Tag: ปทุมมา

รากสะสมอาหารของปทุมมา

ผลของจำนวนและความยาวของรากสะสมอาหารของปทุมมาต่อการเกิดหัวใหม่

ปทุมมาเป็นพืชหัวที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะจากตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น  โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง  ผู้ส่งออกหัวปทุมมาไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับการร้องขอจากผู้นำเข้าว่าต้องการเฉพาะหัวปทุมมาที่มีรากสะสมอาหารสั้น และมีจำนวนรากไม่ต่ำกว่า 5 ราก  โดยเหตุผลที่สำคัญของความต้องการเฉพาะหัวปทุมมาที่มีรากสะสมอาหารที่มีขนาดสั้นก็เนื่องจากว่าทำให้การปลูกลงในกระถางเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อปลูกลงในกระถางนั่นก็คือที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้

ทดลองปลูกหัวปทุมมาที่มีขนาดหัวเฉลี่ย 2-12 ซม. มีความยาวเฉลี่ยของรากสะสมอาหาร 2 กลุ่มคือ กลุ่มสั้นยาว 6.2 ซม. และกลุ่มยาวยาว 10.1 ซม. โดยแต่ละกลุ่มย่อยมีจำนวนรากสะสมอาหารต่าง ๆ กันคือ 0,1,3,5,7 และ 9 ราก พบว่า

1.  หัวที่มีรากสะสมอาหารที่สั้นและมีจำนวนตั้งแต่ 3 รากขึ้นไป อัตราการงอกจะเร็วตามจำนวนรากที่เพิ่มขึ้น

2.  ปทุมมาที่ไม่มีรากสะสมอาหารหรือมีเพียง 1 ราก จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ากลุ่มที่มีรากสะสมอาหารตั้งแต่ 3 รากขึ้นไป  … Read More

การปลูกและตัดช่อดอกปทุมมา

ผลของวิธีการปลูกและวิธีการตัดช่อดอกต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา

ไม้ประดับเขตร้อนกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั่วโลก  ปทุมมานับเป็นไม้ประดับพื้นเมืองของไทยที่สามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท  ปริมาณการส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แต่ในปี 2537 มีการส่งออกลดลงเนื่องจากปัญหาการจัดการที่ไม่เหมาะสมของเกษตรกร  ทั้งที่ความต้องการของตลาดโลกมีสูงถึงปีละ 2 ล้านเหง้า แต่ปทุมมาเป็นพืชใหม่จึงขาดข้อมูลการจัดการแปลงที่เหมาะสมจึงเป็นปัญหาสำคัญในการผลิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เหง้าถูกส่งออกจนเหลือไม่เพียงพอต่อการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก  นอกจากนี้เกษตรกรส่วนหนึ่งเชื่อว่าการตัดช่ออ่อนทิ้งจะทำให้ได้เหง้าและรากสะสมอาหารที่สมบูรณ์และมีจำนวนมาก  งานทดลองนี้จึงได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตด้านวิธีการปลูกที่เหมาะสมในการขยายพื้นที่ปลูก  และความจำเป็นในการตัดช่อดอกอ่อนทิ้งเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มรายรับแก่เกษตรกร

ได้ทดลองปลูกปทุมมาโดยใช้เหง้าซึ่งมีรากสะสมอาหาร 3-6 รากด้วยวิธีวางเหง้าตั้ง  วางเหง้านอนและผ่าเหง้าตามยาว  แล้ววางซีกหนึ่งให้ตาหงายขึ้น  เมื่อออกดอกจึงตัดช่อดอกขณะที่เพิ่งพ้นยอดได้ 1-2 ซม.  หรือขณะที่มีดอกจริงบานแล้ว 3 ดอก  โดยตัดชิดยอด พบว่าการปลูกทั้ง 3 วิธีมีผลเหมือนกันต่อความสูงของต้น จำนวนเหง้าเกรดเอ และน้ำหนักเหง้า แต่การผ่าเหง้าปลูกทำให้การงอกเกิดช้าลงและมีอัตราการงอกน้อยลง  อาจเนื่องจากเหง้าปกติมีอาหารสะสมในเหง้าและในรากสะสมอาหารอยู่มากแต่เหง้าที่ถูกผ่าราว 1 เท่าตัว อีกทั้งการเกิดรอยแผลทำให้เหง้าปทุมมาสังเคราะห์เอธิลีนขึ้นเป็นผลให้การงอกถูกชะลอลงและมีผลทำให้อายุที่ดอกจริงเริ่มบานและอายุการตัดดอกยาวขึ้นด้วย  ความยาวก้านมากขึ้น  แต่มีจำนวน coma … Read More