Month: June 2012

การกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ปวยเหล็ง

ปวยเหล็ง (Spinacia oleracea) มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเซียตะวันตกเฉียงใต้เป็นพืชผักที่ต้องการอุณหภูมิเฉลี่ยในการเจริญเติบโตระหว่าง 16-18 องศาเซลเซียส แต่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ปวยเหล็งสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งสดและผลิตเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป แหล่งผลิตที่สำคัญของโลกคือ อเมริกา แคนาดา และยุโรป การผลิตผักปวยเหล็งในประเทศไทยโดยทั่วไปยังไม่ประสบผลสำเร็จเพราะสภาพอากาศของไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง และยังพบว่าเมล็ดมีความงอกต่ำ  ดังนั้นจึงทำการศึกษาหาวิธีการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ปวยเหล็งด้วยวิธีต่าง ๆ  เพื่อหาสาเหตุในการพักตัวและหาวิธีที่เหมาะสมในการเพิ่มความงอกของเมล็ดพันธุ์ปวยเหล็ง

จากการศึกษาวิธีการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ปวยเหล็ง 5 วิธี ได้แก่ แกะเปลือกผล (pericarp removal) ขัดเปลือกผลด้วยกระดาษทราย (scarification) เร่งอายุที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 72 ชม. ผ่านความเย็นที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และ 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา

Read More

ชามีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ

การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าชามีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ดื่มมากที่เดียว เพราะชามีสารประกอบ 8 อย่าง ที่บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์

1.  เทอิน เป็นสารที่กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  ทำความสะอาดสารพิษที่ตกอยู่ข้างในไต บรรเทาอาการเมื่อยล้า จิตใจสดชื่น

2.  กรดแทนนิค จะช่วยในการย่อยอาหาร  ขจัดไขมันที่ตกค้าง ทำให้ม้ามแข็งแรง ละลายอัลกอฮอล์ ลดนิโคติน และทำให้เจริญอาหาร

3.  วิตามินหลายชนิด ช่วยต้านทานโรค ป้องกันกระดูก และทำให้เส้นเลือดยืดและหดตัวได้ดีขึ้น

4.  น้ำมัน กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ระบบการเผาผลาญอาหารที่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายดีขึ้น และทำให้การทำงานของเนื้อเยื่อดีขึ้น

5.  แร่แมงกานีส ทำให้ระบบเผาผลาญอาหารที่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายดีขึ้น มีความสุขทางเพศมากขึ้น และลดอาการปวดประจำเดือน

6.  คลอโรฟิล ทำความสะอาดโลหิต ชะลอความชรา และถนอมความสวยงามของร่างกาย (กรณีของชาเขียว)… Read More

อายุขัยของกุหลาบ

หลายเล่มมาแล้วผมเคยเขียนเรื่อง “ข้อควรพิจารณาในการเริ่มทำสวนกุหลาบตัดดอก” ส่งมาในนามของกลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่  ด้วยเจตนาจะเตือนคนที่คิดจะกระโดยลงมาทำสวนกุหลาบตัดดอก ให้พิจารณาทุกแง่มุมโดยถี่ด้วนเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่เอาเงินมากทิ้งลงดินเสียเปล่า ๆ แต่หลังจากเรื่องนั้นได้แจกจ่ายออกไปให้บรรดาผู้สนใจและตีพิมพ์ในเคหการเกษตรแล้วก็ยังมีผู้ที่ใจถึงที่ไม่เคยปลูกกุหลาบจริงจังมาก่อน ลงมือปลูกกันเป็นหมื่นหลายหมื่น หรือวางเป้าไว้เป็นแสนต้นก็มี  โดยไม่ทราบว่าได้อ่านเรื่องที่ผมเขียนหรือไม่

วารสารไม้ดอกของต่างประเทศฉบับหนึ่งไม่นานมานี้ มีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าบรรดาผู้ที่เป็นเจ้าของเนอร์สเซอรี่ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นงานของเขาตั้งแต่ทำเป็นงานอดิเรกในสวนหลังบ้าน เมื่อเรียนรู้อะไร ๆ และมีประสบการณ์พอแล้วจึงขยายกิจการ ลาออกจากงานประจำมาทำเต็มเวลา และคนทำเนอร์สเซอรี่จะไม่กู้เงินเขามาทำ หรือถ้ากู้มาก็กู้ระยะสั้นแล้วรีบใช้คืนโดยเร็วที่สุด เขาไม่ให้อรรถาธิบายในรายละเอียดมากกว่านั้น  แต่ก็คงพอจะจับเค้าได้ว่า การปลูกต้นไม้เป็นอาชีพนั้นไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์นานพอสมควร  ดังนั้นจึงเริ่มใหญ่ไม่ได้  เหตุผลที่เขาไม่ได้บอกไว้ซึ่งผมมาทบทวนดูแล้ว คิดว่าคงเป็นเพราะการปลูกต้นไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ดอกเราต้องอาศัยธรรมชาติอย่างมาก ในขณะที่ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรวนเรอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่อาจคาดหมายอะไรได้  นอกจากนั้นการควบคุมธรรมชาติหรือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับต้นไม้แต่ละชนิดก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หรือถ้าทำได้ก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง การทำเนอร์สเซอรี่หรือการทำสวนจึงมีความเสี่ยงมากในด้านการผลิต ไม่เหมือนการผลิตทางอุตสาหกรรม

ที่ว่าประสบความสำเร็จนั้นจะดูกันเมื่อไหร่จึงจะถือว่าสำเร็จ อาจารย์ทางด้านไม้ดอกระดับหัวหน้าภาควิชาท่านหนึ่งบอกผมว่า ในความเห็นของท่าน คนที่ทำสวนไม้ดอกที่จะถือว่าประสบความสำเร็จนั้นควรจะตลอดรอดฝั่งมาได้ตลอด 10 ปีเสียก่อน ฟังดูแล้วทำให้รู้สึกว่าคนที่อยู่ในวงการนี้ … Read More

การปลูกไม้เพื่อค้ำยันต้นไม้

นานมาแล้ว ผู้เขียนได้เขียนบทความเรื่อง “ปัญหาเรื่องการปลูกค้ำยันต้นผลไม้” ลงในหนังสือ “กสิกร” ปีที่ 33 เล่มที่ 5 ประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ.2503 หน้า 409-416 ในบทความได้นำเอาความเห็นของนักพืชสวนชั้นนำของอเมริกา  และความเห็นอิงวิชาการของผู้เขียนเองมาแสดงให้ปรากฎ  โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้นักวิชาการไม้ผลและชาวสวนได้รับทราบความเห็นของนักพืชสวนระดับอินเตอร์ที่มีต่อการใช้ต้นเพาะเมล็ดปลูกค้ำยันต้นส้มและทุเรียน ซึ่งนิยมกันมากในสมัยนั้น เพราะเชื่อว่าการค้ำยันเช่นนี้ทำให้ต้านลมได้ดี และโตเร็วกว่าต้นที่มิได้ถูกค้ำยัน  ความเชื่อเลยเถิดไปถึงว่า ยิ่งค้ำมากยิ่งดี จึงเห็นการค้ำยันด้วยต้นตอ 3-4 ต้นเป็นภาพธรรมดา ๆ

หลังจากบทความถูกตีพิมพ์ออกไปแล้ว  กระแสความสนใจการทำค้ำยันไม่สามารถวัดได้เด่นชัด ประโยชน์ของการทำการค้ำยันก็ยังมีการพูดถึงในหมู่นักส่งเสริม และการค้ำยันส้ม ทุเรียนก็ยังคงอยู่ ส่วนที่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำการค้ำยันก็คงมีอยู่บ้างแต่วัดไม่ได้  แม้เวลาผ่านมาถึง 35 ปีแล้ว  การปลูกไม้เพื่อค้ำยันต้นไม้ยังพอมีให้เห็นทั้งในสวนเอกชน และสถานีทดลองของราชการ นอกจากนั้นความคิดเรื่องประโยชน์ของการปลูกไม้ค้ำยันต้นไม้ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนในหมู่นักวิชาการและนักส่งเสริมบางท่านเหมือนเดิม  ที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะหลายสาเหตุ เช่น

1.  … Read More

มะขามเทศ:พืชเด่นของพื้นที่ดินเค็มและดินเปรี้ยว

สภาพดินของแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยมีความแตกต่างกัน บริเวณจังหวัดสมุทรสาครจัดว่าเป็นพื้นที่ดินเค็มและดินเปรี้ยว เกษตรกรยึดอาชีพปลูกไม้ผล และเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง แต่การปลูกไม้ผลส่วนใหญ่แล้วจะพบปัญหาพืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้เต็มที่ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำทำให้เกษตรกรหลายรายขาดทุนไปตาม ๆ กัน ในช่วงที่เกษตรกรเกิดปัญหานั้นก็ค้นพบพืชตัวใหม่ที่ทนดินเค็มและดินเปรี้ยวมาปลูกทดแทนไม้ผลอื่น ๆ มะขามเทศจึงถือได้ว่าเป็นพืชเด่นของพื้นที่ดินเค็มและดินเปรี้ยว ถึงแม้มะขามเทศจะมีข้อจำกัดตรงที่มีผู้นิยมบริโภคน้อยและเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน แต่เมื่อชาวสวนไม่สามารถทำการเกษตรอย่างอื่นที่ดีกว่าได้ มะขามเทศจึงเป็นพืชทางเลือกหนึ่งในขณะนี้

คุณบุญส่งเหรียญทอง  เป็นเกษตรกรอีกท่านหนึ่งที่หันมาปลูกมะขามเทศเป็นอาชีพ เมื่อก่อนเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปลูกมะพร้าว มะม่วง กระท้อน มะนาว ส้ม พืชเหล่านี้ปลูกไปแล้วเมื่อเพิ่มให้ผลผลิตต้นไม้ผลเหล่านี้ก็เกิดอาการยืนต้นตาย เหี่ยวเฉาและทยอยตายไป  พอหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำก็ต้องประสบปัญหาและขาดทุน ดังนั้นเมื่อเห็นคนข้างบ้านเขาปลูกมะขามเทศให้ผลผลิตดีและมีรายได้ดีจึงได้ซื้อกิ่งพันธุ์จากสวนข้างเคียงมาปลูกโดยเริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2533 ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกมะขามเทศทั้งหมด 30 กว่าไร่  พื้นที่แห่งนี้เป็นมกดกตกทอดมาจากพ่อแม่  ฉะนั้นจึงต้องทำการเกษตรต่อไป  คุณบุญส่งทดลองนำพืชอื่น ๆ มาปลูกในสวนแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมีเพียงมะขามเทศเท่านั้นที่ทนดินเค็มและดินเปรี้ยว  ถึงแม้มะขามเทศจะมีข้อจำกัดอยู่หลายข้ออาทิเช่น ติดผลน้อย เน่าเสียง่าย ต้องพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงบ่อย … Read More