โรคเน่าเละของผลไม้และผัก

(Rhizopus soft rot)
โรคนี้พบได้ทั่วไปกับผัก ผลไม้ ไม้ดอก หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในระหว่างการขนส่ง เก็บรักษา และวางจำหน่าย เช่น มันเทศ สตรอเบอรี่ ท้อ แตง ถั่ว ฯลฯ
อาการโรค เนื้อของส่วนที่เป็นโรคชํ้าชุ่มนํ้า ต่อมาความชื้นจะระเหยออกไปทีละน้อย จนผิวหดย่น หากส่วนเป็นโรคที่ชุ่มนํ้านั้นอยู่ในระหว่างการขนส่ง ผิวอาจแตกเละ มีน้ำไหลออก สีขาวถึงเหลือง เชื้อราจะเจริญออกมาทางแผล มี sporangiophores สีเทาคลุมและเกิด sporangiospores สีดำที่ปลายการเจริญของรานี้อาจลุกลามไปยังผิวของหีบห่อที่ใช้บรรจุและสัมผัสกับส่วนของพืชที่เป็นโรคได้ เนื้อเยื่อของพืชที่เป็นโรคนี้อาจส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีเชื้อยีสต์ และบักเตรีต่างๆ เข้าทำลายซํ้าเติม
เชื้อสาเหตุโรค.- Rhizopus sp.
เส้นใยของเชื้อไม่มีผนังกั้น … Read More

โรคราน้ำค้างขององุ่น

(Downy mildew of grape)
โรครานํ้าค้าง พบทั่วไปในแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีความชื้นสูง เป็นโรคที่ระบาด ทำความเสียหายได้มาก โรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล กิ่งก้านต่างๆ ทำให้เซลตาย ใบร่วง ผลผลิตคุณภาพตํ่า ต้นอ่อนแอและแคระแกรน ต้นอ่อนอาจตายได้ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชอาจได้รับความเสียหาย 50-75 %
อาการโรค อาการเริ่มเป็นจุดสีเหลืองซีด ขนาดเล็ก โดยทั่วไปบนผิวใบด้านบน ส่วนด้านใต้ใบที่ตรงกันนั้น จะเกิด sporophores ของเชื้อ ต่อมาส่วนที่เป็นโรคจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเนื่องจากเซลตายขณะที่ sporophores ด้านใต้ขอบบริเวณที่เป็นโรคนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม แผลขยายใหญ่ขึ้น มีขนาดไม่แน่นอน อาจทำให้ใบร่วงได้
พืชที่ติดเชื้อขณะติดผล โรคจะเจริญได้รวดเร็ว ทำให้ตายได้ทั้งช่อของผล หากผลโตแล้วจึงติดเชื้อ เชื้อจะเจริญอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ … Read More

โรคเน่าเกิดจาก Phytophthora

เชื้อ Phytophthora ทำให้พืชเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้าของผัก ไม้ดอกไม้ประดับ จนถึงไม้ผล และไม้ป่าที่โตเต็มที่แล้ว Species ส่วนมากเป็นสาเหตุของโรครากเน่า ลำต้นเน่า โคนเน่า โคนเน่าระดับดินจากกล้าพืช หัว บาง species เกิดที่ตา หรือผล และทำให้เกิดใบไหม้ ทำลายกิ่งก้าน และผล เชื้ออาจมีพืชอาศัยกว้างขวาง หรือเพียง 2-3 ชนิด แล้วแต่ species ของเชื้อ
โรคราก โคน และลำต้นเน่า อาการระยะแรกใบจะเหลืองซีด ใบร่วง กิ่งแห้งตายจากปลายกิ่งเข้าสู่ต้น พืชบางชนิดอาจออกดอกมากกว่าปกติ แต่จะไม่ค่อยเจริญ เนื่องจากพืชส่วนบนได้รับอาการและน้ำไม่เพียงพอ หากตากโคนหรือลำต้นที่เป็นโรค จะเห็นเนื้อเยื่อภายในของเปลือกมีสีน้ำตาล และอาจเน่าเป็นเมือกเยิ้ม โรคจะลุกลามไปรอบต้น แต่ไม่เข้าไปในเนื้อไม้ … Read More

โรคโคนเน่าระดับดินของกล้าพืช

Oomycetes
ราใน subclass นี้มี 2 orders คือ saprolegniales และ peronosporales ราเหล่านี้ทำให้พืชเป็นโรคได้ 2 แบบ :
(1) ทำให้พืชเป็นโรคเฉพาะส่วนที่อยู่ในดิน หรืออยู่ติดดิน เช่น ราก โคนต้น หัว เมล็ด ผล ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Aphanomyces    และ Phytophthora บางชนิด และ
(2) ทำให้พืชเป็นโรคเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือระดับดิน เช่น ใบส่วนยอด ผล ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora บางชนิด Albugo และเชื้อราสาเหตุโรครานํ้าค้างต่างๆ
โรคโคนเน่าระดับดินของกล้าพืช Read More

โรคกาบใบจุดสีน้ำตาลของข้าวโพด

(Brown spot of corn)
โรคนี้พบระบาดทั่วไปในทวีปอเมริกา และเอเซียสำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกข้าวโพด โดยข้าวโพดไม่ได้รับความเสียหายให้เห็นแน่ชัด แต่เข้าใจว่าอาจทำให้ผลผลิตของข้าวโพดลดลง
อาการโรค อาการโรคเริ่มเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลือง ที่กาบใบและต้นที่อยู่เหนือดิน ต่อมาจุดขยายใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน หากเป็นโรครุนแรง ลำต้นอาจแตกพับได้
เชื้อสาเหตุ : Physoderma maydis
เส้นใยประกอบด้วยเซลแบบ multinucleate rhizomycelium เซลขยายใหญ่สร้าง sporangia สีน้ำตาล เพื่อให้กำเนิด zoospores ประมาณ 20 – 50 อัน ในแต่ละ sporangium โดย zoospores มี flagellum … Read More

โรครากบวมของพืชตะกูลกระหล่ำ

(Clubroot of crucifers)
โรครากบวมของพืชตระกูลกระหลํ่า เช่น กระหลํ่าปลี และกระหลํ่าดอก พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ในประเทศต่างๆ ของทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะพันธุ์ที่อ่อนแอ หากปลูกในดินที่มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว
อาการโรค พืชที่เป็นโรคใบอาจมีสีเขียวอ่อนจนถึงเหลืองพืชจะเหี่ยวในเวลากลางวัน ขณะที่แสงแดดร้อนจัด แล้วพืชจะฟื้นสู่สภาพปกติในเวลากลางคืน หรือเมื่อแสงแดดอ่อนในตอนเช้าและเย็นพืชเริ่มแคระแกรนการเหี่ยวจะรุนแรงจนพืชไม่สามารถฟื้น โดยพืชที่อายุน้อยจะตายในเวลาสั้นหลังจากพืชเป็นโรค อาหารของพืชที่ราก และลำต้นใต้ดิน รากจะบวมเป็น ก้อน ปม ปลายแหลมมน มีขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ กลมหรือคล้ายกระบอง ต่อมารากอาจเปื่อยผุไปก่อนสิ้นฤดูเพาะปลูก เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินเข้าทำลายซํ้าเติม


ภาพแสดงวงจรของโรครากบวมของพืชตระกูลกระหลํ่า เกิดจาก Plasmodiophora brassicae (ที่มา: Agrios1978)
เชื้อสาเหตุโรค : Plasmodiophora brassicae
Plasmodium … Read More

สภาพที่เหมาะสมต่อโรคเกิดจากเชื้อรา

เชื้อราต้องการออกซิเยน และอินทรีย์วัตถุเพื่อการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ และการทำให้พืชเกิดโรค เชื้อราไม่สามารถใช้แสงสว่าง เพื่อการสังเคราะห์ หรือปรุงอาหารเหมือนพืชสีเขียวทั่วไป เชื้อราจึง เจริญเติบโตได้ดีในที่มืดและชื้น มีอากาศถ่ายเทน้อย เพื่อไม่ให้สูญเสียความชื้นมากไป บางชนิดอาจชอบเจริญในสภาพอากาศเย็น แต่เชื้อราส่วนมากเจริญได้ดีที่สุดระหว่างอุณหภูมิ 20-30 °ซ. ซึ่งมักอยู่ในช่วงฤดูที่เพาะปลูก ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วไป
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญ และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา มักเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญของโรคด้วย การปลูกพืชในที่ร่ม หรือปลูกใกล้ชิดกันมากเกินไป มีอากาศถ่ายเทน้อย อากาศชื้น ทำให้ เชื้อราเข้าทำลายพืชได้ง่ายกว่าการปลูกพืชที่มีระยะห่าง มีอากาศถ่ายเทสะดวก และพืชได้รับแสงแดดพอเพียง เพราะพืชที่อยู่ในที่ร่มนั้น หลังจากฝนตกแล้ว ใบพืชเปียกอยู่นาน ทำให้เชื้อเจริญเร็ว เข้าทำลายพืชได้ง่ายตลอดจนพืชเองอาจปรุงอาหารไม่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตเพราะขาดแสงแดด
การควบคุมโรค
ลักษณะเฉพาะของชีพจักรของเชื้อ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและระบาดของโรค เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการช่วยพิจารณาในการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา โรคส่วนมากต้องใช้วิธีการควบคุม หลายวิธีร่วมกัน … Read More

อาการโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

เชื้อราทำให้พืชเป็นโรค แสดงอาการเฉพาะแห่ง หรือทั่วทั้งต้นพืชขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อสาเหตุ และชนิดของพืช อาจเกิดกับพืชเฉพาะบางชนิด หรือหลายชนิด โดยทั่วไปพืชแสดงอาการแบบ necrosis,hypertrophy & hyperplasia และ hypoplasia & hypotrophy
อาการแบบ necrosis ที่พบทั่วไปมีดังนี้
1. ใบจุดเป็นอาการแผลเฉพาะแห่งบนใบพืช เนื่องจากเซลตาย
2. แห้งหรือไหม้ เป็นอาการที่เกิดบนใบ กิ่งก้านและช่อดอก ทำให้กลายเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็วและตายได้
3. Canker เป็นแผลเกิดจากเซลตายเฉพาะแห่ง มักทำให้ลำต้นของไม้บริเวณใต้แผลช้ำ ชุ่มน้ำ
4. รากเน่า เป็นการทำลายระบบรากของพืชทั้งหมด
5. โคนเน่าระดับดิน (damping-off) เป็นอาการที่เกิดกับพืชระยะต้นกล้าบริเวณโคนต้นที่อยู่ระดับดิน เนื่องจากเซลตาย และยุบตัวอย่างรวดเร็ว พืชมักล้มและเหี่ยว… Read More

การจำแนกเชื้อราสาเหตุของโรคพืช

(Classification of phytopathogenic fungi)
ราชั้นต่ำ (The Lower Fungi)
Class Myxomycetes (ราเมือก, slime molds) – ไม่มีผนังเซล รูปร่างไม่แน่นอน เป็น plasmodium
Order Physarales – plasmodium เป็น saprophyte มีแหล่งให้กำเนิดสปอร์เป็นกลุ่มบรรจุสปอร์อยู่ภายใน สร้าง zoospores ได้
Genera Fuligo, Mucilago และ Physarum
พื้นเป็นราเมือกที่เจริญบนพืชที่วางตามพื้น
Order Plasmodiophorales-plasmodium เกิดในเซลของรากและลำต้นพืช สร้าง zoospores
Genus … Read More

โรคพืชเกิดจากเชื้อรา

FUNGAL DISEASES
ราเป็นพืชชั้นตํ่ากลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ที่ไม่มีคลอโรฟิล มี chitin เป็นส่วนประกอบของผนังเซล มีลักษณะรูปร่างเป็นเส้นยาว แตกกิ่งก้านสาขา เป็นเซลเดียวหรือหลายเซล (unicellular or multicellular filamentous branched chains) เป็นส่วนมาก มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 – 100 ไมครอน บางชนิดมีรูปร่างเป็นแบบอมีบา (amoeboid) มี nucleus เห็นเด่นชัด พวกที่มีผนังกั้นจะมีจำนวนหนึ่ง หรือสองต่อหนึ่งเซล ส่วนส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (coenocyte) จะมี nucleus มากมาย (multinucleate mycelium) มีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (asexually) โดยการสร้างสปอร์ แบ่งเซลแบบ … Read More