Category: การเพาะและขยายพันธุ์พืช

วิธีการ และความรู้ เรื่องการเพาะและขยายพันธุ์พืช ทั้งพืชไร่ พืชสวน พืชทุกชนิด

ประวัติการปลูกสตรอเบอรี่ในเมืองไทย

การปลูกสตรอเบอรี่ที่แม่สาย


ประวัติการปลูกสตรอเบอรี่ในเมืองไทย

ก่อน พ.ศ.2512  ในจังหวัดเชียงใหม่มีการปลูกสตรอเบอรี่  แต่ยังไม่แพร่หลาย  อาจเนื่องมาจากพันธุ์ที่ใช้ปลูกกัน(ที่เรียกว่าพันธุ์พื้นเมือง) ไม่เหมาะสม คือ ผลผลิตต่ำ ขนาดเล็ก รสชาติไม่ดี รวมทั้งเนื้อนิ่มช้ำง่าย ไม่สามารถส่งไปจำหน่ายไกล ๆได้  นอกจากนั้นวิธีปลูกปฏิบัติก็ไม่เหมาะสมรวมทั้งความรู้ในเรื่องโรคและแมลง  ของสตรอเบอรี่ยังไม่กว้างขวางพอทำให้อาชีพการทำสวนสตรอเบอรี่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 ภาควิชาพืชสวนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับโครงการหลวงภาคเหนือทำพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูก  เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสม ณ สถานีไม้ผลเมืองหนาว ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนหลายสิบพันธุ์และได้พบว่ามีพันธุ์สตรอเบอรี่หลายพันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์ที่ปลูกกันมาดั้งเดิม (พันธุ์พื้นเมือง)  ได้แก่พันธุ์เบอร์ 13 (แคมบริดจ์เฟเวอริท), เบอร์ 16 (ไทโอก้า, เบอร์ 20 (ซีกัวยา)  และในปี พ.ศ.2516  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานสตรอเบอรี่พันธุ์ดีทั้งสามพันธุ์นี้แก่ชาวสวนนำไปปลูกกัน จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน … Read More

วิธีการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูของกุหลาบ

แมลง

1. แมลงปีกแข็ง (Beetle)  บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวดำและสีน้ำตาล  มีขนาดลำตัวยาวประมาณ ½-1 ซม.  ออกหากินในเวลากลางคืน ระหว่าง 1-3 ทุ่ม  โดยการกัดกินใบกุหลาบในเวลากลางวันอยู่ตามกอหญ้า  ป้องกันโดยมีโปรแกรมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเช่น คลอเดน หรือเซวิน และกำจัดด้วยการดักจับตัวแมลงด้วยมือ

2.  ผึ้งกัดใบ (Cutter bee)  จะกัดใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเรียบเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคม ๆ เป็นรูปโค้ง (ส่วนของวงกลม)  อย่างสม่ำเสมอ

3.  เพลี้ยไฟ (Thrips)  เป็นแมลงปากดูดตัวสีน้ำตาลถึงสีดำ  ตัวอ่อนมีสีขาวนวล  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก  ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน  ระบาดมากในฤดูร้อน  ป้องกันโดยมีโปรแกรมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเป็นประจำ  อาจใช้ โตกุไทออก คลอเดน … Read More

โรคราสนิม,โรคแอนแทรคโนส,โรคหนามดำ,โรคราสีเทาในกุหลาบ

3.  โรคราสนิม (rust)  โรคนี้มักจะเกิดกับกุหลาบในช่วงฤดูฝนเท่านั้น  ไม่ทำลายร้ายแรงมากนัก  มักจะเกิดกับใบแก่ โดยมีจุดสีส้มปรากฎอยู่ทางด้านบนของใบ  ถ้ามองผ่านไปทางใต้ใบจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง  ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้ใบเหี่ยวและร่วงหล่นไป ป้องกันโดยการฉีดพ่นยาที่มีส่วนผสมของกำมะถัน

4. โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) พบในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับโรคราสนิม  จะเกิดจุดสีน้ำตาลเป็นวงกลมขนาดประมาณ ¼ นิ้ว  วงนี้จะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวขอบสีม่วง เกิดกับใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนป้องกันโดยมีโปรแกรม พ่นยากันราที่ใช้กับโรคอื่นๆ อยู่แล้ว

5.  โรคหนามดำ (brown canker) เกิดกับหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ  ตามกิ่งก้านทำให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด  ยาที่ฉีดพ่นป้องกันโรคราอื่น ๆ จะมีผลคุ้มครองโรคนี้ด้วย

6.  โรคราสีเทา (gray woldrot)  มักจะเกิดกับดอกกุหลาบในขณะที่ยังตูมอยู่  จะระบาดเฉพาะในที่ที่ มีอากาศเย็นและชื้นเท่านั้น … Read More

โรคใบจุดในกุหลาบและวิธีการป้องกัน

2.  โรคใบจุด (Black spot) เป็นโรคที่ผู้เลี้ยงกุหลาบรู้จักมักคุ้นมากเพราะเป็นกับกุหลาบเกือบตลอดปี  ซึ่งทำความเสียหายอย่างร้ายแรง  ใบกุหลาบที่เป็นโรคนี้  จะมีจุดวงกลมสีดำ ที่ผิวด้านบนของใบ  จุดนี้จะขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝน  ที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างมาก ๆ ขนาดของวงอยู่ระหว่าง ½ -1 ซม. ในวงกลมนี้ ประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กคล้ายขนปุย ๆ และมีก้อนสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่บนเส้นใยด้วย  นอกจากบนใบแล้ว  ตามก้านใบจะพบแผลวงกลมในขณะเดียวกัน ทำให้ใบเหลืองและร่วงไปในที่สุด  มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

เกิดจากเชื้อราที่เรียกว่า “ดิฟโพลคาร์พอน โรเซ วู๊ดฟ์” (Diplocarpon rosae walf) จะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในลักษณะอากาศร้อนและชื้น  ฉะนั้นสภาพของเมืองไทยจึงช่วยให้เชื้อนี้ระบาดอย่างรวดเร็ว  โดยสปอร์ของเชื้อรา จะปลิวไปตามลมหรือการชะล้างของน้ำ … Read More

ลักษณะและวิธีการป้องกันโรคราแป้งในกุหลาบ

โรค


1.  โรคราแป้ง (powdering mildew) โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งสำหรับกุหลาบ ที่ได้ชื่อว่า โรคราแป้ง  เนื่องจากเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้มีลักษณะเป็นผงสีขาว ๆ คล้ายผงแป้งเคลือบอยู่บนผิวใบ  ทั้งด้านบนและด้านท้องใบ  เกิดขึ้นกับใบอ่อนของกุหลาบ เนื้อเยื่อส่วนที่ราเกาะอยู่จะพองออก (ชาวบ้านเรียกโรคใบพอง) ทำให้ใบบิดงอ  ถ้าเป็นมาก ๆ จะมองเป็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีม่วงถึงดำ และร่วงหล่นไปในที่สุด  ทำให้ต้นแคระแกร็น  ถ้าเป็นกับดอกตูม ดอกจะไม่บาน  หากรานี้เกิดกับใบแก่  อันตรายไม่มากนัก  แต่ควรจะกำจัดโดยการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก

ราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้แก่ “เพฟโรธีค่า แพนโนซ่า ”(Sphaerotheca pannosa)  ระบาดมากในท้องที่ ๆ มีอากาศหนาวเย็นและมีน้ำค้างจัด แพร่เชื้อโดยสปอร์ปลิวไปตามลม  ป้องกันด้วยการฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง  หรือกำมะถันผงชนิดละลายน้ำ  ซึ่งการใช้กำมะถันผงนี้  ถ้าใช้ในวันที่มีอากาศร้อนจะทำให้ใบไหม้  ดังนั้นควรฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น

Read More

หลักในการตัด(เฉพาะกุหลาบตัดดอก)

หลักในการตัด (เฉพาะกุหลาบตัดดอก)

1.  ตัดกิ่งตายออก  ได้แก่กิ่งที่แห้งตาย  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกิ่งในพุ่มและแขนง  จะมีสีดำหรือสีน้ำตาล

2.  ตัดกิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่แมลงทำลายออก  เช่น กิ่งที่เป็นหนามตำ  กิ่งที่มีเพลี้ยแป้ง  หรือเพลี้ยหอยเกาะกิน  ควรจะตัดให้หมดเนื้อไม้ที่เป็นโรค  หรือหมดส่วนที่ถูกแมลงเกาะกินออกให้หมด

3.  ตัดกิ่งไขว้กันออก  คือกิ่งที่เจริญเข้าไปในพุ่ม  รวมทั้งกิ่งที่ห้อยย้อยไปคลุมเกะกะต้นอื่น

4.  ตัดกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากต้นตอ  ใต้บริเวณติดตาออก

5.  ตัดกิ่งที่ล้มเอน  เกะกะซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา

6.  ตัดกิ่งแก่ที่ไม่ต้องการออก

7.  ตัดกิ่งให้สั้นลงตามต้องการ  ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์  สภาพต้นพืชและลักษณะอาการในแต่ละท้องที่  ส่วนมากการตัดกิ่งให้สั้นลงนี้มักจะมี 3 ขนาด หรือ 3 แบบ  แล้วแต่ความเหมาะสม  ดังนี้

–  … Read More

วัตถุประสงค์ในการตัดดอกและการตัดแต่งกิ่งกุหลาบ

การตัดดอก


หลังจากการปล่อยให้กิ่งข้างที่แตกจากตาที่โคนใบที่มีใบย่อย 5 ใบ กิ่งข้างนี้จะเจริญเป็นตาดอกในที่สุด การตัดดอกไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่าย  จะต้องยึดหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ “ตัดให้เหลือใบที่มีใบย่อย 5 ใบ ติดอยู่กับกิ่งนั้นอย่างน้อย 2 ช่อใบ”  ถ้าตัดไปจนหมดถึงโคนกิ่งจะให้ต้นโทรมเร็ว  กิ่งที่แตกมาใหม่มีขนาดเล็ก ขนาดดอกเล็กลง ก้านดอกสั้นและบางกิ่งอาจไม่ให้ดอกอีกเลย

การแต่งกิ่ง

วัตถุประสงค์ในการตัดแต่งกิ่ง

ก.  เพื่อทำให้พุ่มเตี้ยลง  หรือปรับปรุงทรงของพุ่มต้นให้ดีขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบมีการเจริญเติบโตตลอดเวลา  ถ้าปลูกนานไปพุ่มต้นจะสูงเกินไป  จึงต้องตัดแต่งให้เตี้ยลง

ข.  เพื่อบังคับให้มีการแต่งกิ่ง จากส่วนล่าง ๆของต้น  ซึ่งมักจะเป็นกิ่งขนาดโตที่เราเรียก “กิ่งกระโดง”  ผลที่ได้จากกิ่งเหล่านี้  จะมีขนาดใหญ่ขึ้น

ค.  เป็นการขจัดโรคและแมลงที่ติดอยู่กับกิ่ง  ก้านและใบให้หมดไป

กรรไกรที่ใช้ใบในการการตัดแต่งกิ่ง ควรจะเป็นกรรไกรมีด้ามสั้นแบบโค้ง  ถ้าเป็นยี่ห้อเพลโก้ควรจะเป็นเบอร์ … Read More

การเด็ดยอดและการปลิดดอกเพื่อให้ได้กุหลาบที่มีคุณภาพ

การเด็ดยอดและการปลิดดอก

การปลูกพืชทุกชนิดหรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ก็ตามที  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลี้ยงดูให้ต้นพืชหรือสัตว์นั้น ๆ เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ถึงขนาดเจริญเต็มวัยพอสมควร  จึงจะปล่อยให้ออกดอกออกผลหรือออกลูกออกหลาน

กุหลาบก็เช่นเดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นกุหลาบจากกิ่งตัดชำ กิ่งตอน  หรือการติดตาบนต้นพันธุ์ดีก็ตาม  จะต้องเลี้ยงดูจนต้นสมบูรณ์ได้ขนาดก่อนใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน  ถ้าในระหว่าง 3 เดือนนี้  กุหลาบแทงดอกออกมาให้เป็นควรรีบปลิดทิ้งทันที  อย่าทั้นให้ดอกโตและบานได้  เมื่อปลิดดอกแล้วยอดที่ถูกปลิดออกจะเริ่มแตกยอดใหม่หลาย ๆ ยอด  แต่ควรจะเก็บเฉพาะยอดที่เกิดจากโคนใบที่มีใบย่อย 5 ใบเท่านั้น และเป็นยอดที่ตรงที่สุด ยอดลักษณะนี้จะเจริญได้กิ่งยาวและเมื่อดอกเริ่มบานจะเป็นดอกที่มีขนาดและความยากของกิ่งที่มีคุณภาพ

สรุปได้ว่าการปลูกกุหลาบจะต้องมีการเด็ดยอดเช่นเดียวกันกับไม้ดอกหลาย ๆ ชนิด ยอดที่ว่านี้อาจจะเป็นตาดอก หรือยังไม่เป็นฟอร์มตาดอกก็ได้

การเด็ดยอดควรจะเด็ดให้กิ่งที่มีใบย่อย 5 ใบ  โดยเด็ให้ชิดข้อที่สุด  กิ่งที่แตกใหม่จึงจะเป็นกิ่งที่สมบูรณ์

Read More

การคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นและความโปร่งของดินในแปลงกุหลาบและข้อควรระวัง

กุหลาบ(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

การคลุมดิน


เนื่องจากกุหลาบต้องการความชื้นสูง  และอากาศในดินดี  เพื่อที่จะช่วยรักษาความชื้นและความโปร่งของดินในแปลง  ให้เป็นไปตามต้องการของกุหลาบ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวัสดุที่หาง่าย  ราคาถูก หรือไม่จำเป็นต้องซื้อหาเช่น  หญ้าแห้ง  ฟาง  เปลือกถั่วลิสง  ซังข้าวโพด  ชานอ้อย  ขุยมะพร้าว  หรือแกลบดินอย่างใดอย่างหนึ่ง  มาคลุกดินในแปลงรอบ ๆต้นกุหลาบ  หนาประมาณ 2-3 นิ้ว

ข้อควรระวัง ในการใช้วัสดุคลุมดินที่ยังไม่สลายตัว  จะทำให้เกิดปัญหาการขาดอ๊อกซิเจนเกิดขึ้นกับกุหลาบได้  ดังนั้นจึงควรเติมปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนเช่น แอมโมเนียมซัลเฟตหรือ ยูเรียลงไปด้วยทุกครั้งที่คลุมดินเพื่อป้องกันไว้ก่อน  ไม่ควรเติมในปริมาณที่มากเกินไป  ถ้าเป็นไปได้ก่อนคลุมดินควรหาทางทำให้วัสดุที่คลุมชื้นหรือเปียกเสียก่อน  มิฉะนั้นแล้วจะเป็นปัญหาเรื่องความชื้น  เพราะวัสดุที่ใช้คลุมเปียกน้ำได้ยาก  ถ้าไม่ทำให้ชื้นก่อนจะต้องรดน้ำในระยะแรกบ่อย ๆ และหลาย ๆ ครั้ง  มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาการขาดน้ำตามมา  กุหลาบอาจจะเหี่ยวเฉาได้

นอกจากวัสดุคลุมดินจะช่วยรักษาความชุ่มชื้น และการถ่ายเทอากาศในดินแล้ว  … Read More

การใช้สารเคมีโปแตสเซียมไนเตรทบังคับให้มะม่วงออกดอกควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง

ขอย้อนกลับมาถึงการใช้สารเคมีโปแตสเซียมไนเตรท  บังคับให้มะม่วงออกดอกว่าควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง

  • ประการแรก  ควรดูอายุของกิ่งมะม่วงที่อยู่ปลายสุดด้วย  เพราะมะม่วงเป็นพืชที่ออกดอกที่ปลายกิ่งแก่  เช่นเดียวกับลำใย  และเงาะ  โดยทั่วไปมะม่วงจะแตกยอดอ่อนปีละ 1-3 ครั้ง  แล้วแต่อายุและพันธุ์ มะม่วงมีอายุน้อยจะแตกกิ่งหลายครั้งใน 1 ปี มะม่วงอายุ 6-7 ปี มักจะแตกใบอ่อนปีละ 1 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝน  ถ้ามะม่วงแตกกิ่งอ่อนครั้งสุดท้าย  ในช่วงเดือนตุลาคม  อายุของกิ่งก็จะน้อยเกินไป  อายุของกิ่งที่แก่พอที่จะใช้บังคับให้ออกดอกควรมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุมากขึ้นก็ยิ่งดี
  • อีกอย่างหนึ่งที่พอจะสังเกตดูได้จากลักษณะภายนอก  ได้แก่ใบ  ใบที่อยู่ที่ปลายกิ่งจะต้องแก่จัดมีสีเขียวเข้ม  เมื่อขยำใบดูจะกรอบและมักจะมีเสียงดังแกร๊บ  ส่วนตาที่อยู่ปลายกิ่งต้องเป็นตาที่สมบูรณ์ไม่บอด  ไม่มีโรคแมลงรบกวน
  • การใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทนั้นมีอยู่หลายรูป เช่น ในรูปของดินปะสิว  ในรูปของปุ๋ย ในรูปของสารที่นำเอาไปผสมเป็นยา หรือในรูปของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ สารโปแตสเซียมไนเตรททุกรูป 
Read More