรือกินอาหารที่สลับซับซ้อนมาก ๆ ได้จำเป็นต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติช่วยย่อยอาหาร โดยผ่านขบวนการหมักก่อน

จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยอาหาร มีอยู่ 2 พวกใหญ่ คือ

1. พวกที่ย่อยอาหารโดยไม่ใช้อากาศ ส่วนมากได้แก่พวกแบคทีเรียต่าง ๆ

2. พวกที่ช่วยย่อยอาหารต่อเนื่องจากพวกแรก ให้อยู่ในรูปที่เห็ดนำไปใช้ ได้ … Read More

การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางในเมล็ดธัญพืช

การทำเชื้อเห็ดฟางแต่เดิมใช้วิธีตัดเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นใส่ลงในปุ๋ยหมักที่เตรียมจะทำเชื้อเห็ดโดยตรงเลย ซึ่งเบ็นวิธีการที่ยุ่งยากไม่เหมาะที่จะทำเป็นการค้า ดังนั้นจึงได้พยายามหาวิธีให้ง่ายเข้า โดยการเพิ่มเส้นใยเห็ดให้มากขึ้นในวัสดุที่ง่ายต่อการเขี่ยเชื้อ เช่น เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ ที่ได้ผลได้แก่เมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดข้าวเปลือกเจ้า เชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดธัญพืชดังกล่าวเรียกว่าหัวเชื้อ

การทำหัวเชื้อเห็ดฟาง ทำได้โดยการนำเอาเมล็ดธัญพืชล้างน้ำให้สะอาด เลือกเอาส่วนที่ลีบหรือเสียออกก่อน เมล็ดข้าวฟ่างให้แช่นํ้าทิ้งไว้ 1 คืน น้ำที่แช่ควรเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือนํ้าไหลได้ยิ่งดี เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดข้าวฟ่างบูด ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกเจ้านั้นไม่ต้องแช่น้ำเพียงแต่ล้างและเก็บส่วนเสียออกเท่านั้น เมื่อเตรียมเมล็ดธัญพืชเสร็จแล้วก็นำมาต้มพอให้เมล็ดธัญพืชบานออกเล็กน้อย จากนั้นเทเมล็ดธัญพืชลงในผ้าขาวบาง เพื่อนำไปผึ่งเกลี่ยไปมาบนกระด้ง ผึ่งจนกระทั่งเมล็ดธัญพืชอุ่น ๆ หรือหมาด ๆ จึงนำมากรอกลงในขวดประมาณครึ่งขวด อุดจุกสำลีหุ้มสำลีด้วยกระดาษ รัดด้วยยาง นำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 16-18 ปอนด์ ต่อตารางนิ้วนานประมาณ 40-45 นาที

เมื่อนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้วทิ้งไว้ให้เย็น และก่อนที่จะเขี่ยเชื้อเห็ดลงไปจะต้องเขย่าเมล็ดธัญพืชเหล่านั้นให้กระจายเสียก่อน เพราะในขณะที่ทำการนึ่งนั้นเมล็ดธัญพืชที่อยู่ก้นขวดจะขยายตัวออกอัดกันแน่นทำให้ขาดอากาศ… Read More

วิธีแยกเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด

อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่

1.  เข็มเขี่ยเชื้อ ด้ามทำด้วยโลหะหรือวัสดุทนไฟ และเป็นตัวนำความ ร้อนที่เลว ส่วนปลายเข็มเขี่ยทำด้วยลวดนิโครม หรืออาจทำง่าย ๆ โดยใช้ลวดเตา ไฟฟ้ายาวประมาณ 4 เซนติเมตร ใช้ลวดอลูมิเนียมขนาดหุนครึ่งบวกด้วยเลื่อยฉลุลึกประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วเสียบลวดลงไป ใช้ฆ้อนตอกและทุบด้ามอลูมิเนียมให้หนีบลวดไว้ให้แน่น ลับปลายลวดให้คม ดัดปลายลวดให้งอเป็นมุมฉากประมาณ .5 เซ็นติเมตร

2. ตะเกียงแอลกอฮอล์ จะใช้ตะเกียงอะไรก็ได้ แต่เชื้อเพลิงภายในต้อง เป็นแอลกอฮอล์ เพราะเวลาเผาไหม้แล้วจะไม่มีควัน

3. มีดคม ๆ

4. ตู้เขี่ย ถ้าเป็นที่ลมสงบ สังเกตจากเปลวไฟตั้งตรง จะไม่ใช้ตู้เขี่ยก็ได้ โดยทำการเช็ดพื้นให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ หรือใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำแล้วบิดหมาด ๆ ปูก็ได้… Read More

การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางบนอาหารวุ้น

เป็นขึ้นตอนการแยกเอาเนื้อเยื่อของดอกเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์เต็มที่มา เลี้ยงในอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อ สามารถแยกขั้นตอนได้ดังนี้ คือ

1. การเลือกดอกเห็ด

2. การเตรียมอาหารวุ้น

3. วิธีการเขี่ยเชื้อ

ลักษณะดอกเห็ดที่จะทำพันธุ์ คือ

1. ควรเป็นดอกเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะเชื้อเห็ดที่ได้จะ แข็งแรงมาก แต่จะให้ผลผลิตสูงหรือไม่นั้นต้องทดลองเพาะดูก่อน ถ้าให้ผลผลิตสูงก็จะเป็นเชื้อเห็ดที่ดีและแข็งแรงสามารถต่อเชื้อได้หลายช่วง แต่ส่วนใหญ่เห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมักจะมีผลผลิตต่ำ

2. หากหาดอกเห็ดธรรมชาติไม่ได้ ควรเป็นดอกเห็ดที่เก็บจากกองที่เพาะ โดยตรงไม่ควรซื้อดอกเห็ดที่จำหน่ายในตลาด วิธีการคัดเลือกดอกเห็ดจากแปลงเพาะ มีวิธีสังเกตดังนี้ คือ

ก. เลือกจากกองที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด

ข. เลือกดอกเห็ดที่กำลังตูมอยู่ มีลักษณะกลมหรือวงรีรูปไข่ (ดูรูปที่ 2)

ค. ใช้มือบีบด้านข้างดอกเห็ดดู เลือกเอาดอกที่มีด้านข้างแข็ง ซึ่งจะเป็น ดอกที่มีปลอกหุ้มหนา น้ำหนักดี บานช้า… Read More

การเพาะเห็ดฟาง

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 80 มีอาชีพ เกษตรกรรมตามบรรพบุรุษซึ่งได้ผลผลิตในแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงจะได้รับวิธีการใหม่ ๆ มาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตขึ้นนั้นเอง และเมื่อเปรียบเทียบกับการเพิ่มของประชากรแล้ว อัตราการเพิ่มของผลผลิตไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพียงพอ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ประเทศไทยอาจจะต้องประสพปัญหาการขาดแคลนอาหารได้

จากการสำรวจของกองเศรษฐกิจการเกษตร สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ แต่เรายังขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในการนำเอาทรัพยากรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบี 2520 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 48.7 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยของการปลูกข้าวนาปีได้ประมาณ 141 กก. ต่อไร่ และนาปรัง 364 กก. ต่อไร่ ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตแล้วจะขาดทุนทั้งการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง แต่ที่เกษตรกรไม่รู้สึกว่าขาดทุนเพราะการใช้แรงงานและที่ดินของตนเอง ส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวแล้วคือฟาง ในการปลูกข้าว 1 ไร่ … Read More

จำปาดะ:ต้นแห้งตายโรคใหม่ของจำปาดะขนุน(Artocarpus sp.(Merr.) Thumb)

จำปาดะขนุน (Artocarpus sp.) ไม้ผลลูกผสมระหว่างจำปาดะและขนุน เป็นไม้ผลที่มีชื่อเสียงมากของ ต.เกาะยอ จ.สงขลา ในปี 2532 พบว่า ต้นจำปาดะขนุนอายุระหว่าง 6-100 ปี แห้งตายโดยหาสาเหตุไม่ได้  สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลารายงานว่า พืชในตระกูลขนุนตายด้วยโรคอาการเดียวกันนี้จำนวน 340 ต้น เป็นจำปาดะขนุน 321 ต้น อีก 19 ต้นเป็นจำปาดะพื้นบ้านและขนุน (รายงานความเสียหายโรคต้นแห้งตายของสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา,ยังไม่ตีพิมพ์) อาการที่สังเกตพบคือมียางสีขาวไหลจากเปลือกของลำต้นหรือกิ่งของต้นที่มีอายุน้อยและสีน้ำตาลจากต้นที่มีอายุมาก เมื่อถากดูจะพบว่าด้านในของเปลือกมีแถบสีน้ำตาลเข้มยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ลึก 1 มิลลิเมตร เนื้อไม้ใต้เปลือกพบริ้วสีน้ำตาลเช่นกันผลร่วง ใบเปลี่ยนเป็นสีส้มและร่วง กิ่งและลำต้นแห้งตาย ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลายอาจตายหรือไม่ตาย ต้นที่ไม่ตายทรุดโทรมมาก หากการบำรุงรักษาดีพบว่าต้นจำปาดะขนุนที่เป็นโรคมีการสร้างเปลือกใหม่ และอาจให้ผลผลิตภายใน 3 … Read More

ฟิโลเดนดรอน:ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อต้นฟิโลเดนดรอนเพื่อใช้เป็นไม้กระถาง

ฟิโลเดนดรอน เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงามได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วไปเป็นพืชในวงศ์ Arum หรือ Family Araceae มีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์และฟิโลเดนดรอนใบมะละกอ Philodendron selloum ก็เป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาเป็นไม้ประดับ เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบความชื้นในอากาศสูง ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง เมื่อนำมาใช้เป็นไม้ประดับจึงนิยมใช้เป็นไม้ประดับภายในอาคาร ในบริเวณที่มีแสงสว่างส่องเข้าถึงบ้าง ธรรมชาติของการเจริญเติบโตของฟิโลเดนดรอนมีขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีการใช้สารชะลอการเจริญเติบโตมาใช้ชะลอความสูงของต้นขนาดพื้นที่ใบให้ได้ขนาดต้นตามต้องการ

สารพาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินบริเวณเนื้อเยื่อเจริญใกล้ปลายยอด  ทำให้เซลยืดตัวไม่ได้ ข้อปล้องสั้นลง มีผลในการชะลอความสูงและมีผลในการเพิ่มจำนวนคลอโรฟิลต่อพื้นที่ใบ ทำให้ใบมีสีเขียวเพิ่มขึ้น

ทำการทดลองโดยเพาะเมล็ดต้นฟิโลเดนดรอนในกระบะเพาะใช้ทราย ขุยมะพร้าว อัตรา 1:1 เป็นวัสดุเพาะเมื่อมีใบจริง 4-5 ใบ จึงย้ายลงปลูกในถุงเพาะแล้วนำไปเลี้ยงต่อในโรงเรือนเพาะชำ ให้ปุ๋ยเกล็ดช่วยในการเจริญเติบโตอีก 5 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูกในกระถาง

เตรียมสารละลายพาโคลบิวทราโซล โดยใช้สารพาโคลบิวทราโซลชนิดผง 40% ในอัตรา … Read More