Category: การเพาะและขยายพันธุ์พืช

วิธีการ และความรู้ เรื่องการเพาะและขยายพันธุ์พืช ทั้งพืชไร่ พืชสวน พืชทุกชนิด

แหล่งปลูกที่ทำให้มะม่วงออกดอกดีหรือออกดอกก่อนฤดู

เกี่ยวกับแหล่งปลูกนี้  คุณประทีป  กุณาศล  นักวิชาการสถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตรได้เสนอข้อสังเกตดังนี้  มะม่วงที่ปลูกในสภาพสวนยกร่อง  มีโอกาสที่จะบังคับให้มะม่วงออกดอกหรือออกดอกก่อนฤดูได้ง่ายกว่ามะม่วงที่ปลูกในสภาพพื้นที่ไร่ที่อยู่ทางเหนือ  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมมะม่วงที่ปลูกบริเวณกรุงเทพฯ หรือ สวนยกร่องทั่วไป  พอมีปัจจัยบางอย่าง เช่น  ความหนาวเย็น หรือสารเคมีบางชนิดมากระทบเพียงเล็กน้อย  ก็อาจทำให้มะม่วงพันุ์ที่ออกดอกง่าย ๆ เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้หรือหนองแซงออกดอกได้ จากรายงานของฟิลิปปินส์ได้นำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของเราไปปลูกที่ฟิลิปปินส์ และได้บังคับให้ออกดอกก่อนฤดูได้ดี  ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพอากาศของฟิลิปปินส์ในฤดูหนาวและฤดูร้อนแตกต่างกันน้อยกว่าอากาศทางภาคเหนือ หรือภาคกลางของเรา  พอมีผลกระทบจากโปแตสเซียมไนเตรทเพียง 1 เปอร์เซนต์  ก็สามารถทำให้มะม่วงออกดอกได้ดี ในบ้านเราต้องใช้ถึง 2.5 เปอร์เซนต์ซึ่งสิ้นเปลืองกว่าและยังเสี่ยงต่อการทำให้ใบมะม่วงไหม้อีกด้วย

 

แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง  การที่มะม่วงทางเหนือออกดอกทีหลังภาคกลางประมาณ 1 เดือนก็นับว่าเป็นผลดี  เพราะจะได้มีมะม่วงทะยอยออกสู่ตลาด  ทำให้ลดการแข่งขันของมะม่วงแต่ละแห่ง  ในอนาคตถ้าพัฒนาการปลูกมะม่วงให้ดีขึ้น  โดยปลูกให้ได้ผลผลิตดีทั้งภาคใต้ กลาง อิสาน

Read More

วิธีที่จะทำให้มะม่วงออกดอกดกหรือออกดอกก่อนฤดู

มีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้มะม่วงออกดอกดกหรือออกดอกก่อนฤดู  ได้มีนักวิชาการเกษตรทำการทดลอง โดยใช้สารเอทธีฟอนกับมะม่วงหลายพันธุ์ในบ้านเรา  แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522-2524  นักวิชาการประเทศไทยหลายคณะได้ทำการทดลองโดยใช้ โปแตสเซียมไนเตรท กับมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อเร่งให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดู  ผลการทดลองสรุปได้ว่า โปแตสเซียมไนเตรท  สามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดูได้จริง  แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของต้นมะม่วง สภาพความชื้นภายในดิน แหล่งปลูก พันธุ์ อายุของกิ่ง เป็นต้น

สำหรับสภาพความชื้นภายในดิน  คงไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก แต่จะขอกล่าวถึงสภาพของแหล่งปลูกในสภาพสวนยกร่องและพื้นที่ เช่นดินร่วนปนทรายแถบอำเภอบางคล้าตอนบน จังหวัดฉะเชิงเทรา  ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง  คุณมนตรี  วงศ์รักพาณิช  และคณะเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร  ได้ไปทำการทดลองใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทและสารอื่น ๆ เพื่อเร่งให้มะม่วงออกก่อนฤดู สวนที่ทำการทดลอง  สามารถสูบน้ำออกจากร่องสวนภายในเดือนตุลคม  ปรากฎว่าการใช้โปรแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5

Read More

ปัจจัยที่ทำให้มะม่วงออกดอกได้ดี

ทำอย่างไรมะม่วงจึงจะออกดอกดี

คุณประทีป  กุณาศล  นักวิชาการสถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร  ได้กล่าวว่ามะม่วงจะออกดอกดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้

1.  ความอุดมสมบูรณ์ของต้นมะม่วง มะม่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป  จะเริ่มให้ผล ถ้าต้นมะม่วงสมบูรณ์มีการเจริญเติบโตดี  ซึ่งขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลคราวที่แล้ว ก็ต้องมีการให้รางวัลด้วยปุ๋ยมูลวัว 1 ปี๊ปต่อต้น  โรยบริเวณแนวทรงพุ่มพร้อมทั้งเสริมด้วยปุ๋ยเคมีเกรด 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัมต่อต้น  มะม่วงก็จะงดงามพร้อมที่จะให้ดอกให้ผลต่อไป  โดยที่มะม่วงนี้จะต้องไม่มีโรคแมลงรบกวน  ซึ่งต้องคอยหมั่นตรวจดูเสมอว่ามีแมลงประเภทเพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แนะหนอนปลอก เข้าทำลายหรือไม่  ถ้าตรวจพบควรใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมพ่นป้องกันกำจัดเสีย

2.  ความชื้นภายในดินบริเวณต้นมะม่วง สวนมะม่วงที่ปลูกอยู่ในสภาพสวนยกร่อง  ต้องสูบน้ำออกจากสวนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป  ทั้งนี้เพื่อลดความชื้นภายในดิน  ในปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน  มะม่วงดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้น้อย จึงทำให้ระดับไนโตรเจนภายในต้นมะม่วงลดต่ำลง  … Read More

กุหลาบที่เป็นต้นตอพันธุ์ที่ดีในการขยายพันธุ์

จากการทดลองของ น.ส. ณัฐยา สามพระยา  เมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นการศึกษาความเจริญเติบโตของกุหลาบ พันธุ์มีส ออล อเมริกัน บิวตี้ (Miss All American Beauty) บนต้นตอพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลูกในกระถาง ผลการทดลองปรากฎว่า

ต้นตอ โรซ่า มัลติฟลอร่า (R. multiflora) ให้ผลดีที่สุด แม้ว่าจะมีช่วงอายุการให้ดอกช้ากว่าต้นตอพันธุ์อื่น ๆ ทำให้ต้นพันธุ์ดีที่นำมาติด  มีการเจริญเติบโตดี  ให้ดอกขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว ส่วนต้นตอ โรซ่า ด๊อกเตอร์ ฮุย (Rosa Dr. Heuy) ให้ผลดีรองลงมา  ดอกที่ได้มีขนาดย่อมแต่ดอกดกกว่า  … Read More

กุหลาบพันธุ์ต่างๆที่ใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะสรรหากุหลาบที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอ  โดยคัดเลือกจากพันธุ์กุหลาบป่าที่มีระบบรากดี  ทรงพุ่มแข็งแรง  ทนหนาว ทนร้อน มีอายุอยู่ได้นาน ต้านทานโรค  เช่น.-

1.  โรซ่า มัลติฟลอร่า (Rosa multiflora) มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น  มีระบบรากดี ทรงพุ่มแข็งแรง ช่อดอกใหญ่ อายุยืน ทนหนาว ทนร้อน ทนต่อโรคใบจุด (black spot) แต่ไม่ทนต่อโรคราขาว (powdery mildew) และโรคเหี่ยว(verticillium wilt) มีข้อสั้น

อีกประการหนึ่งคือ กุหลาบต้นนี้ดูดธาตุโบรอนและคลอรีน สะสมไว้ในใบมากกว่ากุหลาบชนิดอื่น ๆ จึงเป็นผลให้พันธุ์ดีเกิดอาการไหม้ตามขอบใบในฤดูร้อน

 

2. โรซ่า อินดิค่า (Rosa indica) … Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการต่อกิ่งและการติดตา

การต่อกิ่ง (grafting)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  นิยมทำกับกุหลาบที่ปลูกในกระถาง  ไม่นิยมทั่วไป  เพราะเสียเวลาและไม่มีความแน่อน  อีกทั้งต้องใช้ฝีมือพอสมควร

การติดตา (budding)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะสามารถขยายพันธุ์ดีได้เร็วกว่า คนที่มีความชำนาญในการติดตา  จะสามารถทำการติดตาได้มากกว่า 1,000 ต้นต่อวัน ต่อสองคน อีกทั้งยังสามารถคัดเลือกต้นตอทีเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่น  และแต่ละพันธุ์ของกุหลาบพันธุ์ดีที่จะนำมาติด

นอกจากนี้  ถ้าตาพันธุ์ดีที่นำมาติดสามารถเข้ากันได้ดีกับต้นตอ  จะช่วยส่งเสริมความดีเด่นในลักษณะต่าง ๆ ของกุหลาบพันธุ์ดีที่นำมาติดด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นกุหลาบที่ใช้เป็นต้นตอส่วนมากจะมีระบบรากที่แข็งแรงกว่ากุหลาบพันธุ์ดี  ทำให้การปลูกกุหลาบแต่ละครั้งมีอายุให้ผลยาวนานและผลผลิตสูงกว่าการปลูกกุหลาบจากการตอนกิ่ง  หรือการตัดชำ

กุหลาบที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ส่วนมากเป็นกุหลาบป่า (Wild species) หรือกุหลาบเลื้อยบางพันธุ์  กุหลาบแต่ละชนิด แต่ละพันธุ์ ใช่ว่าจะเป็นต้นตอที่ดีที่สุดของกุหลาบพันธุ์ดีทุกพันธุ์เสมอไป

Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการตอนกิ่ง

การตอนกิ่งกุหลาบ

ก.  การตอนแบบทับกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์กุหลาบเลื้อยที่ทำกันมานานแล้ว  ปัจจุบันยังมีทำกันอยู่บ้าง  ด้วยเหตุที่ให้ผลดีและแน่นอน  มีข้อเสียอย่างเดียวคือได้จำนวนน้อยและเสียเวลา

กิ่งที่ใช้ตอน  ควรจะเป็นกิ่งที่เคยให้ดอกมาแล้ว (ไม่อ่อนเกินไป) เป็นกิ่งอวบสมบูรณ์  ควั่นกิ่งให้ห่างจากยอดประมาณ 6-8 นิ้ว ความยาวของรอยควั่นประมาณครึ่งนิ้ว ลอกเอาเปลือกออก  ขูดเอาเยื่อเจริญออกให้หมด  ทาด้วยฮอร์โมนเร่งราก เอ็น .เอ็น.เอ.  ผสมกับ ไอ.บี.เอ. ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ความเข้มข้น 4,500 ส่วนต่อล้าน (ppm) ทิ้งไว้ให้แห้ง  หุ้มด้วยขุยมะพร้าวเปียก  หรือกาบมะพร้าวที่ทุบให้นุ่ม  แล้วแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนในต่างประเทศใช้สแพกนั่มมอสชื้น ๆ ห่อด้วยแผ่นพลาสติก  มัดหัวท้ายให้แน่นประมาณ 10-12 วันจะมีรากงอกออกมา  สามารถตัดไปปลูกได้

Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีตัดชำทำได้อย่างไร

2.  การตัดชำ(Cutting)

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีตัดชำนี้  ทำได้ทั้งการตัดชำราก (root cutting)ตัดชำใบ (leaf cutting) และตัดชำต้น (stem cutting)

การตัดชำราก  ไม่นิยมทำกันเพราะสาเหตุหลายประการ  การตัดชำใบก็เช่นกัน  ทั้งนี้เนื่องจากออกรากช้า  เปอร์เซ็นต์ความเสียหายสูง และอัตราการเจริญเติบโตในระยะแรก ๆ ต่ำมาก  จึงนิยมใช้การตัดชำต้นเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

ก. การตัดชำกิ่งอ่อน (softwood cutting)  กิ่งที่ใช้ในการปักชำไม่ควรมีอายุเกิน 45 วัน  ส่วนมากมักจะได้จากกิ่งที่กำลังบานดอก  หรือหลังจากบานดอกแล้วประมาณ 7 วัน

การตัดกิ่งควรจะทำให้ตอนเช้าความยาวของกิ่งมีประมาณ 12-15 ซม.  รอยตัดควรจะอยู่ใต้ข้อพอดี  … Read More

วิธีการขยายพันธุ์กุหลาบโดยการเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์กุหลาบโดยการเพาะเมล็ด

กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าไม้ดอกอื่น ๆ หลายชนิด คือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด  การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง  ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1.  การเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที  ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน  จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป  แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่  ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

การเพาะเมล็ดกุหลาบแตกต่างจากการเพาะเมล็ดไม้ดอกทั่วๆ ไป  เริ่มต้นจากเมล็ดกุหลาบที่มีการฟักตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง  หลังจากเก็บเมล็ดมาจากต้นแล้ว  นำมาเพาะทันทีเมล็ดจะไม่งอกแม้จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างไรก็ตาม  ด้วยเหตุนี้  จึงต้องนำเมล็ดไปทำให้พ้นสภาพการฟักตัวเสียก่อน

ก.  การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว  อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1. … Read More

วิธีการปลูกและสรรพคุณของสมุนไพร : กะเพรา

สมุนไพร

กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.

ชื่ออื่น ๆ กะเพราขาว กะเพราแดง(ภาคกลาง) กอมก้อ(ภาคเหนือ)

ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกที่มีทรงพุ่มใหญ่และสูงได้ 30-60 ซม.  มีขนปกคลุม

ทั่วไป เนื้อใบบางและนุ่ม  ก้านใบยาว 1-3 ซม.  ตัวใบรูปร่างรีหรือรี

ขอบขนาน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-4.5 ซม.  ปลายใบและโคนใบ

อาจแหลมหรือมน  ขอบใบค่อนข้างหยัก  เส้นใบทั้ง 2 ด้านมีขนปก

คลุม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ  ยาว 8-14 ซม.  … Read More